ไม่พบผลการค้นหา
Biz Feed - กระทรวงการคลังเร่งแก้เงินบาทแข็งค่า - Short Clip
Biz Feed - นักท่องเที่ยวจีน4แสนคนเตรียมมาไทยตรุษจีนนี้ - Short Clip
CLIP Biz Feed : เศรษฐกิจโลกมีชัยในศึกเลือกตั้งฝรั่งเศส
Biz Feed - เซ็นทรัลปักธงแลนด์มาร์คเฉลิมฉลองปีใหม่แห่งเอเชีย - Short Clip
CLIP Biz Feed : อี-สปอร์ต เปิดโลกแห่งเกมให้เป็นโลกแห่งธุรกิจ
Biz Feed - เงินสะพัดธุรกิจสัตว์เลี้ยงเกือบ 3 หมื่นล้านบาท - Short Clip
CLIP BIZ FEED : Biz Insight เอสโตเนียใช้เทคโนโลยีนำหน้าพัฒนาประเทศ
Biz Feed - ไทยได้อันดับ2เป็นมิตรกับคนกินผักมากที่สุดในโลก - Short Clip
Biz Feed - คนทำงานรุ่นใหม่เบื่อง่าย เปลี่ยนงานบ่อย - Short Clip
CLIP Biz Feed : นโยบายกีดกันการค้าทรัมป์กระทบไทยแค่ไหน?  
CLIP Biz Feed : 5 ธุรกิจสำหรับนักลงทุนยุคมิลเลนเนียล
Clip Biz Feed : วณิพกต่างชาติชี้ไม่ใช่ขอทาน แค่แชร์ประสบการณ์
Biz Feed - ฮ่องกงใช้เส้นทางสายไหมใหม่ขายไอเดีย - Short Clip
Biz Feed - Biz Insight:เครื่องสำอางเกาหลีมุ่งตีตลาดมุสลิมในอาเซียน- Short Clip
Biz Feed - หุ้นดาวโจนส์ร่วงหนักจากกระแสโจมตีแอมะซอน - FULL EP.
Biz Insight : ท่องเที่ยวไทยจะช่วยเศรษฐกิจได้ถึงเมื่อไหร่? 
Biz Feed - เวียนนาครองตำแหน่งเมืองคุณภาพชีวิตดีที่สุดในโลก9ปีซ้อน - Full EP.
Clip Biz Feed : ปฏิรูปมาเลเซียแอร์ไลน์ฟื้นฟูภาพลักษณ์ได้? 
Biz Feed - คมนาคมกำชับรถไฟฟ้าแจ้งใน 5 นาที หากขัดข้อง - Short Clip
Biz Feed - จีนให้วีซาฟรี 10 ปี กับชาวต่างชาติฝีมือสูง - Short Clip
Biz Feed - กรมสรรพากรเตรียมนำระบบ บริจาคเงินดิจิทัลมาใช้กับวัด - Short Clip
Dec 27, 2017 04:12

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร บอกว่าในเดือนมกราคม ปีหน้า กรมสรรพากรตั้งเป้าว่าจะนำระบบ อี-โดเนชัน หรือระบบการบริจาคเงินแบบดิจิทัล เข้ามาใช้กับศาสนสถานทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นวัด ศาลเจ้า โบสถ์ หรือว่ามัสยิด ซึ่งระบบอี-โดเชันนี้ ได้รับการพัฒนาโดยกรมสรรพากร และก็นำไปทดสอบใช้งานแล้วที่วัดในจังหวัดน่าน แล้วก็ได้รับการตอบรับที่ค่อนข้างดี ไม่ว่าจะเป็นผู้บริจาค หรือผู้รับบริจาค อย่างวัดก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการนับเงินบริจาคจำนวนมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกยักยอก หรือว่าถูกขโมย ขณะที่ผู้บริจาคก็สามารถนำยอดเงินบริจาคที่มีข้อมูลบันทึกไว้ในระบบอย่างชัดเจนมาลดหย่อนภาษีได้ เพราะว่าข้อมูลในระบบ อี-โดเนชัน เชื่อมต่อเข้าโดยตรงกับกรมสรรพากรอยู่แล้ว ทำให้ผู้บริจาคจะได้รับสิทธิประโยชน์ตรงนี้อย่างเต็มที่

หากระบบ อี-โดเนชัน มีการใช้อย่างเต็มรูปแบบทั่วประเทศ กรมสรรพากรจะอนุญาตให้ผู้เสียภาษีนำเงินบริจาคมาลดหย่อนภาษีได้เฉพาะเงินบริจาคที่มีข้อมูลบันทึกอยู่ในระบบ อี-โดเนชัน เท่านั้น หากไม่มีข้อมูลการบริจาคในระบบก็จะไม่สามารถนำยอดเงินบริจาคตรงนั้นมาลดหย่อนภาษีได้ เพราะที่ผ่านมา กรมสรรพากรพบว่ามีการปลอมแปลงข้อมูลการบริจาคเงิน หรือใส่ยอดเงินบริจาคที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง แล้วนำมาลดหย่อนภาษี ซึ่งระบบ อี-โดเนชัน ก็จะช่วยแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ นอกจากนี้ อี-โดเนชัน ยังช่วยแก้ไขปัญหาการโกงเงินบริจาคของวัดได้ด้วย เพราะยอดเงินบริจาคจะถูกบันทึกไว้อย่างครบถ้วน ทำให้การยักยอกเงินบริจาคภายในวัด เป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น 

คนไทยนับว่าเป็นชนชาติที่ชื่นชอบในเรื่องของการทำบุญและบริจาคเงินมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงินให้กับวัด หรือว่าองค์กรช่วยเหลือสังคมต่างๆ ซึ่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI ประเมินไว้ว่าในแต่ละปี คนไทยบริจาคเงินรวมกันมากถึง 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่ามหาศาล แต่ว่าที่ผ่านมา ปัญหาสังคมหลายๆ ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข เพราะหลายๆ องค์กรและมูลนิธิ ยังมีปัญหาเรื่องการนำเงินบริจาคไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด รวมทั้งการบริจาคเงินให้กับศาสนสถานหลายๆ ครั้ง ไม่มีกลไกในการตรวจสอบที่ถูกต้อง ทำให้มีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่ในเงินบริจาคจำนวนมหาศาล

ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เจ้าของผลงานวิจัยเรื่อง “การบริหารการเงินของวัดในประเทศไทย” ซึ่งได้ทำการรวบรวมข้อมูลรายได้ของวัดต่างๆ ในประเทศไทย เปิดเผยข้อมูลที่ยืนยันว่าคนไทยนิยมบริจาคเงินให้กับวัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือ ปริมาณเงินฝากของวัดที่กระจายอยู่ตามธนาคารต่างๆ จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ยอดเงินฝากของวัดทั่วประเทศรวมกันแล้วมีมูลค่าสูงถึง 3 แสนล้านบาท หรือเท่ากับมูลค่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ซึ่งจำนวนเงินฝากที่ธนาคารได้จากวัดจำนวนมหาศาลอย่างนี้ ทำให้ธนาคารแทบทุกแห่ง มีการออกแคมเปญเงินฝากอัตราดอกเบี้ยพิเศษสำหรับเงินฝากจากวัดโดยเฉพาะ เพื่อดึงดูดให้วัดแต่ละแห่งนำเงินมาฝากไว้ที่ธนาคารของตัวเอง แล้วก็ยังมีการส่งผู้เชี่ยวชาญของธนาคารไปยังวัดต่างๆ เพื่อให้เข้าไปช่วยแนะนำวัดในการวางแผนการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog