ไม่พบผลการค้นหา
Day Break - หวัดใหญ่-หัด-เลือดออก 3 โรคระวังปี 62 - Short Clip
Day Break - 5 ทักษะที่ต้องมีภายในปี 2565 - Short Clip
World Trend - WHO ชี้ 'ติดเกม' เป็นอาการป่วยทางจิต - Short Clip
Day Break - 8 เทคนิคสูงวัยกินอาหารปลอดภัย - Short Clip
Day Break - สัปดาห์ลดการบริโภคเค็มโลก - Short clip
Day Break - เมื่อ 'โรคอ้วน' ไม่ได้เกิดจากตัวบุคคลเสมอไป - Short Clip
Day Break - เปิด 'ไอคอนสยาม' เมืองแห่งการใช้ชีวิต - Short Clip
Day Break - NetCare ตัวช่วยของพ่อแม่ ดูแลหน้าจอลูก - Short Clip
Day Break - ยางรถ-หนังสือ-OTOP ลดภาษีชอปช่วยชาติ - Short Clip
World Trend - ​WHO จัด 'ภาวะหมดไฟ' เป็นอาการป่วย - Short Clip
Day Break - 20 ส.ค. ดีเดย์สูบบุหรี่กระทบคนในบ้านผิดกม. - Short Clip
Day Break - เผยผลสำรวจน้ำตาลในชานมไข่มุก 25 ยี่ห้อในไทย - Short Clip
Day Break - บีทีเอสวิ่งข้ามปี-ทางด่วนใช้ฟรี ช่วงปีใหม่ - Short Clip
Day Break - 'วัดโพธิ์' ติดอันดับ 17 แหล่งท่องเที่ยวโลก - Short Clip
Day Break - ดีแทคสร้างแพลตฟอร์มมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ลดปัญหามลพิษ - Short Clip
Day Break - แพทย์จุฬาฯ ต่อยอดวิจัยยาต้านมะเร็ง - Short Clip
Day Break - ปั่นต้านมะเร็งเต้านม - Short Clip
Day Break - ตลาดทวิตเตอร์ไทยเติบโตเร็วสุดในโลก - Short clip
Day Break - Depa เตรียมชงขยายลดหย่อนภาษี 200% อีก 3 ปี - Short Clip
Day Break - พลาดไม่ได้ ! แสตมป์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก - Short Clip
Day Break - " ติดเกม - เมื่อยล้าหมดไฟ " โรคใหม่ 2022 - Short clip
Jun 1, 2019 02:28

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก กำหนดโรคใหม่ขึ้นมา 2 โรค บรรจุลงในคู่มือการวินิจฉัยโรคของแพทย์ นั่นคือโรคติดเกมและโรคเมื่อยล้าหมดไฟ ทั้ง 2 โรคนี้จะเริ่มมีการวินิจฉัยอย่างจริงจังในอีก 3 ปีข้างหน้า

ที่ประชุมองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เมืองเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการพิจารณาโรคใหม่ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้

เรามาเริ่มกันที่ การลงมติเอกฉันท์ให้พฤติกรรมติดการเล่นเกมเป็นอาการป่วยทางจิตชนิดหนึ่ง แต่ก่อนจะชี้ว่าใครมีอาการป่วย องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความว่า การติดเกมที่เข้าข่ายอาการป่วยทางจิต คือผู้ที่มีพฤติกรรมเล่นเกมต่อเนื่องยาวนาน จนการเล่นเกมมีความสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นๆ ที่มีประโยชน์ในชีวิต  และไม่สามารถหยุดเล่นเกมได้ แม้ว่าจะก่อให้เกิดผลเสียในชีวิต   

พร้อมยกตัวอย่างงานวิจัยที่พบผู้เล่นเกมหลายคนที่เล่นเกมมากถึง 20 ชั่วโมงต่อวัน จนละทิ้งการพักผ่อน กินอาหาร เรียน ทำงาน และกิจวัตรอย่างอื่นในชีวิต ซึ่งถือว่าเข้าข่ายอาการป่วยทางจิตและต้องได้รับการรักษา

มตินี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า และหลังจากนี้ จะมีการศึกษาวิธีการบำบัดและวิธีการรักษาผู้ที่มีอาการติดเกม รวมทั้งมาตรการป้องกันออกมาควบคู่กันไปด้วย

โรคที่ 2 ที่องค์การอนามัยโลกระบุในคู่มือวินิจฉัยโรคระหว่างประเทศ ว่าต้องทำการรักษา คือ ‘ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟ’ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน จนเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้น   กำหนดเป็นสภาวะที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์เป็นครั้งแรก 

ลักษณะอาการที่เข้าข่ายมีภาวะเมื่อยล้าหมดไฟ ต้องเป็นไปตามนี้ค่ะ 1.รู้สึกหมดไฟ เหนื่อยล้า พลังชีวิตหดหาย 2. มีความรู้สึกไม่อยากทำงาน ต้องการมีระยะห่างหรือมีทัศนคติเชิงลบต่องานที่เกี่ยวข้อง และ 3. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

ในขณะเดียวกันที่ประชุมองค์การอนามัยโลก ก็มีข่าวดีให้กับกลุ่ม LGBT ทั่วโลก เพราะที่ประชุมมีมติให้ถอดภาวะข้ามเพศออกจากกลุ่มบัญชีโรคความผิดปกติทางจิตนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ทำให้กลุ่มคนข้ามเพศไม่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิต ถือเป็นการปรับปรุงกลุ่มบัญชีโรคความผิดปกติทางจิตครั้งแรกในรอบ 29 ปีขององค์การอนามัยโลก   

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog