ไม่พบผลการค้นหา
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
Biz Feed - ปี 2017 ชาวฟิลิปปินส์ส่งเงินกลับประเทศมากที่สุด - Short Clip
 ไต้หวันเล็งตรวจเข้มคนไทยได้ยกเว้นวีซ่าลอบค้าประเวณี
Biz Feed - EU ขู่ขึ้นภาษีลีวายส์-ฮาร์เล่ย์ โต้ทรัมป์ขึ้นภาษีเหล็ก - Short Clip
สินค้าหรูทั่วโลกปรับตัวเอาใจลูกค้าจีน
นักวิเคราะห์ชี้อุปสรรคสัมพันธ์ไทย-เมียนมา-อินเดีย
กรุงเทพฯติดที่ 2 เมืองนักท่องเที่ยวมากสุดในโลก
World Trend - ​'กวางนาระ' ทำร้ายนักท่องเที่ยวเป็นประวัติการณ์ - Short Clip
ฉลอง 1 ปี JOOX ขึ้นผู้นำแพลตฟอร์มทางดนตรี
World Trend - วิจัยชี้ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกไม่ต้องทำคีโม - Short Clip
ธนาคารโลกเตือนปัญหาเกาหลีเหนือกระทบเศรษฐกิจเอเชีย
ครบ 50 ปีอาเซียนยังมีอนาคตหรือไม่?
ควีนอังกฤษได้ขึ้นเงินปี 8% 
คนไทยให้ความสำคัญเรื่องเสื้อผ้าสูงสุดระหว่างท่องเที่ยว
Biz Feed - บิทคอยน์ร่วงเพราะรัฐบาลในเอเชีย? - Short Clip
เผยขั้นตอนขอสถานะแรงงานไทยยุ่งยาก-ทุจริต
Biz Insight : แอมะซอนสู้อาลีบาบาครองอีคอมเมิร์ซในอาเซียน 
กูเกิลเผยคนไทยเข้าโชว์รูมรถน้อยลง
 Biz Insight : ไอโฟน 10 สะท้อนแอปเปิลเลิกเจาะตลาดแมส
Biz Feed - ไทยเรียกตัวเอง 'ดีทรอยด์ของเอเชีย' - FULL EP.
ซิลิคอน แวลลีย์ ไม่เน้นจ้างคนจบม.ดัง
May 4, 2017 04:17

ซิลิคอน แวลลีย์ ชื่อนี้เป็นสถานที่ทำงานในฝันของคนทั่วโลก ทั้งค่าจ้างที่สูงลิ่ว และการได้ชื่อว่าอยู่ในบริษัทชั้นนำที่ชี้ทิศทางการพัฒนาของโลก หลายคนเข้าใจว่าคนที่จะทำงานในซิลิคอน แวลลีย์ ต้องเป็นหัวกะทิที่จบจากสถาบันชั้นเลิศของโลก แต่ผลสำรวจล่าสุดกลับพบว่า 10 มหาวิทยาลัยแรกที่มีคนเข้าทำงานในซิลิคอนแวลลีย์มากที่สุด แทบไม่มีมหาวิทยาลัยดังอยู่เลย

HiringSolved บริษัทจัดหางานออนไลน์ วิเคราะห์รวบรวมข้อมูลจากโปรไฟล์ของผู้ได้รับการจ้างงานหรือเลื่อนตำแหน่งในซิลิคอน แวลลีย์ หรือเขตอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและไอทีของสหรัฐฯในแคลิฟอร์เนีย กว่า 10,000 คน จากปี 2016 ถึง 2 เดือนแรกของปี 2017 พบว่า 10 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยที่มีคนทำงานในซิลิคอน แวลลีย์ มากที่สุด ไม่มีมหาวิทยาลัยระดับไอวีลีก หรือระดับหัวกะทิของสหรัฐฯ 

แม้ว่า 2 อันดับแรกจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ คือมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเลตเบิร์กลีย์ หรือยูซี เบิร์กลีย์ และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และสองอันดับถัดมา จะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรมศาสตร์ อย่างมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน และมหาวิทยาลัยเซาเธิร์นแคลิฟอร์เนีย แต่อีก 6 อันดับที่เหลือเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่ไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก เช่นมหาวิทยาลัยเท็กซัส วิทยาเขตออสติน / สถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐจอร์เจีย / มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ วิทยาเขตเออร์บานา-แชมเปญ/ มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐซานโฮเซ/ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานดิเอโก/ และมหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐแอริโซนา ส่วนมหาวิทยาลัยในไอวีลีกแห่งแรกที่ติดอันดับ อยู่ในอันดับ 15 คือมหาวิทยาลัยคอร์แนล
      
สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยเหล่านี้มีเหมือนกัน ก็คือมีจำนวนนักศึกษามาก เช่นม.แอริโซนา มีนักศึกษากว่า 72,000 คน และม.เท็กซัส มีนักศึกษา 51,000 คน ทำให้ไม่น่าแปลกใจที่เมื่อเทียบกันแล้ว พนักงานในซิลิคอน แวลลีย์ จะจบจากมหาวิทยาลัยใหญ่ๆเหล่านี้มากกว่ามหาวิทยาลัยไอวีลีก ที่รับคนน้อย คัดคนแบบเข้มข้น อย่างไรก็ตาม การที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรัฐใหญ่ๆ มีบัฯฑิตจำนวนมาก ก็ทำให้บริษัทเทคโนโลยีต่างๆ เลือกไปรับสมัครพนักงานหรือเปิดแคมเปญแนะนำการสมัครงานกับมหาวิทยาลัยนั้นๆมากกว่า เพราะมีตัวเลือกมาก ซึ่งถือเป็นผลดีสำหรับบริษัท ที่จะสามารถคัดเลือกคนเก่งๆและมีคุณสมบัติตรงตามต้องการได้ง่ายกว่า

นอกจากนี้ หากมองดูถึง 25 มหาวิทยาลัยแรกที่บัณฑิตได้เข้าทำงานในซิลิคอน แวลลีย์มากที่สุด จะพบว่ามีบางมหาวิทยาลัย ที่ไม่มีชื่อเสียงเลย แต่มีสายสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ในซิลิคอน แวลลีย์ เช่นมหาวิทยาลัยวอเทอร์ลูของแคนาดา ซึ่งอยู่ในอันดับ 16  หรือบางมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใจกลางซิลิคอน แวลลีย์ เช่นมหาวิทยาลัยซานตาคลารา สถานศึกษาคาธอลิกที่อยู่ห่างจากสำนักงานใหญ่ของแอปเปิลเพียง 8 ไมล์ ทำให้มีคนเข้าทำงานในซิลิคอนแวลลีย์มากเป็นอันดับ 21 นอกจากนี้ ยังมีอีกมหาวิทยาลัยที่น่าสนใจ คือสถาบันการศึกษาออนไลน์อย่างมหาวิทยาลัยฟีนิกส์ มาในอันดับ 22 ทั้งที่มีเรื่องอื้อฉาวว่ารับนักศึกษามากกว่า 200,000 คน แต่คนจบออกมาแล้วกลับไม่มีงานทำ

ตัวเลขเหล่านี้ นอกจากจะสะท้อนว่าสถาบันที่จบมา ไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าคุณจะได้งานที่ดีเสมอไป แต่ยังสะท้อนว่าในซิลิคอน แวลลีย์ มีระบบการจ้างงานที่ทันสมัยกว่าอีกหลายๆแห่งทั่วโลก นายจ้างไม่ได้วัดคนจากมหาวิทยาลัย แต่วัดจากความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และทัศนคติในการทำงานจริงๆ

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog