เครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติไทย รณรงค์และผลักดันให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเร่งรัดนำร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ เข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร
ในหลักศิลาจารึกมีบันทึกว่า ดินแดนของอาณาจักรไทยทางฝั่งตะวันตกในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้แผ่ขยายไปจนถึงหงสาวดีจดอ่าวเบงกอล และในบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้บันทึกชื่อของเมืองทะวายและตะนาวศรีว่าเป็นเมืองในอาณาจักรสยาม ตามปรากฏในพงศาวดาร
"ประวัติศาสตร์ มะริด ทะวาย และตะนาวศรี" ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไทยและพม่า ได้ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทั้งสามนี้
ในปี พ.ศ.2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทะวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
ปัจจุบันความทรงจำที่ถูกละเลย ถูกทอดทิ้ง ถูกกระทำทั้งจากรัฐพม่า จากคนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ และโดยเฉพาะจากรัฐไทย ที่มองพวกเขาว่าไม่ใช่ไทย หรือ ที่มากกว่านั้น ที่มองว่าเป็นพม่า นั้นเจ็บปวด เมื่อต้องผ่านกระบวนการแปลงจากสัญชาติอื่น เพื่อเป็นคนไทย
เครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย : ไทยพลัดถิ่น ได้จัดกิจกรรมยุติธรรมยาตรา จากด่านสิงขรถึงรัฐสภาฯ เพื่อรณรงค์และผลักดันให้รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเร่งรัดนำร่างพระราชบัญญัติสัญชาติ เข้าสู่การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรในสมัยการประชุมนี้ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคมและองค์กรชุมชนภาคใต้ ได้ติดตามและศึกษาวิจัยในประเด็น
ปัญหาที่เกี่ยวกับคนไทยพลัดถิ่นมาอย่างต่อเนื่อง พบว่ากลุ่มคนไทยพลัดที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง ซึ่งมีมากกว่า ๒๐,๐๐๐ คน ได้ถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรและสวัสดิการทางสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน การถูกเอารัดเอาเปรียบจากสภาวะ การเป็นบุคคลไร้รัฐ ไร้สิทธิ ไร้ตัวตน โดยเกือบจะสิ้นเชิง
Produced by VoiceTV