ไม่พบผลการค้นหา
 Biz Insight :  ชนชั้นกลางจีนกินบะหมี่กึ่งสำเร็จน้อยลง
 Biz Insight : หัวหน้ามักทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกผิดที่ลาพักร้อน 
Biz Insight :  แอมะซอนไม่ยอมแพ้ตลาดจีน แม้ยอดขายไม่เพิ่ม 
Biz Insight : แท็กซี่ญี่ปุ่นคิดช่วยผู้โดยสารประหยัดค่าเดินทาง
Biz Insight : เปิดบริการ 'ยิ้มเพื่อจ่ายเงิน' ที่เคเอฟซีจีน
Biz Insight  ฝังไมโครชิพในตัวพนักงาน ช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น
Biz Insight : ควรทำอย่างไรเมื่อจ้างงานคนเหยียดผิว?
 Biz Insight :ไทยได้อะไรในทริปประยุทธ์พบทรัมป์?
Biz Insight  :  'Influencer' กลุ่มอิทธิพลใหม่บนโลกโฆษณา 
Biz Insight : ตลาดกล้องมิลเลอร์เลสโตต่อเนื่อง
Biz Insight : ท่องเที่ยวไทยจะช่วยเศรษฐกิจได้ถึงเมื่อไหร่? 
Biz Insight : ธุรกิจขายของแบบรายเดือนกำลังเติบโต
Biz Insight  : บริษัทญี่ปุ่นตีตลาดเพื่อผู้สูงอายุในไทย
 Biz Insight : ไอโฟน 10 สะท้อนแอปเปิลเลิกเจาะตลาดแมส
 Biz Insight : หุ่นยนต์จะทำให้ชนชั้นกลางหายไป 
Biz Feed - สถานทูตสหรัฐฯฉลองวันชาติ สานสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ 200 ปี - FULL EP.
Biz Insight : จับตา 2 เมกะโปรเจ็คจีน ทางสายไหมใหม่-พลิกโฉมปักกิ่ง 
Biz Insight : จีนชิงบัลลังก์ผู้นำด้านพลังงานทดแทน 
Biz Feed - Biz Insight : มูลค่า 'อาลีบาบา' สูงกว่าศก. 136 ประเทศรวมกัน - SHORT CLIP
Biz Insight : UN ชี้ นโยบายรัดเข็มขัดทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ 
 Biz Insight จีนพัฒนาเทคโนโลยีรหัสลับต้านแฮ็กเกอร์
Jul 26, 2017 13:05

เมื่อภัยคุกคามจากแฮ็กเกอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น จีนจึงเตรียมเทคโนโลยีป้องกันข้อมูลลับใหม่ที่ไม่สามารถแฮ็กได้หรือแฮ็กได้ยากขึ้น โดยหากมีการแฮ็กเกิดขึ้น ก็จะสามารถตรวจจับได้ในทันที

จีนกลายเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเข้ารหัสลับควอนทัม ซึ่งแตกต่างจากการไขรหัสลับแบบดั้งเดิม โดยการเริ่มต้นโครงการนำร่องในเมืองจี่หนาน มณฑลซานตง ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนำร่องของจี่หนาน ซึ่งมีผู้ใช้ราว 200 คน จากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น รัฐบาล ทหาร ภาคการเงิน หรือการไฟฟ้า จะสามารถส่งข้อความได้อย่างปลอดภัย ดดยวางใจได้ว่ามีแต่พวกเขาที่อ่านข้อความดังกล่าวออก

การที่จีนผลักดันให้มีเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ารหัสควอนทัม หมายถึงก้าวย่างสู่การพัฒนาแอพพลิเคชันที่อาจจะทำให้อินเตอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากขึ้น และนี่อาจเป็นแอพพลิเคชันที่ประเทศอื่นๆรวมถึงสหรัฐฯและยุโรปจะซื้อจากจีนในอนาคต
การไขรหัสลับแบบดั้งเดิม คีย์เวิร์ดสำหรับไขรหัสจะถูกซ่อนไว้ใต้คำถามคณิตศาสตร์ระดับสูงที่สลับซับซ้อน ซึ่งหมายถึงต้องมีทักษะคิดไวโดยพึ่งคอมพิวเตอร์ศักยภาพสูงในการคำนวณ ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้คอมพิวเตอร์ศักยภาพสูงขึ้นทุกวัน และไม่ใช่ของแพงอีกต่อไป การไขรหัสลับจึงทำได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆตามวันเวลาที่ผ่านไป ซึ่งแตกต่างกันกับเทคโนโลยีควอนทัมในการรักษาความปลอดภัยของข้อความ ที่แยกคำไขรหัสส่งไปต่างหากโดยฝังไว้ในอนุภาคแสง เมื่อผู้รับได้คำไขรหัสแล้ว ข้อความที่เข้ารหัสจึงจะส่งตามไป

ประโยชน์ของควอนทัมคือ หากแฮ็กเกอร์พยายามจะแฮ็กข้อความ จะต้องทำลายอนุภาคแสงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้คำไขถูกเปลี่ยนแปลงหรือเสียไปทันที หมายความว่าเมื่อมีใครก็ตามที่พยายามเจาะข้อความ ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะสามารถรู้ได้ทันที เป็นที่มาของการขนานนามระบบเข้ารหัสนี้ว่า "ระบบที่ไม่สามารถแฮ็กได้"

การวิจัยควอนทัมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีมานานแล้วในยุโรปและอเมริกา เพียงแต่ไม่มีการพัฒนาต่อยอดมาใช้จริงในเชิงธุรกิจ ศาสตราจารย์อันตวน ไซลิงเงอร์ นักฟิสิกส์ควอนทัมจากมหาวิทยาลัยเวียนนา ออสเตรีย ยืนยันว่ายุโรปมีความพร้อมที่จะทำระบบแบบนี้ได้นานแล้ว แต่ไม่ยอมลงทุน ทำให้ปัจจุบันยุโรปกำลังตามหลังจีน และจะไม่สามารถต่อกรกับจีนได้ในอนาคต เขายังเสริมอีกว่าเขาพยายามเสนอให้สหภาพยุโรปเพิ่มงบให้กับโปรเจคเทคโนโลยีควอนทัมตั้งแต่ปี 2004 แต่ไม่สำเร็จ

ปัญหาในการพัฒนาแอพพลิเคชันที่ใช้การเข้ารหัสควอนทัมคือต้องใช้ทรัพยากรและงบประมาณค่อนข้างสูง และหากยังไม่มีฐานตลาดชัดเจน ก็เป็นเรื่องยากที่จะมีนักลงทุนหรือรัฐบาลคอยส่งเสริม ยกเว้นรัฐบาลที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนานวัตกรรมไอทีอย่างจีน และทั่วโลกต่างยอมรับว่าเมื่อจีนตั้งใจจะพัฒนาอะไรแล้ว ศักยภาพในการลงทุนย่อมถือว่าสูงที่สุดในโลก เป็นรองเพียงเม็ดเงินการลงทุนด้านเทคโนโลยีทางทหารของสหรัฐฯเท่านั้น


ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดวันการสื่อสารโดยใช้ควอนทัมจะเป็นเทคโลยีแทนที่การเข้ารหัสลับแบบดั้งเดิมหรือไม่อย่างไร แต่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจในโลกที่การคุกคามทางไซเบอร์สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่าสงครามที่เกิดขึ้นจากอาวุธ เมื่อบริษัทจีนเริ่มขายเทคโนโลยีนี้ เชื่อว่าธนาคารหลายแห่งคงจะเป็นลูกค้าเจ้าแรกๆที่ใช้บริการ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog