ไม่พบผลการค้นหา
ซิดนีย์เสนอแผนนอนค้างคืนที่ 'โอเปร่า เฮาส์'
Apple ตกลงวางขายหูฟัง AirPod เฉพาะข้าง
World Trend - ปารีสเผยโฉม 'ทีเร็กซ์' 67 ล้านปี อิงกระแสจูราสสิคเวิลด์ - Short Clip
World Trend - การสูญทรัพย์ครั้งใหญ่ช่วงวัยกลางคนอาจทำให้ตายไว - Short Clip
'World Music' ในมุมมองของวงหมอลำสุดล้ำของไทย
ทางเท้าอันตราย กทม.ไฉนมองคนเดินถนนเป็นพลเมืองชั้นสอง? 
อินเดียเล็งส่ง 'มอเตอร์ไซค์-สามล้อ' บุกตลาดไทย
เตรียมประมูล 'แฮร์รี่ พอตเตอร์' เล่มพิเศษคาดทำเงินได้ 20 ล้าน
Day Break - การไฟฟ้านครหลวง นำเสาไฟฟ้ามาทำแนวป้องกันคลื่น - Short Clip
ตรวจสภาพแม่น้ำในออสเตรเลีย ด้วยการนับประชากรกบ
World Trend - แก๊สเรือนกระจกทั่วโลกจะสูงเกินกำหนดในปี 2030 - Short Clip
World Trend - จีนเตรียมเปิดอุทยานแห่งชาติแพนด้ายักษ์ - Short Clip
World Trend - การสัญจรทางอากาศจะเพิ่มขึ้น 2 เท่าในปี 2037 - Short Clip
World Trend - ผลสำรวจชี้ คนรุ่นใหม่มองชีวิตในแง่ร้าย - Short Clip
ออสเตรเลียจัดงานเฉลิมฉลองวันวินเทจ
World Trend - Facebook ให้ทุนนักเรียนสื่อสารมวลชน - Short Clip
World Trend - ไปดูคอนเสิร์ตช่วยยืดอายุขัย - Short Clip
"กฟน.-กองทัพเรือ" ปลูกป่าชายเลนป้องกันคลื่นกัดเซาะ
บราซิลพบโครงกระดูกมนุษย์อายุ 200 ปี สภาพสมบูรณ์ : FULL EP.
World Trend - ​​สตูดิโอใหญ่เลือก 'นิวเม็กซิโก' ทำเลเมืองหนังใหม่ - Short Clip
ออสเตรเลียใช้หุ่นยนต์รักษาสภาพ 'ซิดนีย์ โอเปร่า เฮ้าส์'
Sep 9, 2016 13:32

ออสเตรเลีย ผุดเทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับการดูแลรักษาสภาพของซิดนีย์ โอเปร่า เฮ้าส์ เพื่อให้อยู่ไปอีก 200 ปีข้างหน้า

ซิดนีย์ โอเปร่า เฮาส์ หรือ โรงอุปรากรซิดนีย์ เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่รู้จักกันดีทั่วโลก ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกชาวเดนมาร์ก ชื่อว่ายอร์น อุตซอน ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 1973 ใช้เวลาในการก่อสร้างนานกว่า 9 ปี 

ซิดนีย์ โอเปร่า เฮาส์ ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย และองค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ปี 2007  ด้วยเหตุผลที่ว่า โอเปร่าเฮาส์นี้ เป็นสถาปัตยกรรมยิ่งใหญ่สมัยศตวรรษที่ 20 และผสมผสานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้อย่างกลมกลืน มีสภาพภูมิทัศน์ริมน้ำที่โดดเด่น หันหน้าไปสู่สะพานฮาร์เบอร์ และมีอิทธิพลต่อวงการสถาปัตยกรรมมายาวนาน

การดูแลรักษามรดกโลกชิ้นนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากโครงสร้างภายในที่ค่อนข้างซับซ้อน  และมีส่วนที่เป็นกระเบื้องเซรามิกหลายล้านแผ่น ประกอบกับความสูงถึง 67 เมตร ซึ่งการใช้แรงงานมนุษย์เพื่อดูแลรักษาจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตราย  ดังนั้นจึงเกิดเทคโนโลยีใหม่ในการนำเอาหุ่นยนต์มาใช้ในการดูแลรักษาแทน ซึ่งหุ่นยนต์จะสามารถตรวจดูร่องร่อยความสึกหรอภายในได้มากกว่า ด้วยการควบคุมให้เคลื่อนที่ไปตามโปรแกรมแผนที่สามมิติของทั้งโรงอุปรากร พร้อมส่งสัญญาณให้มีการดูแลในแต่ละจุด

หุ่นยนต์ที่นำมาใช้ตรวจสอบนี้ จะมีอายุการใช้งานอยู่ได้ 3-5 ปี ในขณะที่เป้าหมายของการดูแลคือต้องการรักษาสภาพของโรงอุปรากรนี้ให้อยู่ไปได้อีก 200 ปีข้างหน้า 

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog