ไม่พบผลการค้นหา
'สื่อมวลชนท่ามกลางความขัดแย้ง...บาดเจ็บ-ตาย!?'
Jan 7, 2011 13:52

จากเหตุการณ์ความขัดแย้งในช่วงเดือนเมษาและพฤษภา 53  นำมาซึ่งความสูญเสียของทุกฝ่าย  แม้กระทั้งสื่อมวลชนซึ่งกำลังทำหน้าที่ 

 

นิตยสาร TIME สื่อที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ได้จัดอันดับข่าวการชุมนุมทางการเมือง และการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง ในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2553 เป็นข่าวอันดับ 10ที่อยู่ในความสนใจของชาวโลกมากที่สุด
สะท้อนให้เห็นว่า สังคมโลก กำลังจับตาดูความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะข้อกังวลเรื่องของความรุนแรง และปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่เพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย


จากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นำมาซึ่งความสูญเสียของทุกฝ่าย หนึ่งในเหยื่อของความรุนแรง นายฮิโรยูกิ ช่างภาพชาวญี่ปุ่น  ที่ต้องมาเสียชีวิตจากการทำหน้าที่ ไม่เฉพาะแต่ช่างภาพชาวต่างชาติ  ช่างภาพและสื่อมวลชนไทย หลายคนก็ได้รับบาดเจ็บ และพิการจำนวนมาก


บทเรียนจากเหตุการณ์ความรุนแรง ส่งผลกระทบแม้กระทั้งสื่อมวลชน วิชาชีพซึ่งเป็นกลางสำหรับทุกฝ่าย เพียงแต่ทำหน้าที่นำเสนอข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับรู้  แต่ยังไร้ซึ่งความปลอดภัยในชีวิต  ร่วมวิเคราะห์ทุกแง่มุม จากช่างภาพผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2553  คุณไชยวัฒน์ พุ่มพวง ช่างภาพสำนักข่าวเนชั่น / ผู้ก่อตั้งกองทุนเพื่อเพื่อน ,คุณสุบิน  น้ำจันทร์ ช่างภาพ นสพ. มติชน  และคุณศุภวัชช์  ปันจันตา  ช่างภาพวอยซ์ทีวี

 

Produced by VoiceTV

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
190Article
76559Video
0Blog