ไกลก้อง ไวทยการ ระบุ ผมไม่แปลกใจที่ว่า พ.ร.บ. นี้ เกิดขึ้นในรัฐบาล คสช. ยุครัฐบาลที่เน้นเรื่องของความมั่นคงในเชิงการทหารและความมั่นคงของรัฐ ดังนั้น เมื่อทัศนะคติออกมาในเรื่องของการเขียนกฎหมายก็จะให้อำนาจฝ่ายความมั่นคงเป็นหลัก แล้วให้อำนาจการดำเนินการที่เลยขอบเขตของเรื่องสิทธิ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพไป ก็คือมุ่งที่จะใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือของการใช้อำนาจนั่นเอง
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ระบุ อาจจะต้องยกตัวอย่างเพิ่มเติมเช่น อาจจะมีข้อมูลข้อความอะไรก็แล้วแต่ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของพี่น้องประชาชนตามปกติ และอาจแพร่หลายเป็นที่รับรู้ของคนส่วนใหญ่ผ่านทางโซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างนะครับ ถ้าเกิดการตีความอย่างเป็นธรรม ก็บอกว่ามันเป็นสิทธิเสรีภาพของพี่น้องประชาชนในเรื่องดังกล่าว ก็สามารถดำเนินการได้ถูกต้องและอยู่ในกรอบของกฎหมาย
แต่ถ้ามันถูกตีความว่า มันไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือกระทบกับความสงบสุขของพี่น้องประชาชน หรือตีความแย่ไปกว่านั้นก็คือ ตีความว่าสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นมันเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ก็เลยให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอะไรก็แล้วแต่ ตามพ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้เข้าไปดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตรงนี้แหละครับที่เป็นปัญหาแน่นอน
ชมคลิปย้อนหลังรายการสุมหัวคิด - 'จับตา สนช. จ่อคลอด พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ' ได้ที่ https://www.voicetv.co.th/watch/lPJhOlYqX