ไม่พบผลการค้นหา
ไม่ปรากฏชื่อทั้งในฐานะวัคซีนที่ผ่านการรับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้วหรือแม้แต่สถานะวัคซีนที่อยู่ในกระบวนการยื่นขอการรับรอง

ในเอกสารสถานะวัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ภายใต้กระบวนการพิจารณาให้ใช้เป็นวัคซีนฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL) ฉบับวันที่ 15 ก.ค.2564 ขององค์การอนามัยโลก (World Helth Organization: WHO) นั้น ไม่ปรากฏชื่อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ของประเทศไทย ทั้งในฐานะวัคซีนที่ผ่านการรับรองให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินแล้วหรือแม้แต่สถานะวัคซีนที่อยู่ในกระบวนการยื่นขอการรับรอง

ทั้งนี้ กลับพบว่านอกจากวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าภายใต้องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency: EMA) ที่ผ่านกับรับรองวัคซีนฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ยังมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าทั้งจากเกาหลีใต้ผ่านตัวแทนอย่างกระทรวงความปลอดภัยทางอาหารและยา (Ministry of Food and Drug Safety: MFDS), วัคซีนแอสต้ราเซนเนก้าจากญี่ปุ่นผ่านตัวแทนอย่างกระทรวงสุขภาพ แรงงาน และสวัสดิภาพ (Ministry of Health, Labour and Welfare: MHLW) พร้อมด้วยสำนักงานอุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ (Pharmaceuticals and Medical Devices Agency: PMDA) และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจากออสเตรเลีย ผ่านหน่วยบริการสินค้ารักษาโรค (Therapeutic Goods Administration: TGA) ที่ผ่านการรับรองเช่นเดียวกัน 

หากลงไปดูในรายละเอียดเพิ่มเติมจะพบว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จากฝั่ง EMA นั้น ได้รับการประเมินข้อมูลโดยรวมเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยตั้งแต่ 16 เม.ย.2564 แต่ยังเหลือการพิจารณาข้อมูลจากสถานที่ฉีดวัคซีนอื่นยื่นเข้ามาเพิ่มเติม ดังนั้นสถานะการประเมินจึงยังไม่เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ 

ในทางกลับกัน วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จากทั้งเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ได้รับสถานะการประเมินเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์แล้วทั้งหมด เกาหลีใต้ได้รับการประเมินตั้งแต่ 15 ก.พ.2564 ขณะที่ญี่ปุ่นและออสเตรเลียได้รับการประเมินพร้อมกันเมื่อ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา 

ในเอกสารระบุว่า ‘สถานะของการประเมิน’ ประกอบไปด้วย 1.อยู่ภายใต้กระบวนการคัดกรอง 2.อยู่ภายใต้กระบวนการประเมิน 3.อยู่ระหว่างการรอผลตอบรับจากผู้ยื่นประเมิน 4.ผลตัดสินเกี่ยวกับประโยชน์-โทษ และ 5.การตัดสินใจขั้นสุดท้าย 


วัคซีนฉุกเฉินของ WHO

ต้องทำความเข้าใจว่าการมีชื่อขึ้นเป็นวัคซีนฉุกเฉินของ WHO นั้น ไม่ได้สะท้อนว่าเป็นวัคซีนที่ดีกว่าวัคซีนอื่นๆ ที่ไม่มีชื่อ เนื่องจากกระบวนการได้มาซึ่งการรับรองนั้นต้องผ่านการยื่นความประสงค์จากฝั่งผู้ผลิต ไม่ใช่อยู่ในมิติที่ WHO มีสถานภาพเป็น "ผู้ควบคุมคุณภาพวัคซีนสากล"

WHO อธิบายว่า การจัดทำรายชื่อวัคซีนที่ขึ้นทะเบียนวัคซีนฉุกเฉินนั้นมีไว้เพื่อประเมินความเสี่ยงของวัคซีนผ่านข้อมูลคุณภาพวัคซีน ความปลอดภัย ไปจนถึงผลข้างเคียงต่างๆ เพื่อให้องค์กรและประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ (United Nations: UN) สามารถประเมินความสถานการณ์การแก้ปัญหาโรคระบาดผ่านวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้

"กระบวนการนี้เป็นกุญแจสำคัญสำหรับบริษัทที่อยากจะยื่นเรื่องให้สินค้าของพวกเขาถูกใช้ในภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข" WHO

ในจดหมายเปิดผนึกจาก 'เจมส์ ทีก' ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา พบว่า "จนถึงขณะนี้ แอสตร้าเซนเนก้าได้ส่งมอบวัคซีนให้กับกระทรวงสาธารณสุขแล้ว 9 ล้านโดส และมีกำหนดส่งมอบอีก 2.3 ล้านโดสในสัปดาห์หน้า รวมเป็นยอดส่งมอบ 11.3 ล้านโดส ณ สิ้นเดือนก.ค. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากแผนการจัดหาวัคซีนจำนวน 61 ล้านโดสให้กับประเทศไทย"

หมายเหตุ: รายชื่อสถานะวัคซีนโควิด-19 ที่อยู่ภายใต้กระบวนการพิจารณาให้ใช้เป็นวัคซีนฉุกเฉิน (Emergency Use Listing: EUL)

Screen Shot 2021-07-31 at 12.56.25 PM.png


Screen Shot 2021-07-31 at 12.56.44 PM.png


Screen Shot 2021-07-31 at 12.56.58 PM.png