ไม่พบผลการค้นหา
Day Break - เปิดกรุแหล่งเรียนรู้ด้านจีนที่สุดในไทย - Short Clip
Day Break - มาแล้ว! นักกีฬาอีสปอร์ตไทยลุยซีเกมส์คนแรก - Short clip
Day Break - สเปรย์ฝีมือคนไทย ยืดอายุดอกไม้ฉ่ำนาน 14 วัน - Short Clip
Day Break - นวัตกรรมถนอมอาหารแนวใหม่ เก็บโภชนาการครบถ้วน - Short clip
Day Break - มหิดลเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ - Short Clip
Day Break - พาชมแหล่งเรียนรู้ด้าน 'จีน' ที่สุดในไทย - FULL EP.
Day Break - 'คาเฟ่ยิ้มสู้' กับการสั่งกาแฟที่เงียบที่สุด - Short Clip
Day Break - พบผัก-ผลไม้ในห้าง มีสารตกค้างหนักกว่าตลาดสด - Short Clip
Day Break - 'วอลดอร์ฟ แอสโทเรีย' รร.หรูเครือฮิลตัล เปิดในไทยแล้ว - Short Clip
Day Break - 'Petsurance' ประกันภัย อุ่นใจคนรักสัตว์ - Short Clip
Day Break - สินค้าเกาหลียังคงได้รับความนิยมในไทย - Short Clip
Day Break - 'กระเบนราหู' หนังไทยเรื่องแรกที่คว้ารางวัลเทศกาลเวนิส - Short Clip
Day Break - ไฮไลท์เที่ยวสงกรานต์หลากสไตล์ - Short Clip
Day Break - ​'แชร์พื้นที่อาศัย' เทรนด์ฮอตในซิลิคอนแวลลีย์ - Short clip
Day Break - 'ทรู' เปิดออฟฟิศดิจิทัลใหญ่สุดในอาเซียน - Short Clip
Day Break - สมาคมฯ พร้อมจัดแข่งอีสปอร์ตระดับประเทศ - Short clip
Day Break - ผู้ป่วยมะเร็งปอดมีหวัง พบสารยับยั้งเซลล์ร้ายจากกัญชา - Short Clip
Day Break - ป้ายรถเมล์อัจฉริยะ เป่าไล่ PM2.5 แบบอัตโนมัติ - Short Clip
Day Break - ความงามและความน่าเกลียด สุนทรียศิลป์แห่งมารศี - Short Clip
Day Break - เลือกกระเช้าปีใหม่ ให้ปลอดภัยได้สุขภาพ - Short Clip
Day Break - 'TidTam' อุปกรณ์ติดตาม รองรับสังคมสูงวัย - Short Clip
Mar 23, 2019 01:12

มีความตื่นตัวกันอย่างต่อเนื่องสำหรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดตัวนวัตกรรมคัดกรองอาการโรคที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้สูงวัย เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของผู้ดูแล

สี่เหลี่ยมสีขาว และมีจุดสีแดง ที่มาพร้อมกับสายรัด คล้ายกับนาฬิกาที่คุณผู้ชมกำลังเห็นอยู่นี้ มีชื่อว่า "ติดตาม" 

เป็นอุปกรณ์สวมใส่ที่ข้อมือหรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สามารถคัดกรองอาการของผู้ป่วยอัลไซเมอร์และพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้สูงอายุ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของผลงาน กล่าวว่า เจ้า "ติดตาม" มาพร้อมกับอัลกอริทึ่มที่สามารถตรวจการจับการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการหกล้ม รวมถึงอาการสั่นเกร็งของกล้ามเนื้อ ที่มีลักษณะบ่งชี้ของโรคพาร์กินสัน หากผู้สวมใส่มีอาการดังกล่าว ระบบจะแจ้งเตือนไปยังแอปพลิเคชั่นที่ติดตั้งบนสมาร์ทโฟนของผู้ดูแลทันที  

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถระบุตำแหน่งได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยออกจากนอกบริเวณ และเกิดอาการหลงลืม ไม่สามารถเดินทางกลับเองได้  

นอกจากนี้ "ติดตาม" ยังมาพร้อมกับปุ่ม SOS ที่ผู้สวมใส่สามารถกดขอความช่วยเหลือ ในขณะที่ยังรู้สึกได้อีกด้วย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร กล่าวอีกว่า งานวิจัยดังกล่าว อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อนำอุปกรณ์ไปใช้กับผู้สูงอายุในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยหวังว่าให้ผู้สูงวัยมีการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดี นอกจากนี้ ยังมีโปรเจ็กต์ก้าวหน้า คิดค้นอุปกรณ์ที่ช่วยแพทย์วินิจฉัยอาการทางสายตาอย่าง โรคต้อหิน ซึ่งจะทำให้แพทย์ลดขั้นตอนในการตรวจ หรือหากลุ่มเสี่ยงโรคดังกล่าวได้ง่ายขึ้น  

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog