ในบรรดารัฐต่างๆ ที่มีอยู่ราวสองร้อยรัฐทั่วโลกในปัจจุบัน ต่างก็มีนโยบายเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนที่สรุปได้ออกมาเป็นสามกลุ่ม
กลุ่มแรกคือกลุ่มที่บังคับให้ประชาชนมีบัตรประจำตัว ตัวอย่างประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มนี้ได้แก่ เบลเยียม เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย บราซิล อาร์เจนตินา เปรู เกาหลีใต้ มาเลเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมไปถึงประเทศไทยด้วย
กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่มีการออกบัตรประจำตัว แต่ไม่บังคับว่าต้องมี ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ได้แก่ ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ สวีเดน สหรัฐอเมริกา แคนาดา เป็นต้น ลักษณะนโยบายของประเทศในกลุ่มนี้ก็คือ ประชาชนสามารถขอมีบัตรประจำตัวไว้แสดงตนได้ แต่ไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้เอกสารราชการรูปแบบอื่นแทนได้อยู่แล้ว เช่น ใบขับขี่ บัตรประกันสุขภาพ หรือหนังสือเดินทาง ซึ่งประชากรจำนวนมากในประเทศก็จะมีเอกสารอย่างน้อยหนึ่งรูปแบบ ทำให้ไม่จำเป็นต้องออกบัตรประจำตัวมาใช้แสดงตัวเป็นการเฉพาะอีก
กลุ่มที่สามคือกลุ่มที่ไม่มีการใช้บัตรประจำตัวเลย ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ได้แก่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เป็นต้น (ในกรณีของสหราชอาณาจักร เคยมีนโยบายที่จะมีบัตรประจำตัว แต่ก็ยกเลิกไป ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
Produced by VoiceTV