รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 23 กันยายน 2555
รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่แค่รถไฟที่วิ่ง แต่เป็นอนาคตของประเทศ...
บทสัมภาษณ์ นายชัชชาติ สุทธิพันธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
รายการ Intelligence วันที่ 29 เมษายน 2555
รถไฟไทยเริ่มมีใช้ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2430ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ประเทศไทยเรามีรถไฟใช้มากว่า 120ปีแล้ว แต่ด้วยเอกลักษณ์หลักของรถไฟไทยที่ยังคงวิ่งช้า เฉลี่ยแล้ว 45 กม./ชม. เสียเวลา ไม่สะอาดถูกหลักอนามัยเท่าที่ควร นั่นจึงทำให้รถไฟไทยพัฒนาไม่ทันเหมือนในประเทศญี่ปุ่น จีน ฝรั่งเศสและในอีกหลายๆ ประเทศที่ได้พัฒนารถไฟให้กลายเป็นรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว
ในประเทศญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่ใช้รถไฟความเร็วสูง ที่เรารู้จักกันในชื่อของโนโซมิ ชินคันเซ็น วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 275 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 442 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และนอกจากประเทศญี่ปุ่นจะมีรถไฟความเร็วสูงใช้แล้ว ในพื้นที่ที่เป็นเขตเมืองและชานเมืองของประเทศญี่ปุ่น เช่น โอซากา ฮิโรชิมา โตเกียว ต่างก็มีระบบการขนส่งมวลชนที่ใช้รถไฟเป็นหลัก ทั้ง บนดินใต้ดิน และลอยฟ้า ไว้คอยบริการประชาชน และการบริการเหล่านี้ บริหารงานโดยบริษัทเอกชน รู้จักกันในชื่อรถไฟ JR ซึ่งย่อจาก Japanese Railway เมื่อญี่ปุ่นใช้ระบบขนส่งมวลชนที่เป็นรถไฟเป็นหลักจึงก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน นำความเจริญลดความเหลื่อมล้ำของคนในชุมชน เกิดรายได้ และก็นำไปพัฒนาให้เกิดความเจริญของชุมชน เกิดมูลค่ามากยิ่งขึ้น
และในที่สุดความฝันของคนไทยทั้งประเทศกำลังจะเป็นจริงเมื่อ โครงการรถไฟความเร็วสูงที่เคยเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2547 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ต้องการให้โครงการนี้เกิดขึ้น โดยหวังผลถึงการเชื่อมโยงการขนส่งด้วยระบบรางที่ได้มาตรฐาน ในลักษณะของการเชื่อมเส้นทางคมนาคมในภูมิภาคเข้าด้วยกัน โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ได้กลับมาอีกครั้งหลังการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ได้นำไปสู่การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในโครงการจัดทำรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เมื่อเดือนธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา นั่นเท่ากับว่า ในปี2556โครงการรถไฟความเร็วสูงเฟสแรกจะเริ่มก่อสร้างขึ้น และถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาด คาดว่าประชาชนคนไทยจะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงในปี2560 อนาคตอันสว่างไสวคงอยู่อีกไม่ไกล