ไม่พบผลการค้นหา
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.เดวิด เสตร็คฟัส อดีตนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกียวโต
รัชทายาทองค์ล่าสุดของอังกฤษ-จอร์ช อเล็กซานเดอร์ หลุยส์ แห่งเคมบริดจ์
ฮีโร่ในสายตาจีนและเกาหลี ผู้ก่อการร้ายในสายตาญี่ปุ่น
สำนักพระราชวังญี่ปุ่นตำหนิ สส. ดึงจักรพรรดิสู่การเมือง
เปรียบเทียบระบบราชการไทยและญี่ปุ่น
สิ่งท้าทายของนโยบายต่างประเทศไทยในปี 2556 ตอนที่ 2
การปฏิรูปครั้งสำคัญของวาติกัน
ทูตจีนประจำไทยสนใจโครงการรถไฟความเร็วสูง
ความต่างการอุดหนุนภาคเกษตรไทยและต่างประเทศ
ญี่ปุ่นล๊อบบี้อาเซียน สกัดกั้นอิทธิพลทางทหารของจีน
'ยิ่งลักษณ์' ติดอันดับ 30 หญิงทรงอานุภาพที่สุดของโลก
วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
อินโดนีเซียยอมลงนามสนธิสัญญาหมอกควันอาเซียน
สหรัฐฯ แต่งตั้ง 'สตรีเหล็ก' ขึ้นดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคง
สื่อนอกชี้ ม็อบสุเทพคือม็อบต้านประชาธิปไตย
ประสบการณ์และบทเรียนค้าปลีกสมัยใหม่ของญี่ปุ่น
ยิ่งลักษณ์ทัวร์เอเชียใต้ จีนแกล้งลืมเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
สุลต่านบรูไนเข้มกฏหมายชะรีอะฮ์ ใช้อิสลามกำหนดจริยธรรมสังคม
ผบ.ทบ. พร้อมรับ "น้องแต้ว-พิมศิริ" รับราชการทหาร
ปัญหาในเกาหลีใต้ ที่ผู้นำหญิงคนแรกจะต้องเผชิญ
โครเอเชียเข้าร่วมอียู ฮ่องกงประท้วงจีน
Jul 6, 2013 09:18
รายการ Go Global ประจำวันที่ 6 กรกฎาคม 2556
 
 
ฮ่องกงระลึกถึงการเปลี่ยนผ่านอำนาจการปกครองจากอังกฤษมาสู่จีนเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคมครบ 16 ปี โดยมีการประท้วงของชาวฮ่องกงต่อความไม่พอใจที่มีต่อจีน ที่เรียกร้องให้ผู้ว่าการเมืองฮ่องกง นายเลิ่ง ชุน ยิง ลงจากตำแหน่ง เพราะมองว่าเป็นเพียง "หุ่นเชิด" ให้กับรัฐบาลที่ปักกิ่ง รวมถึงการเรียกร้องให้เปิดให้มีการเลือกตั้งในทุกระดับการบริหารของฮ่องกง (รวมถึงการเลือกตั้งผู้ว่าเมืองฮ่องกงแทนที่จะได้รับการแต่งตั้งจากปักกิ่ง) ความไม่พอใจนี้แสดงถึงช่องว่างที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างจีนและฮ่องกง และมุมมองที่ต่างกันต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่ชาวฮ่องกงต่างเรียกร้อง ในการสำรวจโพลล่าสุดพบว่า มีเพียงร้อยละ 33 ของชาวฮ่องกงเท่านั้นที่รู้สึกภูมิใจในความเป็นจีน ถือว่าเป็นจุดตกต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1998
 
 
โครเอเชียนับเป็นประเทศที่ 28 ที่เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา นับเป็นประเทศแรกในรอบ 6 ปีที่มีการรับสมาชิกเพิ่ม ในโอกาสนี้ ได้มีการวิเคราะห์ถึงข้อดี/ข้อเสียของการเข้าเป็นสมาชิกของอียู โดยส่วนใหญ่มองว่า สมาชิกภาพของอียูนำมาซึ่งเงินเจำนวนมหาศาลที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ อาทิ ในการประบปรุงโครงสร้างพื้นฐาน นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ การเพิ่มสูงขึ้นของมาตรฐานคุณภาพชีวิต และการไหลเวียนของผู้คน เงินทุน เทคโนโลยีอย่างเสรีมากขึ้น อย่างไรก็ดี ข้อเสียก็มีอยู่มากเช่นกัน อาทิ การเปิดเสรีทางการค้านำไปสู่การแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น สินค้าท้องถิ่นได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้าที่มีราคาถูกกว่ามาก เป็นต้น
 
 
สมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ทที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร จะได้รับเงินค่าใช้จ่ายมากขึ้นในปีนี้อีกร้อยละ 5 เป็นผลมาจากการบริหารอสังหาริมทรัพย์ของพระราชวังที่ได้กำไร ตามปกติ "ควีน" จะได้รับเงินปันผลจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนนี้ร้อยละ 15 ซึ่งเป็นส่วนที่รัฐบาล "อนุมัติ" ให้ควีนนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว โดยรวม ราชวงศ์อังกฤษได้รับเงินจากรัฐบาลปีละ 55 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึงมักเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มต่อต้านสถาบันในอังกฤษอย่างมากเกี่ยวกับการใช้เงินภาษีของประชาชนเพื่อรักษาสถานะอภิสิทธิ์ของราชวงศ์อังกฤษ สำหรับสำนักงานอสังหาริมทรัพย์ของราชวงศ์อังกฤษนั้น ได้รับการก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1760 ในรัชสมัยของกษัตริย์จอร์ชที่ 3 เพื่อเป็นหน่วยงานดูแลทรัพย์สินของราชวงศ์ในนามของรัฐบาล
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog