การปรับราคาของสินค้าหลายชนิด โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ถูกมองว่าเป็นผลกระทบจากการกักตุน เพื่อเก็งกำไรของกลุ่มนายทุนผู้ประกอบการ
ปัญหาราคาสินค้าแพง เป็นปัญหาที่สร้างความยากลำบากในการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ เพราะราคาสินค้าในขณะนี้ไม่ได้ถูกกดดันจากความต้องการบริโภคที่แท้จริง แต่เป็นเพราะต้นทุนที่ถูกบิดเบือนจากทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ที่ขาดตลาดจนนำไปสู่ปัญหาการกักตุน ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะนำเข้า น้ำมันปาล์ม หนึ่งแสน สองหมื่นตัน เพื่อแก้ปัญหา
นางพรทิวา นาคาศัย เปิดเผยว่า การขาดแคลนน้ำมันปาล์ม ไม่ได้เกิดจากการกุกตันเพื่อแสวงหาประโยชน์ของบริษัทใด บริษัทหนึ่ง แต่เป็นเพราะความผิดพลาดในการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ คือการประเมินปริมาณน้ำมันปาล์มในสต๊อก และ ราคาที่กำหนดให้โรงกลั่นจะต้องขายในราคาขวดละ 47 บาท ซึ่งเป็นภาระของโรงกลั่น ทำให้ขั้นตอนการผลิตชักช้า และยินดีหาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในเรื่องนี้ แต่จะต้องขายในอัตราควบคุมคือ 47 บาทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ตนจึงเสนอของบอีก 1 พันล้านบาท เพื่อที่จะเข้ามาตรึงราคาน้ำปาล์มอีกสักระยะหนี่งจนกว่า จะเข้าสู่ภาวะปกติในประมาณเดือนเมษายนนี้ ซี่งผลผลิตน้ำมันปาล์มในประเทศก็จะออกมาสู่ตลาด
ด้านนโยบายประชาวิวัฒน์ของรัฐบาลในส่วนการขายไข่ไก่ ถึงแม้ว่าจะมีการปรับให้มีการลดต้นทุนของราคาไข่ไก่เพื่อไม่ให้ขึ้นราคา โดยการชั่งกิโลขาย แต่พบปัญหากับความล้มเหลว เพราะทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย ไม่นิยม เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ขายแบบคัดฟอง กับ ขายแบบชั่งกิโลขายนั้นราคาไม่แตกต่างกันมาก แต่การขายโดยแบบคัดฟองมีความคล่องตัว และสะดวก และสอดคล้องกับการใช้งานมากกว่ากัน
ส่วนสินค้าทางเกษตรก็มีการปรับตัวขึ้นตามปัจจัยในต้นทุนการผลิต ถึงแม้รัฐบาลจะเสนอมาตราการต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจเสริมสร้างรายได้ ช่วยเหลือประชาชน ตามโครงการประชาวัฒน์ แต่ค่าใช้จ่ายกลับมากขึ้นกว่าเดิม ติดตามได้ในรายการ Intelligence วันนี้
Produced by VoiceTV