การตรวจจับ “คำผิด-ไวยากรณ์ผิด” กลายเป็นสิ่งสะเทือนใจระดับศีลธรรม
พวกตั้งตัวเป็นตำรวจตรวจจับคำผิด ตัวสะกด ไวยากรณ์ บ่อยครั้งแค่อยากแสดงให้โลกรู้ว่า ฉันเหนือกว่าใคร เก่งกว่าใคร การศึกษาดีกว่าใคร ทั้งหมดนี้ บางทีเป็นแค่การแสดง
แต่อีกด้านหนึ่งมันก็แสดงให้เห็นว่าคุณน่าสงสาร รอบๆตัวไม่มีคนรักคนสนใจหรืออย่างไร? ถึงต้องเรียกร้องความรัก ความสนใจ คำชม คำสรรเสริญจากใครไม่รู้ในโลกโซเชียล
มนุษย์ที่ชอบใช้ภาษาเป๊ะเวอร์วังอลังการ ใช้ถ้อยคำวิจิตรพิศวง อาจจะเป็นแสดงตัวว่า ฉันมาจากชนชั้นที่ได้รับการศึกษามาดี แต่อย่าลืมว่า การแสดงความเมตตา ความเอาใจใส่ต่อความรู้สึกของคนอื่น การไม่อวดตัว ก็เป็นมารยาทางสังคมที่บอกว่าคุณได้รับการอบรมมาอย่างไร ด้วยเช่นกัน
การแก้ไขคำผิดหรือไวยากรณ์ เป็นเรื่องที่ดี เพราะไวยากรณ์ผิดอาจสื่อความหมายผิด ซึ่งเราสามารถส่งข้อความไปหาบรรณาธิการ หรือเขียนอีเมลไปแจ้งได้ แต่การป่าวประกาศไปในคอมเม้นท์สาธารณะ บางทีมันทำให้โฟกัสของบทความที่ควรจะอยู่ที่บทความถูกดึงกลับมาหา “ตำรวจไวยากรณ์”
พูดง่ายๆ คือ คุณกำลังดึงความสนใจจากตัวบทความมาไว้ที่ตัวคุณเอง และลึกๆ คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่า คุณมีความสุข เพราะทั้งหมดที่ทำไป คือ แค่อยากให้โลกรู้ว่า ฉันเก่ง ฉันเป๊ะ ฉันฉลาด คนเขาจะคุยกันเรื่องอะไรไม่รู้ ฉันอยากให้โลกรู้ว่า ฉันเก่งภาษาขั้นเทพ
Source
https://qz.com/1045292/policing-peoples-grammar-online-is-never-really-about-grammar/