เหตุใดนายทุนไทยจึงเปลี่ยนจุดยืนต่อประชาธิปไตย?
ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา เราจะพบว่า นายทุนไทยเปลี่ยนจุดยืนทางการเมือง จากที่เคยสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตยในช่วงปี 2535-2540 กลับมาหันหลังให้ประชาธิปไตยตั้งแต่ช่วงประมาณปี 2544 เป็นต้นมา
อีวา เบลลิน เคยกล่าวว่า ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยแบบมีเงื่อนไข เพราะพวกเขาเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของตนเองแบบถาวร”
"Capitalists are contingent democrats for the very reason that they are consistent defenders of their material interests" เบลลิน, 2543
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ชนชั้นนายทุนในประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้สนับสนุนระบอบประชาธิปไตยเสมอไป แต่จะผลักดันให้เกิดการพัฒนาประชาธิปไตยก็ต่อเมื่อการพัฒนานั้นส่งผลดีต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน
ทำไม 2535-2540 นายทุนไทยเรียกร้อง ปชต.
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาคม 2535 นายทุนขนาดใหญ่ก็ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประชาธิปไตย ทั้งการออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองครั้งแรกโดยสมาคมธุรกิจ 3 สมาคมหลัก ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย (BMS) เพื่อสนับสนุนให้ระบอบประชาธิปไตยในไทยมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักของการเคลื่อนไหวดังกล่าวมาจากการที่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
หลังปี 2544 กลับ ต่อต้านปชต.
นายทุนไทยสนับสนุน ปชต. แบบมีเงื่อนไข คือสนับสนุนก็ต่อเมื่อตัวเองได้ผลประโยชน์แต่ รธน. 2540 และการเมืองไทยหลังจากนั้น สร้างปชต. แบบมีส่วนร่วม และ ชนชั้นกลางล่างและชนชั้นล่าง มีอำนาจทางการเมืองมากขึ้น ในทางกลับกัน ก็ทำให้ชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นคนส่วนน้อยของประเทศ มีอำนาจและอิทธิพลในการกำหนดนโยบายต่างๆ ของประเทศลดลง จากการที่นักการเมืองต้องมีความรับผิดรับชอบต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ ท้ายที่สุด พัฒนาการของประชาธิปไตยจะนำไปสู่การ “กระจาย” ผลประโยชน์ แทนที่จะเป็นการ “รวบ” ผลประโยชน์ของนายทุน
Source:
https://www.the101.world/thoughts/thai-capitalist/