การให้เงินจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ แต่เมื่อไหร่ที่เงินหมดก็ต้องมีปัญหาอีก"
อาจารย์บุญเลิศ วิเศษปรีชา นักวิชาการและอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของงานวิจัยคนไร้บ้านในไทย ให้สัมภาษณ์ GM Live ตั้งข้อสังเกต 3 ประการเกี่ยวกับ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" ช่วยเหลือคนมีรายได้น้อย
ตั้งข้อสังเกตนโยบายนี้ 3 ข้อ
1. รูปแบบของโครงการง่ายต่อการบริหารจัดการ แต่อีกด้านก็สะท้อนความไม่เข้าใจบริบท "คนจน" การทำเพื่อช่วยแบบระบุกลุ่มเฉพาะจะทำให้ภาพเป้าหมายเบลอมากกว่าเดิม คนที่ต้องการความช่วยเหลือจริง ๆ อาจเข้าไม่ถึงกรอบสวัสดิการนี้
2. กระบวนการตรวจสอบรายได้ที่ดียังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแยกแยะกลุ่มเป้าหมายเพื่อช่วยคนที่ควรช่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องยอมรับว่าความยากของการให้สวัสดิการคือการให้สำหรับกลุ่มในภาคไม่เป็นทางการจะตรวจสอบ
3. เมื่อพิจารณาเงื่อนไขการใช้ค่าเดินทางแยกออกมา สำหรับคนรายได้น้อยจริง ๆ มีจำนวนน้อยมากที่พักอาศัยใกล้จุดรถไฟฟ้า คนจนในกรุงเทพ ส่วนใหญ่บ้านอยู่ชานเมือง เพราะค่าที่อยู่อาศัยราคาถูก เมื่อเดินทางก็ต้องต่อรถสองแถว คำถามคือ แล้ว e-ticket ใช้ได้ตรงไหนบ้าง ชีวิตคนรายได้น้อยไม่ได้เดินทางจบได้ที่รถไฟฟ้าอย่างเดียว เช่นเดียวกับชีวิตของคนต่างจังหวัด การให้เงินค่าโดยสาร บขส. ค่ารถไฟ คนจนในชนบทที่รับจ้างทำงานใกล้บ้านแทบจะไม่ได้ใช้ประโยชน์ จากตรงนี้จะเห็นได้ว่าแพคเกจของนโยบายไม่สอดคล้องกับความหลากหลายของชีวิตคนจน
อ.บุญเลิศ กล่าวเสริมว่า จากประสบการณ์ที่สัมผัสคนที่ต้องการยกระดับชีวิต การช่วยเหลือด้วยเงินไม่ตอบโจทย์ระยะยาว บางคนอาจต้องการทุนสำหรับตั้งตัว หรือต้องการคุณภาพชีวิตในมิติอื่นที่หลากหลายมากกว่า นโยบายจำเป็นต้องผ่านการออกแบบให้ตอบสนองอย่างหลากหลาย ตัวอย่างเบื้องต้นคือคนที่ไม่มีบัตรประชาชนก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องการความช่วยเหลือบางกลุ่มไม่สามารถเข้าถึงบัตรประชาชนได้ตามที่ยกตัวอย่างข้างต้น
"แม้ว่าในเบื้องต้น การให้เงินจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ แต่เมื่อไหร่ที่เงินหมดก็ต้องมีปัญหาอีก" อ.บุญเลิศ กล่าวทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Source:
http://www.gmlive.com/can-money-welfare-aid-poor-in-Thailand