ไม่พบผลการค้นหา
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย "ปฐมบทรัฐธรรมนูญ"
ตุลาการซ้ำเติมวิกฤติ
โอนอำนาจสู่ฝ่ายปกครอง ก้าวแรกปฏิรูประบบราชการ
24 มิถุนากับคนรุ่นใหม่
วิจัยชนบทกับ "ครก. 112"
SML โครงการประชานิยมหรือพัฒนาชุมชน
ทางออกข้าวไทย พัฒนาอย่างไรให้ยั่งยืน ?
ย้อนรอย 'แยกประเทศ'
ภิวัตน์สู่รุนแรง
80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย ''ประวัติศาสตร์ที่ถูกทำให้ลืม''
ประชาธิปไตยแบบอำมาตย์ 'อย่าให้ประชาชนทนไม่ไหว'
พัฒนางานทะเบียน ชายแดนใต้ 'ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข'
อนาคตการศึกษา อนาคตประเทศไทย
เปิดวิสัยทัศน์ 'ดับไฟใต้' ของเลขาธิการอาเซียน
นับถอยหลัง 'เปิดรายงานฉบับสุดท้ายของ คอป.'
'เสียงสะท้อนชาวนาไทย' จำนำ – ประกันรายได้?
สถาบันโพธิคยา 'ติดอาวุธให้กองทัพธรรม'
ผลสอบสลายชุมนุม พฤษภา’53 “เหมือนผัวเมียทะเลาะกัน”
ผ่ามุมมอง 2 ยอดโค้ช ' ฟุตบอลไทย VS วอลเลย์บอลไทย '
บทเรียนรัฐประหารสปริง
"วังน้ำเขียวโมเดล" ปฏิรูปป่าอย่างยั่งยืน
Jun 16, 2012 09:30

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 16 มิถุนายน 2555

 

ปัญหาการบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน เขต อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา และ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ถูกกระแสสังคมมองด้านเดียวว่าคือการบุกรุกทำลายป่า สมควรแล้วที่เจ้าหน้าที่จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จับกุม รื้อถอนรีสอร์ท "นายทุน"

 
แต่ปัญหาที่เป็นจริงซับซ้อนกว่านั้น เพราะการประกาศเขตอุทยานเมื่อปี 2524 ทับที่ทำกินของชาวบ้านที่อยู่มาก่อน ขณะเดียวกันก็มีปัญหาทับซ้อน ระหว่างอุทยานกับป่าสงวนที่นำไปออก สปก.ให้ประชาชนทำกิน บางพื้นที่เป็นเขตอุทยาน แต่ก็มี สปก.มีหมู่บ้าน มีวัด มีโรงเรียน มาเนิ่นนาน
 
 
คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2540 ให้สำรวจแนวเขตและปรับแก้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยาน มีการตั้งคณะกรรมการกันเขตพื้นที่ออก กว่า 3 แสนไร่ แต่ก็หยุดชะงักไปตั้งแต่ปี 2543 รัฐปล่อยปละละเลยให้อยู่กันมาเช่นนั้น เมื่อวังน้ำเขียวบูม ก็มีนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยว รีสอร์ทผุดเป็นดอกเห็ด แต่ขณะเดียวกันก็สนับสนุนให้อุทยานแห่งชาติทับลานเป็นพื้นที่มรดกโลกในปี 2548
 
 
ฟังความเห็นตัวแทนประชาชนในท้องถิ่น สมบูรณ์ สิงห์กิ่ง รองนายก อบต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว ไชนยศ โนจิตต์ รองนายก อบต.ทุ่งโพธิ์ อ.นาดี และธีรพงษ์ พร้อมพอชื่นบุญ ผู้จัดการสำนักงานภาคตะวันออก สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งเห็นว่ารัฐบาลควรสั่งให้ชะลอการจับกุมดำเนินคดีไว้ก่อนจนกว่าจะจำแนกแนวเขตให้ชัดเจน แล้วจัดพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน โดยองค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วม จัดระบบดูแลดิน น้ำ ป่า อย่างยั่งยืนเป็น "วังน้ำเขียวโมเดล" เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาป่าไม้ที่ดินที่มีอยู่ทั่วประเทศในขณะนี้
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog