ไม่พบผลการค้นหา
ปีประชาธิปไตยพ่ายแพ้?
FULL EP. 'บรรษัทน้ำมัน' ปวดกบาลแทนลุงตู่
'แดนสนธยา' กองทุนนักกีฬา 7,000 ล้าน FULL EP.
จับธัมมชโยได้แล้วธรรมกายจะเสื่อมหรือ?
FULL EP. บังคับสรรพากรเก็บภาษีทักษิณจนต้องแถ ?
FULL EP. วิสามัญ ฆ่าตัดตอน กระสุนจริง วิถีประชานิยม?
FULL EP. จากธัมมี่ถึงทักกี้ ประเทศนี้ยังปรองดองได้อยู่หรือ
ใบตองแห้งOnAir - ให้มันจบเมื่อไหร่?
FULL EP. อภินิหารมีมาตั้งแต่คดียึดทรัพย์
FULL EP. ปีนรัฐสภาผิด แล้วยึดทำเนียบปิดสนามบินล่ะ
FULL EP. จากธัมมี่ถึงทักกี้ ภาคต่อขยาย
ใบตองแห้งOnAir - จุดวัดใจ ม็อบ-รัฐ
ใบตองแห้ง OnAir - รับขันหมากกลางฝุ่น 3 ล้านข้อที่ลุงพึงระวัง
ใบตองแห้ง Onair - ดรามาโซเชียลเปลี่ยนสังคมการเมืองได้แค่ไหน
FULL EP. สตง. เทพเจ้าแห่งยุค
ปปช. กกต. สเปกมหาเทพ มีไว้ให้กราบ FULL EP.
4 ปี กปปส. NGO ถาม นกหวีดหายไปไหน FULL EP.
FULL EP. ซื้อเรือดำน้ำแถมโมโตจีพี
ชอปช่วยชาติ ชาตินักชอป FULL EP.
FULL EP. สถาบันมหาวิทยาลัย เสื่อมถอยกว่าที่เห็น
สื่อไม่ได้สูงส่งกว่าหมอนวด จริงๆ นะ 
Apr 27, 2017 08:56

“ใบตองแห้ง” ชี้ สื่อเป็นอาชีพที่ต้องตรวจสอบจากผู้บริโภค แต่ไม่ใช่ด้วยการขึ้นทะเบียน และสื่อไม่ได้มีลักษณะวิชาชีพที่ต้องขึ้นทะเบียน เหมือนหมอนวด หมอ หรือทนายความ

นายอธึกกิต แสวงสุข หรือใบตองแห้ง นักวิเคราะห์ประจำรายการใบตองแห้งออนแอร์กล่าวถึงแนวคิดบังคับขึ้นทะเบียนสื่อ และมีภาคบังคับต้องโทษจำคุกหากทำหน้าที่สื่อโดยไม่จดทะเบียน และขณะนี้���ยู่ในการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า แม้จะมีการเปรียบเทียบว่าหมดนวดก็ต้องจดทะเบียน แต่เป็นการเปรียบเทียบแบบผิดฝาผิดตัวเพราะหมดนวดต้องมีพื้นฐานความรู้ ขณะที่สื่อนั้นคือคนทำหน้าที่สื่อสารที่มีพื้นฐานความรู้ที่หลากหลาย เช่น  
“ถ้ามีการทำข่าวการเมือง ข่าวการอภิปราย นายกฯ พูด 30 นาที ต้องฟังให้ออกว่ามีกี่ประเด็น ส่งกลับมาให้รีไรเตอร์และหัวหน้าข่าวตรวจสอบ พาดหัว นี่คือวิชาชีพที่ต้องใช้ภาษาไทย วิชาเขียนข่าว รู้จักย่อความ จับใจความ แล้วจำเป็นต้องจบการศึกษาด้านสื่อหรือไม่ บางคนก็ไม่จบ เวลาฟังคำแถลงของศาล คนจบนิติศาสตร์ ฟังได้ดีกว่าคนจบนิเทศ คนจบเศรษฐศาสต์ก็ฟังเรื่องเศรษฐกิจได้ดดีกว่าคนจบนิเทศ คำถามคือ อะไรคือพื้นฐานวิชาชีพสื่อที่ต้องเอาไปจดทะเบียนแบบหมอนวด คำตอบคือไม่มี ไม่มีอะไรที่จะต้องความฉพาะพิเศษไม่เหมือนหมอนวด ไม่เหมือนหมอ ไม่เหมือนทนายความ” 

ทั้งนี้ นายอธึกกิตกล่าวว่า สื่อเป็นอาชีพสาธารณะ ถูกตรวจสอบโดยสาธารณะ หากถูกสาธารณะตรวจสอบประจานก็ย่อมอยู่ไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ วิชาชีพสื่อ เวลาที่ไปละเมิดคนอื่น สื่อมีอิทธิพล และเรากำลังพูดถึงสื่อกระแสหลัก บางทีสื่ออาจจะมีเส้นสายทางการเมือง ทางราชการ ทหาร ตำรวจ ดังนั้นจึงน่ากลัวที่ชาวบ้านจะไปร้องเรียนสื่อ จึงควรมีองค์กรที่คุ้มครองผู้บริโภคสื่อในการช่วยประชาชนทั่วไปในการฟ้องร้องตรวจสอบสื่อ แต่องค์กรที่ว่านี้ไม่ควรจะมีลักษระของการลงโทษได้ หากแต่ต้องใช้กฎหมายปกติ 

กรณีต่อมาคือหากเป็นเว็บไซต์แล้วมีการโฆษณาหารายได้ เช่น sanook, kapook, หรือแม้แต่เฟซบุ๊กเพจอย่าง drama-addict ก็ยังอาจจะต้องเข้าสู่ระบบตรวจสอบควบคุม ทั้งๆ ที่เพจหรือเว็บเหล่านี้เป็นเรื่องของความนิยมและนำมาสู่รายได้จากการโฆษณา ซึ่งหากเขาผิดกฎหมายตรงไหนก็ควรไปใช้ช่องทางนั้น แต่จะเรียกร้องให้เขาต้องขอใบอนุญาตในฐานะสื่อ นั้นไม่เรื่องที่จำเป็น  และไม่จำเป็นต้องไปถึงขึ้นที่ต้องมีการขึ้นทะเบียน และกำหนดว่าไม่มีใบอนุญาตแล้วคิดคุก
 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog