ไม่พบผลการค้นหา
มองโลก มองไทย - อินโดนีเซีย บริโภคทุเรียนมากที่สุดในโลก - Short Clip
มองโลก มองไทย - ค่าไฟแพง เพราะรัฐสำรองไฟฟ้ามากเกินไป - FULL EP.
มองโลก มองไทย - สถานการณ์คนจนทั่วโลก ทำไมคนจนไทยเพิ่มขึ้น - FULL EP.
มองโลก มองไทย - เศรษฐกิจตกต่ำ เด็กยากจนยิ่งลำบากมากขึ้น - FULL EP.
มองโลก มองไทย - "IMD" ยก กทม.ขึ้นแท่น มหานคร ระบบราง ยาวอันดับ 3 โลก - Short Clip
มองโลก มองไทย - ราคาข้าวจ่อแพงขึ้นอีก ถึงเวลาเกษตรกรไทยลืมตาอ้าปาก?  - FULL EP.
มองโลก มองไทย - ค้าบริการทางเพศถูกกฎหมาย ขัดวิถีเมืองพุทธ-ประเพณีดีงาม? - FULL EP.
มองโลก มองไทย - ปัญหาเศรษฐกิจ-การเมือง จุดกระแสชุมนุมประท้วงทั่วโลก - FULL EP.
มองโลก มองไทย - การศึกษาหลังโควิด นักเรียนแห่ออกนอกระบบ หวังโอกาสใหม่ในชีวิต  - FULL EP.
มองโลก มองไทย - 10 ปี ‘ความมั่งคั่งไทย’ ลด 10 อันดับ - FULL EP.
มองโลก มองไทย - เศรษฐกิจโลกฟื้นแต่มีปัจจัยเสี่ยงจาก โอมิครอนและเงินเฟ้อ - FULL EP.
มองโลก มองไทย - เวียดนาม-ไทย ตั้งเป้าสู่ประเทศรายได้สูง - FULL EP.
มองโลก มองไทย - ถนนไทยอันตรายอันดับต้นของโลก - FULL EP.
มองโลก มองไทย -  วิกฤติที่อยู่อาศัย ค่าเช่าพุ่ง ‘ไทย’ ไร้เจ้าภาพดูแล - FULL EP.
มองโลก มองไทย - รัฐบาลไทยทุ่มเงินสร้างรถไฟฟ้า ที่ค่าโดยสารแพงที่สุดในโลก - FULL EP.
มองโลก มองไทย - ไทยกับวิกฤติผันผวนพลังงาน และมาตรการช่วยเหลือที่ช้าเกินไป - FULL EP.
มองโลก มองไทย - ตื่นเถอะวัยรุ่น! ไปเลือกอนาคตของตัวเอง - FULL EP.
มองโลก มองไทย - อย่าลืมเขา! ชาวนาไทยยังจนคงที่-แบกหนี้บาน - FULL EP.
มองโลก มองไทย - ทั่วโลกใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้น ไทยแชมป์จับยาบ้าที่ 1 ของโลก - FULL EP.
มองโลก มองไทย - สุดยอด! ‘ไทย’ อัตราว่างงานต่ำที่สุดในโลก แต่ทำไมมีเงินไม่พอใช้? - FULL EP.
มองโลก มองไทย - ปัญหา “ถนน-ทางเท้า” ใน กทม. เมื่อ “รถ” สำคัญกว่า “คน” - FULL EP.
Feb 20, 2022 06:59

รายการ มองโลก มองไทย ประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2565

ปัญหาทางเท้าในกรุงเทพฯ เพราะ “รถ” สำคัญกว่า “คน”

เป็นเวลาหลายสิบปีที่เรามักได้ยินปัญหาทางเท้าใน กทม. ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาหาบเร่แผงลอยบนทางเท้า, รถจอดบนทางเท้า, รถจักรยานยนต์วิ่งบนทางเท้า, สิ่งกีดขวางบนทางเท้า ทั้ง ตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ไม่ได้ใช้แล้ว, ตู้ของหน่วยงานต่างๆ รวมถึง เสาไฟฟ้าและป้อมจราจรของตำรวจที่ทำให้คนไม้สะดวกในการใช้ทางเท้า

หากดูตามข้อกฎหมาย กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จะระบุไว้ในหมวดที่ 1 ข้อที่ 6 ว่า ทางเท้าต้องมีความกว้างข้างละไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร นอกจากนี้เกณฑ์และมาตรฐานผังเมืองรวม พ.ศ. 2549 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้กำหนดความกว้างของทางเท้าว่า หากเดินสวนกันต้องมีพื้นที่ฝั่งละ 0.75 เมตร หรือรวมแล้ว 1.50 เมตร เช่นกัน

จากข้อมูลของโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ของศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ที่ได้สำรวจสภาพแวดล้อมทางกายภาพของทางเท้าในพื้นที่ศึกษา 34 แห่งทั่วกรุงเทพฯ พบว่า ความกว้างเฉลี่ยของทางเท้าอยู่ที่ 1.03 เมตรเท่านั้น ขณะที่ตามตรอก ตามซอย คนต้องเดินเท้าบนถนนร่วมกับรถยนต์และจักรยานยนต์

ทางเท้าที่แคบ เต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง และสภาพทางเท้าที่ไม่เอื้อต่อการเดิน จึงไม่แปลกที่ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พ.ศ. 2557-2561 พบว่า คนเดินเท้าในกรุงเทพฯ ประสบอุบัติเหตุเฉลี่ยปีละ 821 ราย สาเหตุของอุบัติเหตุหลักๆ ได้แก่ พฤติกรรมผู้ขับขี่ โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ และสภาพถนนกับสิ่งแวดล้อม

ขณะที่ทางเท้ามีจำกัด แต่การสร้างถนนเพิ่มขึ้นทุกปี สถิติจากศูนย์ปฏิบัติการคมนาคม กระทรวงคมนาคม ระบุว่า กรุงเทพ ฯ ขยายถนนเพิ่มจากความยาว 2,000 กิโลเมตร ในปี พ.ศ.2559 เป็น 4,074 กิโลเมตร ในปีพ.ศ. 2562 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 1 เท่าตัว

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog