วันนี้เราจะมีคุยถึงอุปสรรคของวงการภาพยนตร์จีน และทำความรู้จักกับ 'สัญญาหยิน-หยาง' ที่ทำให้วงการโดยรวมไม่เติบโตเท่าที่ควร
ท่ามกลางการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์จีน ก็ยังมีอุปสรรคมากมายที่คนในแวดลงต้องปรับแก้ เพื่อให้ผลงานมีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล หลังช่วงไม่กี่ปีหลัง ปัญหาเดิม ๆ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ ความสร้างสรรค์ในตัวผลงาน ค่าจ้างนักแสดงที่เฟ้อเกินมูลค่าจริง และการหลบเลี่ยงภาษี ยังเป็นสิ่งที่ขัดขวางอุตสาหกรรมภาพยนตร์จีนไม่ให้เติบโตในแนวทางเดียวกับฮอลลีวูด
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมภาพยนตร์จีนพยายามศึกษาแนวทางการเติบโตมาเป็น 100 ปี ของฮอลลีวูด โดยอาศัยเงินทุนของภาคเอกชนเข้าไปลงทุนในภาพยนตร์อเมริกัน ดึงพันธมิตรอเมริกันมาลงทุนในจีน รวมถึงขยายโควตาการนำเข้าภาพยนตร์ต่างชาติ เพื่อสร้างความเป็นสากลให้กับตลาดภาพยนตร์ในประเทศ แต่ก็ดูเหมือนจะยังไม่ประสบความสำเร็จเสียทีเดียว
ผู้เชี่ยวชาญจากฮอลลีวูดบางคนให้ความเห็นว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์จีนไม่ 'Healthy' คือมีหลายปัญหายังไม่ถูกแก้ไขก่อนที่จะเติบโต ปัจจัยหลักคือความโปร่งใสของระบบ และการรายงานผล Boxoffice ที่เป็นไปตามความเป็นจริง โดยยอดขายตั๋วในจีนมักถูกปั่นเพื่อเพิ่มความนิยมให้นักแสดงโดยแฟน ๆ และมีการสละตั๋วหรือเทขายภายหลัง ขณะที่ ยอดรวมก็ไม่ถูกรายงานตามจริง และไม่เท่ากับในแต่ละเว็บไซต์
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของตั๋วภาพยนตร์ในจีนปัจจุบันถูกซื้อขายบนออนไลน์ การรายงานยอดจริงจึงไม่ควรเป็นเรื่องยุ่งยาก และเมื่ออุตสาหกรรมมีข้อมูลดังกล่าว จึงจะสามารถต่อยอดไปประเมินผลตัวบท การแสดง และปัจจัยความสำเร็จที่แท้จริงของผลงานหนึ่ง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกปัจจัยหนึ่งของ Hollywoodization หรือการทำให้อุตสาหกรมเป็นแบบฮอลลีวูด คือการที่ผู้สร้างเริ่มจ้างนักแสดงซูเปอร์สตาร์ เพื่อดึงดูดคนดู ในแนวคิดที่ว่า ยิ่งดัง ภาพยนตร์ยิ่งมีคนดู แต่แนวคิดเช่นนี้กลับยิ่งทำให้กลไกการผลิตยุ่งยาก เพราะคนดังมักเรียกค่าตัวไม่สมเหตุสมผลและไม่เหมาะกับตัวโปรเจกต์ กลายเป็นว่า ส่วนอื่น ๆ ของผลงานกลับไม่งบประมาณเพียงพอ และสุดท้าย เมื่อยาดขายตั๋วไม่ดี โปรเจกต์ก็กลายเป็นการขาดทุนครั้งใหญ่ สูญเสียคุณภาพทั้งด้านเนื้อเรื่อง และรายได้
อีกประกาศหนึ่งที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ การเลี่ยงภาษาอย่างที่เพิ่งเป็นข่าวไป โดยการร่างสัญญา 'หยิน-หยาง' หรือก็คือการปกปิดค่าจ้างที่แท้จริงของซูเปอร์สตาร์คนหนึ่ง ๆ เช่นที่ฟ่านปิงปิงเพิ่งเป็นข่าวไป ซึ่งเธอมีการร่างสัญญา 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งใส่ค่าตัวเพียงส่วนหนึ่ง เพื่อใช้ยื่นเสียภาษี กับอีกสัญญาเป็นค่าตัวจริงที่มีการจ่ายเงิน ล่าสุด ทางการจีนออกมาประกาศกวาดล้างระบบดังกล่าวแล้ว
โดยภาพรวมแล้ว ถือว่ายังอีกไกล ในการที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์จีนจะกลายเป็นฮอลลีวูดใหม่แห่งฝั่งตะวันออก แต่ด้วยเงินทุน และจำนวนประชากรที่พร้อมจะเสพผลงาน จีนก็น่าจะเป็นประเทศที่ใกล้เคียงจะเติบโตไปเทียบเท่ากับสหรัฐฯ เป็นประเทศแรก ในเชิงผลงานบันเทิง ต้องมาติดตามกันว่า กลไกภายในจะสามารถปรับตัวในเท่าทัน การเติบโตของเงินทุนและการเติบโตของโปรเจกต์ร่วมข้ามชาติหรือไม่