รายการ คิดเล่นเห็นต่าง กับ คำผกา ประจำวันที่ 28 กรกฎาคม 2556
ความลุ่มหลงวัฒนธรรมหรือคลั่งไคล้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นปุ่มมายาที่คนไทยจะต้องแหวกออกไปให้ได้ ญี่ปุ่นได้ประดิษฐ์สิ่งของขายไปทั่วโลก ประเทศไทยเองมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ควรส่งเสริมนำไปขายเพื่อเป็นรายได้ของประเทศ เช่น ใบเตย อาร์สยาม ที่กำลังโด่งดังควรจะทำสติกเกอร์ ตัวการ์ตูนน่ารักๆ หรือเป็นฟร้อนท์ภาษาอังกฤษ ที่มีลูกเล่นน่ารักนำออกขาย หรือแม้แต่ในช่วงของ จา พนม มาแรงใน"ต้มยำกุ้ง" ก็ควรรีบทำกุญแจ การ์ตูน นำออกขายในประเทศต่างๆ รวมไปถึงหน้ากากหนุมาน ที่อาจ Modified ลดรูป ทำอนิเมะ ส่งไปขายได้
การที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากการขาย softwareจากเกม โดยการสร้างคาแรคเตอร์การ์ตูนขึ้นมา จากนั้นก็ผลิตสินค้าออกขาย สร้างรายได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากญี่ปุ่นมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการส่งออก ซึ่งคณะกรรมการจะมาจากหลากหลายอาชีพมาร่วมทำงานด้วย รวมทั้ง Creativeและมีการวางแผนในแต่ละเฟสว่าจะทำอะไรบ้าง ซึ่งปีหนึ่งจะมี 3 เฟส ดังนั้น creative industry จะสอนบทเรียนอะไรในประเทศไทยบ้าง
แผนยุทธศาสตร์ Cool Japan มีหัวใจสำคัญ คือการสร้างวัฒนธรรม New Japan ที่ย้อนกลับไปหารากเหง้าของชีวิตแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมที่รักษาธรรมชาติ พลังงาน เพื่อต่อยอดสู่ความสร้างสรรค์ และสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SME) รวมถึง "คนรุ่นใหม่ที่อยากเติบโตในตลาดโลก" เป็นผู้ผลักดันนโยบายนี้
Sanrio เป็นบริษัทหนึ่งที่ประสบความสำเร็จที่ผลิตสินค้าสร้างสรรค์ อนิเมะ ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ซานริโอคือ Hello Kitty, Deery-lou,Chococat หรือ Little twin star และสินค้าไทยเองโด่งดังในญี่ปุ่นโดยไม่รู้ตัว แก้วน้ำลายสตรอเบอรี่ (Strawberry Delights)ของโอเซียนกลาส ที่ได้แรงขับดันจากหนัง"นานะ"ส่งผลให้ยอดขายสูงถึง 21 ล้านบาทภายใน 3 เดือน หรือตุ๊กตาปกป้อง ซึ่งเป็น SMEในเมืองไทยทางญี่ปุ่นก็มีการดัดแปลงไปแขวนกับคิตตี้ ทำให้คนที่คลั่งไคล้ ต้องหันมาซื้อตุ๊กตาปกป้องไปด้วย