ไม่พบผลการค้นหา
สมาคมผู้ค้ายุโรปเตือนไทยกรณีแรงงานฟาร์มไก่
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
เด็กไทยจ่ายเงินซื้อขนมมากสุดในเอเชียแปซิฟิก
ไทยเล็งแข่งธุรกิจซ่อมบำรุงเครื่องบินกับสิงคโปร์
ศาลสูงตัดสินแรงงานพม่าชนะคดีฟาร์มไก่ไม่จ่ายค่าจ้าง
World Trend - 'เจย์-ซี' ขึ้นแท่นแรปเปอร์มหาเศรษฐีคนแรก - Short Clip
วีอาร์จะเปลี่ยนการทำธุรกิจยุคใหม่
สื่อนอกประเมินอนาคตนกแอร์และธุรกิจการบินในไทย
เมียนมาฝันสลาย นักท่องเที่ยวไม่ถึงเป้า
Biz Feed - แรงงานอาเซียนเสริม ศก.ไทย แต่หนีไม่พ้นถูกละเมิด - Short Clip
ILO เผยอุปสรรคการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในอาเซียน
ไทย-กัมพูชาหนุนโครงการรถบัสเชื่อมต่อถึงเวียดนาม
คาดราคาคอนโดในกรุงเทพปีหน้าขึ้น 5-7%
World Trend - ​จีนลงทุน 500 ล้านบาท สร้างร้านหนังสือ - Short Clip
สนามบินไทยไม่พอรองรับนักท่องเที่ยว
อินโดนีเซียพัฒนาเส้นทางบินเล็งสู้ไทยดึงดูดชาวจีน
Biz Feed - หุ่นยนต์จะแย่งงานมนุษย์ 800ล้านตำแหน่งในปี2030 - Short Clip
ฮาร์ลีย์-เดวิดสันเตรียมตั้งโรงงานในจ.ระยอง
ธุรกิจห้องพักชั่วคราวในสนามบินเริ่มตั้งหลักแม้รายได้น้อย
Biz Feed - ซัมซุงเสียส่วนแบ่งเพิ่มให้สมาร์ทโฟนจีนปีหน้า - Short Clip
เจาะแผนฮับซ่อมเครื่องบิน ไทยตามห่างสิงคโปร์
Jun 1, 2017 02:53

ผู้เชี่ยวชาญด้านการบินระบุ ไทยมีหลายปัญหาให้แก้ไข เช่น ระเบียบราชการที่ยุ่งยาก และบรรยากาศทางการเมือง หากต้องการพัฒนาธุรกิจการซ่อมบำรุงเครื่องบินให้ทัดเทียมกับสิงคโปร์ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้

เสตรทส์ไทม์ส สื่อสิงคโปร์อ้างความเห็นของกลุ่มผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรม กรณีรัฐบาลไทยตั้งเป้าดึงดูดธุรกิจบำรุงรักษา ยกเครื่อง ซ่อมแซมเครื่องบิน หรือ MRO ให้เข้ามาลงทุนในไทย และหวังจะแข่งกับสิงคโปร์ที่เป็นฐานใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่เดิม ว่านอกจากการปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภา ที่รัฐบาลไทยวางงบประมาณไว้สำหรับแผนปรับปรุงในอนาคตแล้ว ไทยยัังมีความท้าทายอื่นๆ ต้องทำอีกมาก เช่น การสร้างสาธารณูปโภคที่จำเป็น ลดความยุ่งยากของระเบียบราชการ และสร้างบรรยากาศทางการเมืองที่นำไปสู่การลงทุนของต่างชาติ

ด้านนายบวร จันทร์เสรีชัย ผู้จัดการใหญ่บริษัท ดูคอมมัน เทคโนโลยี ผู้ผลิตอุปกรณ์อากาศยานสัญชาติอเมริกัน ระบุว่า แผนของรัฐบาลไทย ต้องการการลงทุนที่มีมูลค่ามหาศาล แต่ไทยยังมีระบบราชการที่ยุ่งยาก โดยนายบวรกล่าวว่า ระบบขั้นตอนต่างๆ ของไทยยังไม่โปร่งใสเพียงพอ ซึ่งอาจจะเอื้อต่อการคอร์รัปชัน โดยนายบวรย้ำว่า รัฐบาลจะต้องทบทวนกฎหมายการเป็นเจ้าของของชาวต่างชาติ กำหนดนโยบายที่ชัดเจนกว่าในปัจจุบัน นอกจากนี้ ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของไทยในทศวรรษที่ผ่านมา อาจทำให้นักลงทุนหน้าใหม่ๆ กังขาได้ 

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยเปิดเผยว่า ได้วางงบประมาณกว่า 5,700 ล้านบาท ซ่อมแซมปรับปรุงสนามบินอู่ตะเภาในจังหวัดระยอง ให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจ MRO ภายในปี 2026 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจภาคพื้นตะวันออกหรืออีอีซี โดยนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ที่เสตรทไทม์สรายงานว่า เพิ่งเดินทางกลับจากสหรัฐฯ จากการเดินทางไปโปรโมทแผนลงทุนด้านการพัฒนาธุรกิจการบินในไทย ระบุว่าสิงคโปร์ ที่ป็นฐานใหญ่ของธุรกิจนี้ ปัจจุบันเริ่มเข้าสู่ภาวะแออัด ไทยจึงเล็งเห็นโอกาสนี้ โดยไทยจะเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเป็นเจ้าของหุ้นส่วนธุรกิจดังกล่าวได้มากกว่าร้อยละ 50 เพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุน โดยคาดว่าธุรกิจนี้น่าจะมาจากเมียนมา เวียดนาม และกัมพูชา

อย่างไรก็ตาม เสตรทส์ไทม์สระบุว่า ไทยมีข้อดีด้านจุดภูมิศาสตร์ มีพื้นที่ที่ใหญ่กว่า และมีแรงงานที่ถูกกว่าสิงคโปร์ ซึ่งความเห็นนี้ สอดคล้องกับความเห็นของนายปีเตอร์ กิลล์ รองประธานและผู้จัดการใหญ่บริษัทเทอร์ไบน์แอโร บริษัทผู้นำด้านการซ่อมแซมเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ที่กล่าวว่าไทยสามารถใช้โอกาสจากตลาดเพื่อนบ้านที่เติบโต เนื่องจากที่ตั้งของประเทศเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าสิงคโปร์ โดยขณะนี้ มีบริษัทใหญ่ด้านธุรกิจ MRO หลายแห่งอยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว และบริษัทแอร์บัส เพิ่งลงนามข้อตกลงกับการบินไทยเพื่อประเมินลู่ทางที่จะพัฒนาโรงซ่อมเครื่องบินที่อู่ตะเภาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา

นายกิลล์กล่าวว่า บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทใหญ่ที่มีความพร้อมทางด้านเครื่องมือ และโครงสร้างพื้นฐาน โดยเน้นว่าในไทยมีโรงเรียนที่จะสอนเทคนิคการบินให้แก่วิศวกรและช่างยนตร์ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมดังกล่าวประเมินว่าไทยน่าจะใช้เวลาถึงสิบปี ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น จนกว่าจะสามารถแข่งขันกับสิงคโปร์ได้ โดยขณะนี้ สิงคโปร์มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจ MRO อยู่ 37 แห่ง ขณะที่ไทยมี 6 แห่ง

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog