ไม่พบผลการค้นหา
CLIP Biz Feed : 'พิโก' เครื่องผลิตคราฟท์เบียร์ประจำบ้าน
ILO เผยอุปสรรคการแก้ปัญหาค้ามนุษย์ในอาเซียน
 เงินบาทแข็งไม่เป็นอุปสรรคต่อการท่องเที่ยวไทย
CLIP Biz Feed : 'HijUp' เปิดโลกแฟชั่นหญิงมุสลิม
Biz Feed - CEO's Insight : 'KOH' กางเกงแบคแพกเกอร์ไทยที่ไปไกลระดับโลก - Short Clip
CLIP BizFeed : จ้างงานผู้สูงอายุ รับสังคมสูงวัยอย่างยั่งยืน
เทสลาบุกตลาดรถไฟฟ้าจีน
อาลีบาบาเชื่อมช็อปออนไลน์กับตลาดสดด้วย 'เหอหม่า'
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
CLIP Biz Feed : อี-สปอร์ต เปิดโลกแห่งเกมให้เป็นโลกแห่งธุรกิจ
KTM ส่ง 'เรซซิ่งสปอร์ต' 2 รุ่นใหม่ตีตลาดไทย
World Trend - ชาวอเมริกันเสพข่าวโซเชียลมากกว่าสิ่งพิมพ์เป็นครั้งแรก - Short Clip
เตรียมพร้อมก่อนไป 'มอเตอร์ เอ็กซ์โป 2014'
เปิดปฏิทินโลกปี 2015 มีอะไรน่าติดตาม?
Shappy โมบายแอปเพื่อทุกธุรกิจ
World Trend - ซิลิคอนแวลลีย์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือที่ใด - Short Clip
ฮ่องกง เมืองที่ช่องว่างรวย-จนสูงสุดในเอเชีย​
Jun 15, 2017 02:31

สำนักข่าวต่างประเทศได้เผยแพร่บทความระบุว่า ฮ่องกงเป็นเมืองที่ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนสูงที่สุดในเอเชีย โดยสาเหตุที่เป็นเช่นนี้เกิดจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะของฮ่องกงตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้กลุ่มคนรวยสามารถครอบครองอสังหาริมทรัพย์ และสร้างอาณาจักรทางธุรกิจผูกขาด ขณะที่คนยากจนต้องอาศัยอยู่ในห้องเช่าที่มีขนาดใหญ่กว่าเตียงเดี่ยวเพียงเล็กน้อย

สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้เผยแพร่บทความเรื่อง 'ชีวิตบนเกาะฮ่องกงยากกว่าที่เคยเป็นมา หากคุณไม่ใช่มหาเศรษฐี' ซึ่งเปิดเผยว่าขณะนี้ฮ่องกงเป็นเมืองที่ช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนสูงที่สุดในเอเชีย โดยจากมาตรวัดความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ที่เลข 0 หมายถึง มีความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ และเลข 1 หมายความว่าความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ที่บุคคลเพียงคนเดียว ปรากฏว่าดัชนีความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจของฮ่องกงอยู่ที่ 0.539 ซึ่งสูงที่สุดในเอเชีย รองลงมา คือ ปาปัวนิวกีนี ศรีลังกา และไทย

โดยบลูมเบิร์กระบุว่า นับตั้งแต่อังกฤษส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนสู่จีนเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนรวยและคนจนบนเกาะฮ่องกงได้เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุมาจากการที่กลุ่มคนรวยเหล่านี้ถือครองอสังหาริมทรัพย์ และสามารถสร้างอาณาจักรทางธุรกิจกึ่งผูกขาดขึ้นมาได้ ซึ่งคนรวยเหล่านี้ นอกจากจะถือครองที่ดินแล้ว ยังเป็นเจ้าของห้างร้าน กิจการด้านสาธารณูปโภค ระบบโทรคมนาคม รวมไปถึงท่าเรือบนเกาะฮ่องกง โดยที่ภาครัฐไม่มีมาตรการควบคุม

บลูมเบิร์กระบุว่า สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ฮ่องกงภาคภูมิใจกับนโยบายทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งใกล้เคียงกับโมเดลเศรษฐกิจแบบเสรีมากที่สุด โดยภาครัฐแทบไม่มีการแทรกแซงหรือควบคุมตลาด ไม่มีการเก็บภาษีห้างร้าน รวมไปถึงภาษีรายได้จากการขายทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้เอง บลูมเบิร์กจึงระบุว่า การออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายรัฐบาลท้องถิ่นฮ่องกงเป็นอย่างมาก

ในปัจจุบันมีชาวฮ่องกงราวๆ ครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีรายได้ต่ำ จนไม่เข้าเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ ขณะที่กลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุด 10 อันดับแรก กลับมีรายได้รวมกันคิดเป็นร้อยละ 48 ของจีดีพีฮ่องกง แม้ชาวฮ่องกงจะมีจีดีพีต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 45,000 ดอลลาร์ หรือราว 1 ล้าน 5 แสนบาทต่อปี ซึ่งสูงกว่าเยอรมนี ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส รวมไปถึงมีระบบคมนาคมทางราง ถนน และท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก 

แต่ชาวฮ่องกงกลับต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงมาก โดยเฉพาะราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งฮ่องกงเป็นเมืองที่ราคาอสังหาริมทรัพย์เทียบกับค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก เนื่องจากตลอดช่วง 14 ปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์บนเกาะฮ่องกงได้พุ่งสูงขึ้นถึง 4 เท่า  ส่งผลให้กลุ่มคนที่มีรายได้น้อยต้องอาศัยอยู่ใน "ห้องเช่าโลงศพ" หรือห้องเช่าที่มีขนาดใหญ่กว่าเตียงเดี่ยวเพียงเล็กน้อย และไม่มีการแยกพื้นที่ห้องครัวและห้องน้ำออกจากห้องนอน ขณะที่ ราคาอพาร์ทเมนท์ขนาดไม่เกิน 12 ตารางเมตรสำหรับชนชั้นกลางกลับมีราคาสูงถึง 400,000 ดอลลาร์ หรือกว่า 13 ล้านบาท

แม้ในปี 2011 รัฐบาลท้องถิ่นฮ่องกงจะออกกฎหมายค่าแรงขึ้นต่ำ และในปี 2015 มีการออกกฎหมายต่อต้านการผูกขาดเป็นครั้งแรก รวมไปถึงการที่รัฐบาลพยายามสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในฮ่องกงยังคงทวีความรุนแรง ส่งผลให้นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า กรณีที่เกิดขึ้นบนเกาะฮ่องกงเป็นกรณีที่สุดโต่ง และสะท้อนให้เห็นว่าการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบฮ่องกงไม่ใช่หนทางที่ยั่งยืน

ขณะนี้ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งที่เผชิญภาวะรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ เริ่มตัดสินใจที่จะย้ายถิ่นฐานไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ โดยคาดหวังว่าจะได้เริ่มต้นชีวิตที่ดีกว่า

 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog