ไม่พบผลการค้นหา
กะทิชาวเกาะ รุกสปอนเซอร์ทีม 'หงส์แดง'
ธนพิริยะ ลุยเปิดร้านค้าปลีกใหม่ 3 สาขา
รพ.วิภาวดี เตรียมเปิดโรงพยาบาลใหม่ย่านนวมินทร์-เทพารักษ์ ปีหน้า
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ เดินหน้าลงทุนต่างประเทศ
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
'แมคโดนัลด์' เปิดตัว 'มายเบอร์เกอร์'
สปอร์ตมาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์ชิงตลาดน้ำอัดลม
เมืองไทยประกันชีวิต เดินหน้าบุกอาเซียน
พฤกษา เผยรายได้ปี 58 สูงเกิน 5 หมื่นล้าน
BMW ทุ่มลงทุนไทยเพิ่มอีก 1.1 พันล้าน
โรบินสัน ทุ่ม 3,000 ล้าน รีโนเวตสาขาเดิม
บิ๊กคาเมร่า เผยตลาดกล้องเข้าสู่ยุคมิลเลอร์เลส เชื่อมสมาร์ทโฟน
'ซีทรู' รุกตลาดนิตยสารออนไลน์
3 ค่ายรถผู้นำตลาด ชิงเปิดตัวรถใหม่คึกคัก
7เดือนแรกงบโฆษณาโต 24.02% แต่วงการคาดปีนี้ติดลบ
LDC ผุด 9 สาขาใหม่ในต่างจังหวัด
'บางกอก ไบค์ ดันไทยศูนย์กลางธุรกิจจักรยาน
LPN เปิด15โครงการปี59 ตั้งเป้ายอดขาย 17,600 ล้านบาท
แกรมมี่ เปิดค่ายใหม่จับกลุ่มวัยรุ่น-บริหารศิลปินต่อยอดสื่อ
คาราบาวแดง ตั้งเป้ายอดขายปีนี้ แตะ 9,000 ล้านบาท
'ดรามานิยม' พฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2559
Dec 22, 2015 00:29

แนวโน้มผู้บริโภคปี 2016  จะมีพัฒนาการ"เอาแต่ใจตัวเอง"  เพิ่มมากขึ้น นิยามชนชั้นด้วยไลฟ์สไตล์ , ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ดั่งใจเพียงเล็กน้อยและไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที  จะส่งผลต่อแบรนด์หลายเท่า  

นางสาวสรินพร จิวานันต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นไวโรเซล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาด้านพฤติกรรมและจิตวิทยาผู้บริโภค   กล่าวว่า  พฤติกรรมของผู้บริโภคในปีหน้า (59) จะเพิ่มดีกรีความซับซ้อนของพฤติกรรม การใช้ชีวิต และความต้องการพื้นฐานมากขึ้น  โดยมี 6 ค่านิยมหลัก  ซึ่งส่วนใหญ่เน้นด้านอารมร์ของผู้บริโภคทั้งสิ้น  ได้แก่   

สุขนิยม  (JoyLust)  จากพฤติกรรมของรุ่นพ่อแม่ที่ไม่ต้องการให้ลูกลำบากเหมือนตนเอง   และยังมี Social Media   ทำให้เกิดการเปรียบเทียบ และประเมินตัวเองตลอดเวลา   เช่น ลงรูปแล้วคนกดไลค์น้อย   ก็เครียดได้   ประเมินตนเองว่าลงรูปไม่น่าสนใจ   ดังนั้นผู้บริโภคปี 2016 จะใช้ความสุขของตัวเองเป็นตัวตั้ง อะไรไม่มีความสุข จะไม่ทำ  จะไม่ทำงานหนัก  ดังนั้น  การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ และบริการก็จะต้องมั่นใจว่าจะไม่สร้างความเจ็บปวดให้   และซื้อแล้วมันมีความหมายต่อชีวิตอย่างไร  สร้างความสุขอย่างไรให้ชีวิต

เทรนด์ที่สอง คือ  แบบฉบับนิยม  (I-Mage) เนื่องจากปัจจุบัน  ผู้บริโภคจะโชว์ในด้านดีของตัวเอง  และแสดงความเป็นตัวเอง   ต้องการเป็นเจ้านายตนเอง   อัตราการเติบโตของคนทำงานงานอิสระ หรือฟรีแลนซ์ คาดการณ์ว่าจะโต 30% จากปี 2014 เป็น 40% ในปี 2020    และเนื่องด้วยความมีแบบฉบับหรืออัตตาที่สูงมากนี้ ทำให้คนเราไม่สามารถจะยอมรับคำติได้   ดังนั้นผู้บริโภคในปี 2016 จะพัฒนาความเป็นตัวตนไปถึงขั้น เลือกผลิตภัณที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง  ยอมจ่ายแพง  เพื่อสร้างเอกลักษณ์ สะท้อนตัวตน และคุณค่าให้ตัวเอง โดยที่ 56% ของผู้บริโภค ชอบผลิตภัณฑ์ที่สามารถออกแบบเองได้ ขณะที่ 48% หวังว่าแบรนด์จะสามารถเข้าใจผู้บริโภคในระดับปัจเจกจนสามารถที่จะออกแบบ ผลิตภัณฑ์และ บริการที่เฉพาะเจาะจงกับตัวตนของผู้บริโภคได้

แบบที่ 3 คือ ธรรมชาตินิยม  (Farm-ganic)   ของดีท้องถิ่น สุขภาพที่ดี ของสด ปลอดสาร ใช้ชีวิต ท่องเที่ยว ไลฟสไตล์แบบออร์แกนิค เป็นเทรนด์ที่จะมาแรงในปีหน้า โดยยอดขายอาหารออร์แกนิคในสหรัฐเติบโต 1,100% เทียบกับ 10 ปีก่อน  เพราะถือเป็นความเท่ห์ เป็นชีวิตอีกชนชั้นหนึ่งที่ไม่ได้แบ่งด้วยรายได้ แต่แบ่งด้วยไลฟ์สไตล์ ดังนั้น ผู้บริโภคในปี 2016 จะโหยหาประสบการณ์ที่เรียล   เป็นธรรมชาติและดิบ  เช่น  การทำอาชีพเกษตรกร  สินค้า ไลฟสไตล์ ที่เป็นธรรมชาติ ทั้งออร์แกนิค การเสพศิลปะ รวมไปถึงการท่องเที่ยว ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนท้องถิ่น และจะไม่ใช้ของทิ้งขว้าง แต่จะเลือกใช้ของน้อยชิ้นที่มีความหมายต่อตน จะได้รับความนิยม  

แบบที่ 4 สันโดษนิยม  (Sole-cial)เนื่องจาก  ¼  ของมนุษย์ใช้เวลาในสังคมออนไลน์ มากกว่าสังคมกายภาพ และเพลินที่จะอยู่ในสังคมดิจิตอล เพราะเป็นสังคมเสมือนฝัน   ที่โพสต์ แล้วมีคนเข้ามาร่วมกดไลค์ชื่นชม   เหมือนการสร้างโลกส่วนตัวที่ไม่มีคนติ   มนุษย์จะค่อยๆพัฒนาไปสู่การสังคมแบบดิจิตอล คือหาเพื่อนที่เป็นผู้รับฟังที่ดี   สุดท้ายจะมีเพื่อนในรูปแบบดิจิตอลจริงๆ นั่นคือหุ่นยนต์   โดยมนุษย์ยุค 2016 จะไม่ค่อยรู้สึกอะไรมากนักกับการไม่เจอเพื่อน แต่ 79% จะกังวล ถ้าไม่มีโทรศัพท์ติดตัว   นอกจากนี้ การรับประทานอาหารคนเดียว (solo dinner) เติบโต 62% ในสหรัฐอเมริกา ในช่วง 2  ปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกันปี 2015 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางคนเดียว 24% เติบโตขึ้น 10%  และมีการคาดการณ์ว่า ที่อยู่อาศัยแบบอยู่คนเดียว จะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด มนุษย์จะมีความเกี่ยวพันกันน้อยลงเรื่อยๆ

แบบที่ 5 ดรามานิยม (Dramaqueen) ที่จริงแล้ว ทุกวันนี้คนเราเวลามากขึ้นกว่าเดิม เพราะไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องที่ทำให้เสียเวลาอย่างสมัยก่อน  แต่ที่คนเรารู้สึกไม่มีเวลา เพราะมีเวลาว่างมาก   จนทำให้มีเวลาไปคอยสอดส่องในโซเชียลมีเดีย  สนใจเรื่องราวของคนอื่น  จนมีเวลามาใช้กับโซเชียลมีเดียถึง 4 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยต่อวัน  เป็นที่มาของการ เสพติดดรามา   เพราะฉะนั้น ผู้บริโภคไม่ได้เสพข้อมูลหรือคอนเท็นต์เพียงด้านเดียวอีกต่อไป แต่จะเสพคอนเท็นต์ที่มี ดรามาผสม หรือ emotional content และทุกผลิตภัณฑ์จะหันมาเน้นการขายคุณค่าด้านอารมณ์   เพราะผู้บริโภคในปี 2016 จะไม่เสพข่าว content หรือใช้ผลิตภัณฑ์ ที่ไม่ได้มีการสร้าง connection ด้านอารมณ์ร่วม

และอันดับที่ 6 คือ  อัตโนมัตินิยม  (Automatism)  ชีวิตของคนรุ่นใหม่จะง่าย   แบบไม่เคยง่ายขนาดนี้มาก่อน เช่น   บริการเรียกรถโดยสาร แบบไม่ต้องเสี่ยงโดนปฎิเสธ , แอพลิเคชันที่แปลภาษาแบบทันทีทันใด ,ระบบคำสั่งเสียง  และอนาคตอันใกล้ จะมีกลไกแบบ mind reading แค่คิดก็สามารถสั่งอุปกรณ์ต่างๆทำงานได้   ผู้บริโภคในปี 2016 จะพัฒนาความใจร้อน รอไม่ได้ ไปอีกถึงระดับขั้นทุกอย่างต้องได้ดังใจในทันที    สรรหาผลิตภัณฑ์และบริการอะไรที่ทำให้ใช้ชีวิตแบบอัตโนมัติได้ แบบไม่ต้องคิด ไม่ต้องเสี่ยง ไม่ต้องจำ เข้าถึงง่ายโดยไม่จำกัดสถานที่ และไม่ต้องรอ

ทั้งหมดนี้กล่าวได้ว่า   เทรนด์ผู้บริโภคปีหน้า (59)  จะมีพัฒนาการเรื่องเอาแต่ใจตัวเองเพิ่มมากขึ้น นิยามชนชั้นด้วยไลฟสไตล์  ในรูปแบบ emotional ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ดั่งใจรวมทั้งความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันท่วงทีของผู้ให้บริการนั้น จะส่งผลมากเป็นหลายเท่าภายในใจผู้บริโภคที่มุ่งแต่จะหาความสุขในยุคนี้ 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog