ไม่พบผลการค้นหา
ชั่วข้ามคืนสำหรับการรื้อถอน "หมุดคณะราษฎร์ 2563" ที่ถูกรื้อถอน หลังแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ย่ำรุ่งยามเช้า 20 ก.ย. ปักหมุดบนท้องทุ่งสนามหลวง

ทีมข่าว 'วอยซ์ออนไลน์' สำรวจบรรยากาศบริเวณสนามหลวง หลังมีการถอนหมุดคณะราษฏร 2563 ที่หายไปอย่างไร้ร่องรอย ก่อนที่ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) ออกมายืนยันว่าหมุดไม่ได้หายไปไหน เนื่องจากได้ประสานกรมศิลปากรลงพื้นรื้อถอนหมุด เพื่อส่งมอบพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 32 ข้อหาบุกรุกโบราณสถาน หรือทําให้เสียหาย

อย่างไรก็ดีมีประชาชนเดินทางมาถ่ายภาพและสำรวจความเสียหาย จากการถูกทุบบริเวณถอนหมุด โดยมีการวางดอกกุหลาบ พร้อมภาพแกนนำการปราศรัย และหมวกที่มีสัญลักษณ์ชูสามนิ้ว คล้ายกับการไว้อาลัยหลังหมุดถูกรื้อถอน

หมุดคณะราษฎร2563.jpg
  • หมุดคณะราษฎร 2563

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณดังกล่าว ก็ไม่ทราบว่าการรื้อถอนครั้งนี้เกิดจากการกระทำของหน่วยงานใด ด้านประชาชนได้ให้ความเห็นว่าการเดินทางมาครั้งนี้ เพราะทราบว่ามีการปักหมุดแต่ไม่คาดคิดว่าจะมีการรื้อถอนออกไปแล้ว ซึ่งบางรายได้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการอุ้มหายเพียงชั่วข้ามคืน และเสียดายที่ถูกถอนออกไป เพราะถือเป็นการบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เก็บร่องรอยด้วยงานศิลปะ

มุดคณะราษฎร
  • ป๋อง แท่งทอง

นอกจากนี้ได้มีผู้ทำงานด้านศิลปะ นามว่า "ป๋อง แท่งทอง" ได้เดินทางมาคัดลอกร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยเขาเล่าว่าได้มีโอกาสมาคัดลอกบล็อกหมุดคณะราษฎร 2563 ไว้แล้ว แต่พอทราบข่าวมีการรื้อถอน จึงเดินทางมาเพื่อคัดลอกและในอนาคตอาจจะนำไปแสดงนิทรรศการศิลปะ โดยงานประเภทนี้มีลักษณะผสมเป็น activist art หรือ ศิลปะการเมือง 

"มีคนขอซื้อผมก็ไม่ได้คิดจะขายเพราะไม่ใช่งานของเรา ถ้าผมขายก็ถือว่าเอามาหากินผมไม่ได้คิดอย่างนั้น คิดแค่ว่าจะหาที่เผยแพร่มันลงไป ยิ่งตอนนี้มันไม่มีหมุดแล้วมันก็ควรจะต้องมีคนได้เห็นมัน และที่ผมลอกไว้มันเป็นสิ่งเดียวที่เชื่อมโยงกับหมุดจริงๆ" ป๋อง แท่งทอง กล่าว 

ย้อนไปเมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. ได้มีการชุมนุมใหญ่โดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่ปักหลักบนพื้นที่สนามหลวงเรือนแสนคน โดยแกนนำได้ประกาศเจตจำนงว่าจะมีการปักหมุดคณะราษฎร 2 ในเช้าวันที่ 20 ก.ย. เพื่อทดแทนหมุดที่ถูกอุ้มหายไปและสานต่อภารกิจคณะราษฎร

มุดคณะราษฎร
  • บันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย

เกิดอะไรหลังหมุดถูกปลัก

มุดคณะราษฎร
  • ประชาชนเก็บร่องรอยหมุด

คล้อยหลังปรากฎการณ์บนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองถูกบันทึก พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (รอง ผบช.น.) กล่าวว่า เตรียมดำเนินคดีกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยแบ่งออกเป็น 3 คดี คือ การเข้าพื้นที่สนามหลวง ซึ่งถือเป็นพื้นที่โบราณสถาน เบื้องต้นได้พิจรณาแล้วว่าเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีการเข้าไปยังสถานที่โดยไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่วนนี้ สน.ชนะสงครามจะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินคดี

ส่วนที่ 2 คือ การพักแรมค้างคืน กรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่จะพิจารณาว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างไร และส่วนที่ 3 ส่วนการปักหมุดคณะราษฎรในพื้นที่สนามหลวง กรุงเทพมหานคร และกระทรวงศึกษาธิการ จะไปหารือร่วมกันว่าเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายหรือไม่ แต่เบื้องต้นได้พิจารณาแล้วว่าเป็นความผิด และอาจจะพิจารณานำหมุดนั้นออกจากพื้นที่สนามหลวง

มุดคณะราษฎร
  • เศษซากหลังถูกทุบ

สอดคล้องกับศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เข้ายื่นหนังสือร้องเอาผิดแกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาตร์และการชุมนุม นำกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าไปในพื้นที่สนามหลวงและ มีการปักหมุดคณะราษฎร 2563 ลงบนพื้นซีเมนต์ กลางสนามหลวงกับผู้อำนวยการกรมศิลปากร เนื่องจากเข้าจข่ายกระทำความผิดต่อทรัพย์สินโบราณสถาน ซึ่งสนามหลวง ได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ มาตั้งแต่ปี 2520 มีชื่อว่า 'โบราณสถานทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง)' 

ตาม ม.32 ของ พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม 2535 ระบุว่าผู้ใดบุกรุกโบราณสถาน หรือทําให้เสียหาย ทําลาย ทําให้เสื่อมค่าหรือ ทําให้ไร้ประโยชน์ซึ่งโบราณสถาน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 700,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ และโทษของการบุกรุกและทำลายโบราณสถานจะหนักขึ้นเป็น จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 

รวมถึงกรณี สถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีกรมศิลปากร เข้าแจ้งความดำเนินคดีและให้ปากคำกับพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม กรณีมีการขุดเจาะปักหมุด หลังได้รับการเร่งรัดจากอธิบดีกรมศิลปากร ให้แจ้งความดำเนินคดีโดนนำหลักฐานเป็นเอกสารขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และภาพถ่ายขณะขุดเจาะพื้น ที่ปรากฎตามสื่อมวลชน มามอบให้กับตำรวจ

ส่วนกรณีที่หมุดถูกรื้อถอน ผอ.สำนักโบราณคดีกรมศิลปากร ระบุว่าไม่ทราบว่าหน่วยงานไหน หรือ ใคร เป็นผู้รื้อถอนไป พร้อมยืนยันการเข้าแจ้งความดำเนินคดีในครั้งนี้ไม่ได้รับความกดดันจากฝ่ายใด เป็นไปตามกรอบของกฎหมายที่สามารถทำได้ และไม่ได้เข้าข้างใดข้างหนึ่ง

มุดคณะราษฎรมุดคณะราษฎรมุดคณะราษฎร

อ่านเพิ่มเติม