ไม่พบผลการค้นหา
สุลต่านบรูไนเข้มกฏหมายชะรีอะฮ์ ใช้อิสลามกำหนดจริยธรรมสังคม
'โอบามา' ปฏิเสธ เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนอาทิตย์นี้
ความต่างการอุดหนุนภาคเกษตรไทยและต่างประเทศ
ญี่ปุ่นล๊อบบี้อาเซียน สกัดกั้นอิทธิพลทางทหารของจีน
ประสบการณ์และบทเรียนค้าปลีกสมัยใหม่ของญี่ปุ่น
สำรวจเกาะซัคคาลิน กระชับสัมพันธ์ญี่ปุ่น-รัสเซีย
'ยิ่งลักษณ์' ติดอันดับ 30 หญิงทรงอานุภาพที่สุดของโลก
นิรโทษกรรมไทยดังลั่นทั่วโลก
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.เดวิด เสตร็คฟัส อดีตนักวิจัย มหาวิทยาลัยเกียวโต
อินโดนีเซียยอมลงนามสนธิสัญญาหมอกควันอาเซียน
เปรียบเทียบระบบราชการไทยและญี่ปุ่น
สหรัฐฯ แต่งตั้ง 'สตรีเหล็ก' ขึ้นดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคง
บอกลานายเนลสัน แมนเดล่า.....
การปฏิรูปครั้งสำคัญของวาติกัน
ยิ่งลักษณ์ทัวร์เอเชียใต้ จีนแกล้งลืมเหตุการณ์เทียนอันเหมิน
ปัญหาในเกาหลีใต้ ที่ผู้นำหญิงคนแรกจะต้องเผชิญ
ฮีโร่ในสายตาจีนและเกาหลี ผู้ก่อการร้ายในสายตาญี่ปุ่น
โครเอเชียเข้าร่วมอียู ฮ่องกงประท้วงจีน
สำนักพระราชวังญี่ปุ่นตำหนิ สส. ดึงจักรพรรดิสู่การเมือง
ทูตจีนประจำไทยสนใจโครงการรถไฟความเร็วสูง
วิเคราะห์นโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกา
Sep 21, 2013 08:53
รายการ Go Global ประจำวันที่ 21 กันยายน 2556
 
 
นับตั้งแต่ที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ นั้น ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงในนโยบายต่างประเทศอย่างเห็นได้ชัด จุดสำคัญอยู่ที่การรักษาความมั่นคงแห่งชาติ ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของชาวอเมริกัน และสร้างความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รัฐบาลได้วางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง โดยการชี้ให้เห็นถึงภัยที่มาจากการก่อการร้ายและมาจากรัฐที่เป็นศัตรูต่อประชาธิปไตย (เช่น อิหร่านและเกาหลีเหนือ) ในเรื่องภัยที่มาจากการก่อการร้ายนั้น พุ่งเป้าไปที่การกำจัดเครือข่ายของอัลเคดา โดยเฉพาะในอัฟกานิสถานและปากีสถาน ความสำเร็จปรากฏชัดเมื่อสหรัฐฯ สามารถ "จับตาย" นายโอซามา บิน ลาเดน แต่ก็ยังต้องจำนนต่อการคุกคาม เช่นที่เกิดกับสถานที่ทำการทางการทูตของของสหรัฐฯ ณ ลิเบีย เมื่อปีที่แล้ว ปัจจุบัน นโยบายสหรัฐฯ เน้นในประเด็น ดังนี้ 
 
 
1) การยุติของการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในอิรัก 
2) การยุติการสังหารหมู่และความรุนแรงทางการเมืองในลิเบีย 
3) การสกัดกั้นการเข้าถึงอาวุธนิวเคลียร์ของผู้ก่อการร้าย 
4) ส่งเสริมทสันติภาพในตะวันออกกลางและลิเบีย 
5) กระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตร 
6) รักษาผลประโยชน์หลักแห่งชาติ และ
7) ให้ความใส่ใจต่อประเด็นใหม่ๆ เช่น การอุ่นตัวของโลก
 
 
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเอเชียนั้น สหรัฐฯ ตระหนักถึงจุดแห่งความขัดแย้งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวโยงกับจีน การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนที่เป็นข้อพิพาท หรือกรณีเกาหลีเหนือ แต่นายโอบามาได้ประกาศที่จะกลับเข้ามามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในเอเชีย โดยได้ยอมเข้าร่วมการประชุมกับอาเซียนในกรอบ East Asia Summit (EAS) อย่างเป็นทางการ ส่วนหนึ่งเพราะต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเอเชีย อีกส่วนต้องการจะคานดุลอิทธิพลของจีน
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog