ไม่พบผลการค้นหา
สังคมไทย กับ ความหลากหลายทางเพศ
นปช.ในความหลากหลายของเสื้อแดง
นโยบายพรรคเพื่อไทยกับอนาคตชายแดนใต้...ฝันที่เป็นจริง?
สำรวจเส้นทางสายปรองดอง “พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์”
" ดับไฟใต้ " ภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วม
วิจัยชนบทกับ "ครก. 112"
คนญี่ปุ่นกับเหตุการณ์ธรณีพิบัติ
ฉันคือเอรี่ กับประสบการณ์ข้ามแดน
“ต้านรัฐทหาร เดินหน้าสู่การเลือกตั้ง!”...วีระกานต์ มุสิกพงศ์
“ชีวิต ความคิด อิสรภาพ”…ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
อนาคตอาหารแช่เยือกแข็งไทย
“จตุพร-ธิดา” ยันไม่แตกแยก...เตือนรัฐบาลเสื้อแดงไม่ใช่ตอไม้ !
โคทม อารียา... “วิพากษ์นิติราษฎร์ – วิจารณ์ทักษิณ”
พันธมิตรย้ำ...ไม่ได้กระหายสงคราม!
“หุ้นไทยครึ่งปีหลัง”
บริหารเงินครึ่งปีหลัง
วิกฤติแรงงานใต้น้ำ !
100 ขั้นตอนสู่ความล้มเหลว
วิสัยทัศน์การปรับกลยุทธ์แก้ปัญหาไฟใต้
ประชาวิวัฒน์กับเศรษฐกิจไทย
“หมู่บ้านเสื้อแดง” ภัยความมั่นคงหรือสัญลักษณ์ประชาธิปไตย ?
Jul 21, 2011 13:17

 

การถือกำเนิดของหมู่บ้านเสื้อแดง  ในหลายจังหวัดโดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสาน มีการขึ้นป้าย พร้อมติดธงสีแดงทั้งหมู่บ้าน รวมถึงการตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเสื้อแดง ซ้อนทับกับผู้นำตาม กฎหมายปกครองท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทย  ทำให้ฝ่ายรัฐมองว่าเป็นการท้าทายต่ออำนาจรัฐส่วนกลางเป็นอย่างยิ่ง
 
 
แกนนำเสื้อแดงจังหวัดปทุมธานี สร้างหมู่บ้านเสื้อแดงแห่งที่  3 ของจังหวัดปทุมธานี เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพลังประชาธิปไตยในภาคประชาชนและจุดยืนทางการเมือง   
 
แกนนำหมู่บ้านเสื้อแดง มองว่า การจัดตั้งหมู่บ้านบนที่ดินส่วนบุคคลเป็นสิทธิ์ที่ประชาชนสามารถทำได้ ส่วนงบประมาณในการบริหารท้องถิ่นนั้น ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาโดยตรง ซึ่งมั่นใจว่าจะได้รับเงินพัฒนาพื้นที่เช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่น  และยืนยันว่าการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดงไม่ใช่กลุ่มคอมมิวนิสต์ ชาวบ้านจึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารหมู่บ้านเพื่อดูแลความเรียบร้อย  และเจ้าหน้าที่ภาครัฐสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ 
 
แม้ว่าหมู่บ้านเสื้อแดง จะมีความสัมพันธ์ กับกลุ่ม นปช. และพรรคเพื่อไทย เพราะมีอุดมการณ์ประชาธิปไตยในแนวทางเดียวกัน  แต่เมื่อพรรคเพื่อไทย ชนะการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล  หมู่บ้านเสื้อแดง ก็จะทำหน้าที่ในฐานะประชาชนที่จะติดตาม ตรวจสอบรัฐบาลเพื่อไทยต่อไป  
 
Produced by VoiceTV
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog