ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - มองประท้วงฮ่องกงผ่านสายตาของแรงงานฟิลิปปินส์ - Short Clip
The Toppick - นักกีฬาอีสปอร์ตมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ - Short Clip
The Toppick - อดีตผู้บริหารกูเกิลแนะ "เขียนเรซูเมอย่างไรไม่ให้พลาด" - Short Clip
The Toppick - 'เงินบาทแข็ง' กระทบการท่องเที่ยวไทย - Short Clip
The Toppick - โลกร้อนอาจทำให้คนกัมพูชาอดตาย - Short Clip
The Toppick - มาตรการแบนขวดพลาสติกในสนามบินได้ผลหรือไม่? - Short Clip
The Toppick - ผู้ประท้วงบราซิลชี้ 'ไฟป่าแอมะซอน' เป็นปัญหาการเมือง - Short Clip
The Toppick - ยูทูบยกเลิกประกาศ ริบตรารับรองยูทูบเบอร์หลังถูกประท้วง - Short Clip
The Toppick - รัสเซีย ส่งหุ่นยนต์รูปร่างมนุษย์ตัวแรกขึ้นสู่อวกาศ - Short Clip
The Toppick - ผู้นำบราซิลเมินความช่วยเหลือดับไฟป่าเพราะแนวคิดแบบทหาร - Short Clip
The Toppick - ESPRIT ยกเลิกสัญญาโรงงานในเมียนมา เหตุเกี่ยวข้องกองทัพ - Short Clip
The Toppick - แฟชั่นเสื้อผ้ารองเท้าหนัง ทำลายป่าแอมะซอน - Short Clip
The Toppick - โบลิเวียตั้งศูนย์ช่วยสัตว์ป่วยจากไฟป่าแอมะซอน - Short Clip
The Toppick - ก้าวต่อไป 'เอไอ' จะมาวินิจฉัยโรคให้คุณ! - Short Clip
The Toppick - อียูรับรอง 'สิทธิในการซ่อม' เครื่องใช้ไฟฟ้า - Short Clip
The Toppick - 'รบ.บราซิล' จ่อถูกตัดงบหลังแอมะซอนถูกทำลายหนัก - Short Clip
The Toppick - อินโดฯระบุพิกัดเมืองหลวงใหม่ กระจายความเจริญ-หนีเมืองจมน้ำ - Short Clip
The Toppick - ไทยเสี่ยงภัยไซเบอร์สูง แต่ไทยไม่ใช่เป้าโจมตีหลัก - Short Clip
The Toppick - ชาวจีนอยากประหยัด แม้รบ.กระตุ้นใช้จ่ายภายในประเทศ - Short Clip
The Toppick - ออสเตรเลีย เปิดโครงการเติมเต็มคำขอสุดท้ายให้ผู้ป่วยหนัก - Short Clip
The Toppick - ไฟป่าลุกลามแอมะซอน เราช่วยอะไรได้บ้าง? - Short Clip
Aug 27, 2019 00:58

ไฟป่าที่กำลังลุกลามในป่าแอมะซอนกลายเป็นวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ขณะเดียวกันก็ทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า คนที่อยู่ห่างไกลจากป่าแอมะซอนจะช่วยอะไรได้บ้าง

ป่าแอมะซอนเป็นป่าฝนเขตร้อนที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดใหญ่กว่า 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าพื้นที่ประเทศไทยกว่า 11 เท่า ดังนั้น ป่าแอมะซอนจึงสำคัญต่อ “สุขภาพ” ของทั้งโลก ต้นไม้ในป่าแอมะซอนผลิตออกซิเจนออกมาถึงร้อยละ 20 ของทั้งโลก และปล่อยไอน้ำขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมหาศาล ป่าแอมะซอนยังดูดก๊าซคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย

อย่างไรก็ตามไม่ได้มีแค่ป่าสำคัญอย่างป่าแอมะซอนเท่านั้นที่กำลังถูกคุกคาม องค์กร Rainforest Alliance ระบุว่า ที่ผ่านมา พื้นที่ป่าของโลกหายไปแล้วเกือบครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่มนุษย์เริ่มทำเกษตรกรรม และทุกปีก็มีป่าไม้ถูกทำลายเพิ่มขึ้นประมาณ 130,000 ตารางกิโลเมตร การขยายพื้นที่เกษตรกรรมเป็นสาเหตุหลักของการทำลายป่าฝนเขตร้อนทั่วโลก คิดเป็นร้อยละ 80 - 90 ของจำนวนพื้นที่ป่าที่หายไป โดยบราซิลมีทั้งการทำปศุสัตว์ การปลูกถั่ว และตัดไม้ขาย และมีการคาดการณ์ทางวิทยาศาสตร์ว่า หากเราทำลายป่าแอมะซอนมากกว่าร้อยละ 30 - 40 ป่าฝนเขตร้อนแห่งนี้จะเริ่มแห้งเหือด และจะผ่านจุดเปลี่ยนที่ไม่อาจย้อนกลับมาได้อีกแล้ว

เราจะช่วยรักษาพื้นที่ป่าอย่างไรบ้าง? "หาความรู้" -- ป่าแอมะซอนเปรียบเหมือนกับปอดของโลก มีพื้นที่คิดเป็น 1 ใน 3 ของป่าฝนที่ยังเหลืออยู่บนโลก แต่ป่าแอมะซอนกำลังจะหมดไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งเราเรียนรู้เกี่ยวกับวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นมากเท่าไหร่ เรายิ่งช่วยได้มากขึ้น

ไฟป่าเป็นผลกระทบโดยตรงจากการทำลายป่าที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมากเพื่อไปทำเกษตรกรรมและฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แม้ไฟป่าที่เกิดจากธรรมชาติจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในช่วงเวลานี้ของปี แต่จำนวนและขนาดของไฟป่าในช่วงเดือนที่ผ่านมารุนแรงกว่าอดีตมาก และเมื่อมีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อยๆ และใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของป่าแอมะซอนไป จนอาจทำให้ป่าแอมะซอนกลายเป็นทะเลทรายได้

บริจาคเงิน --  เราสามารถช่วยฟื้นฟูป่าบางส่วนด้วยการบริจาคเงินไปให้องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น Rainforest Trust จะมีตัวเลือกให้คุณเลือกได้ด้วยว่าจะบริจาคเงินไปที่โครงการไหนโดยเฉพาะ สามารถช่วย “ซื้อ” ผืนป่าเพื่อปกป้องพื้นที่ป่าได้ ส่วน Rainforest Alliance จะนำเงินบริจาคทั้งหมดของเราไปหยุดยั้งการทำลายป่าในบราซิลขณะนี้ โดยพวกเขากำลังร่วมมือกับคนในพื้นที่ในการต่อสู้กับไฟป่า ขณะเดียวกัน Rainforest Alliance ยังพยายามปรับเปลี่ยนให้ปศุสัตว์และการทำฟาร์มในบราซิลมีประสิทธิภาพขึ้น

ด้านมูลนิธิ Arbor Day ก็มีโครงการรักษาป่าฝนเขตร้อนต่างๆ ที่เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์กว่าร้อยละ 50 ของโลก และRainforest Action Network ก็มีโครงการ Protect-an-Acre ด้วยการให้ทุนชุมชน องค์กรนำโดยคนกลุ่มน้อย และพันธมิตรต่างๆ มากกว่า 150 องค์กรทั่วโลกในการรักษาผืนป่า ขณะที่ Amazon Watch เป็นองค์กรของคนพื้นเมืองในบราซิลที่พยายามปกป้องป่าแอมะซอน หรือจะช่วยเหลือโครงการศิลปะและวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับป่าแอมะซอนได้ผ่าน Amazon Aid Foundation

ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ -- นอกจากการบริจาคเงินแล้ว เรายังสามารถส่งเสียงไปยังรัฐบาลต่างๆ ด้วยการร่วมลงชื่อเรียกร้องให้มีการปกป้องผืนป่า โดยกรีนพีซเปิดให้ร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องรัฐบาลบราซิลให้ปกป้องพื้นที่ป่า ยุติการไล่ที่คนพื้นเมือง ส่วนองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษยกวิกฤตที่ป่าแอมะซอนขึ้นมาเป็นวาระเร่งด่วนของการะประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ประเทศ หรือ จี 7

สำนักข่าว Foreign Policy ระบุว่า หนึ่งในเครื่องมือที่ทรงลังที่สุดในการปกป้องแอมะซอนก็คือ การร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจ ไม่ใช่ต่อต้านกลุ่มธุรกิจ วิธีการนี้ค่อนข้างได้ผลดีกับอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ เพราะผู้ผลิตเนื้อในบราซิลร่วมมือกับบริษัทนานาชาติ เพื่อให้บริษัทได้ “มาตรฐานศูนย์คาร์บอน” และหันมาใส่ใจเสียงเรียกร้องของสาธารณะมากกว่าเสียงของรัฐบาล 

ซื้อของที่ไม่สร้างผลกระทบต่อป่าฝน -- สินค้าที่มีตราประทับว่า Rainforest Alliance Certified™ มาจากฟาร์มที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าได้มาตรฐานด้านความยั่งยืน โดยปัจจุบันมีสินค้าหลายพันประเภทที่ได้รับตราประทับนี้ ตั้งแต่กาแฟ โกโก้ กล้วย

เราสามารถพยายามลดการใช้กระดาษและสินค้าจากไม้ หรือหากเราต้องการซื้อสินค้าที่ทำจากไม้เขตป่าฝน ก็ให้ดูตราประทับของ Forest Stewardship Council (FSC) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีระบบการรับรองหลักในการตรวจสอบสินค้าที่มาจากป่าและกระดาษต่างๆ FSC จะตรวจสอบอย่างละเอียดว่าไม้เหล่านั้นไม่ได้เป็นผลผลิตมาจากการตัดไม้อย่างผิดกฎหมายและการทำลายป่า เรายังสามารถบริจาคเงินสนับสนุนให้ FSC ได้ด้วย

ใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน -- เราสามารถปล่อยก๊าซเหล่านั้นให้น้อยลงได้ เช่น ขับรถให้น้อยลง ใช้รถยนต์ประหยัดน้ำมัน ปรับอุณหภูมิห้องให้สูงขึ้นจากเดิมเล็กน้อย และหากคุณต้องเดินทางโดยเครื่องบินบ่อยๆ คุณอาจชดเชยด้วยการบริจาคเงินให้องค์กรที่จะไปปลูกต้นไม้ เพื่อดูดซับคาร์บอนที่คุณปล่อยไปจากการนั่งเครื่องบิน อีกทั้งยังควรลดการกินเนื้อ โดยเนื้อวัวในฟาร์มแถบป่าฝนเขตร้อนมักพบเห็นได้ทั่วไปในแฮมเบอร์เกอร์ในร้านฟาสต์ฟู้ดหรือในผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog