ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​130 แบรนด์ จับมืออาลีบาบาต้านสินค้าปลอม - Short Clip
World Trend - คาดปีนี้ 'อีสปอร์ต' โกยรายได้เฉียด 3 หมื่นล้าน - Short Clip
World Trend - 'พลัสไซซ์' ตลาดใหม่เพื่อแฟชั่นที่เท่าเทียม - Short Clip
World Trend - ฮอลลีวูดกับการแบนกม.ทำแท้งในจอร์เจีย - Short Clip
World Trend - ​​สตูดิโอใหญ่เลือก 'นิวเม็กซิโก' ทำเลเมืองหนังใหม่ - Short Clip
World Trend - ยอดขายหัวเว่ยทะลุแสนล้าน แม้ถูกกีดกันจากทั่วโลก - Short Clip
World Trend - การถอยหลังและก้าวหน้าของออสการ์ 2019 - Short Clip
World Trend - กูเกิล-เฟซบุ๊ก 'เอาอยู่' แม้เผชิญข่าวฉาวตลอดปี 2018 - Short Clip
World Trend - ฮ่องกงเล็งสร้าง 'เกาะเทียม' แก้ปัญพื้นที่น้อย - Short Clip
World Trend - แฮกเกอร์เล็งเจาะเกมออนไลน์เพิ่มขึ้นในปี 2019 - Short Clip
World Trend - มาเลเซียจะกลับมาเป็น 'เสือแห่งอาเซียน' ใน 3 ปี - Short Clip
World Trend - จีนอาจใช้ AI แบนเด็กจากการไลฟ์สตรีม - Short Clip
World Trend - โจแฮนส์สัน โกย 15 ล้านดอลลาร์จากหนัง 'Black Widow' - Short Clip
World Trend - 'Avengers : Endgame' กวาดรายได้เปิดตัวสูงสุดทั่วโลก - Short Clip
World Trend - ยอดใช้ซัมซุงเพย์ในเกาหลีเกินล้านล้านบาท - Short Clip
World Trend - สตาร์บัคส์วางกำหนดเลิกใช้หลอดพลาสติก - Short Clip
World Trend - 'เนื้อสัตว์ทดแทน' อุตสาหกรรมใหม่ที่อาจโตอีก 20 เท่า - Short Clip
World Trend - เน็ตฟลิกซ์เล็งฉายหนังลุ้นรางวัลในโรงใหญ่ - Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - จีนตั้งเป้าเป็น 'มหาอำนาจภาพยนตร์' - Short Clip
World Trend - จีนหันไปลงทุนใน 'หนัง' แทน 'สตูดิโอ' - Short Clip
Apr 12, 2019 05:50

สำหรับนักลงทุนจีนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่หลายปีที่ผ่านมาเน้นเข้าซื้อกิจการและหุ้นของสตูดิโอในฮอลลีวูดจนเป็นเทรนด์ ล่าสุด เทรนด์การลงทุนกำลังเปลี่ยนไปเป็นการเน้นสนับสนุนรายโปรเจกต์แทน เพื่อลดการใช้จ่ายเกินสมควร

หลายปีที่ผ่านมา ทุนจีนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เลือกที่จะลงทุนกับฮอลลีวูดผ่านการเทกโอเวอร์หรือทำความร่วมมือกับสตูดิโอใหญ่ ซึ่งนำไปสู่การใช้จ่ายอย่างไม่มีขอบเขต และไม่ได้ผลตอบแทนอย่างที่คาดการณ์ ทำให้ในช่วงปีที่ผ่านมา เกิดเทรนด์การลงทุนอีกประเภทที่น่าจับตา ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อนักลงทุนมากขึ้น นั่นก็คือ การเปลี่ยนจากการลงทุนใน 'สตูดิโอ' มาลงทุนใน 'โปรเจกต์' แทน โดยในปี 2018 ที่ผ่านมา บริษัทสัญชาติจีนเลือกที่จะลงทุนในภาพยนตร์ 6 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากการลงทุนในปีก่อนหน้าถึงเท่าตัว

การปรับเปลี่ยนดังกล่าวถือได้ว่าเป็น Smart Move หรือ การตัดสินใจที่ดี เพราะเท่ากับเป็นการจำกัดงบประมาณที่จะไหลเข้าไปยังฮอลลีวูดให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ และที่สุดแล้ว หวังว่าจะไม่นำไปสู่การผลิตภาพยนตร์ฮอลลีวูดที่มีตัวละครจีนที่ไม่เข้ากับเนื้อเรื่องในอนาคต หลังจากที่บล็อกบัสเตอร์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจำนวนหนึ่งมีนักแสดงดังของจีนร่วมแสดงด้วยอย่างไม่กลมกลืนกับเนื้อเรื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ฉุดรั้งการพัฒนาด้านคุณภาพผลงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์จีน

ปีที่แล้ว ผลงานเด่นที่มีบริษัทจีนร่วมทุนคือเรื่อง Green Book ที่อำนวยการสร้างโดย อาลีบาบา พิกเจอร์ส ภายใต้บริษัทอาลีบาบา ที่สามารถทำเงินในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่ไปได้ 70.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 2,200 ล้านบาท ขณะที่ ภาพยนตร์ฮอลลีวูด 6 เรื่อง ที่จีนร่วมลงทุนสร้าง ทำเงินในตลาดจีนแผ่นดินใหญ่โดยรวมไปได้ 536 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 17,000 ล้านบาท คิดเป็นรายได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 28.6 %

ตัวเลข 28.6 หรือก็คือเกือบ 30 % ถือเป็นสัดส่วนที่น่าพอใจอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศรวมของจีนตลอดทั้งปี 2018 ที่ 9,100 ล้านดอลลาร์ หรือ 290,000 ล้านบาท โดยตัวเลขรวมรายได้นี้ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 9 %

การอัดฉีดทุนจีนเข้าไปในฮอลลีวูดจำเป็นอย่างยิ่งต่อการโปรโมตและจัดฉายภาพยนตร์ในประเทศจีน ซึ่งยังมีกฎหมายควบคุมจำนวนการฉายภาพยนตร์ต่างชาติอยู่ และหลังจากนี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็จะค่อย ๆ ปรับเป็น Project Based หรือ พิจารณาตามโปรเจกต์ มากขึ้น โดยสามารถวัดผลได้จากจำนวนรางวัลใหญ่ เช่น ออสการ์ อย่างที่ Green Book ได้รับ

ที่ผ่านมา ทุนรายใหญ่อย่าง ต้าเหลียน ว่านต๋า กรุ๊ป ตั้งเป้าความสำเร็จไว้กับการเข้าซื้อกิจการมากมายในฮอลีวูด ตั้งแต่การเข้าซื้อเชนโรงภาพยนตร์ AMC ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2012 ด้วยเงิน 2,600 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินเกือบ 82,000 ล้านบาท ในขณะนั้น และเกือบ 83,000 ล้านบาทในมูลค่าปัจจุบัน ไปจนถึงการซื้อสตูดิโอ Legendary Entertainment เมื่อปี 2016 เป็นมูลค่า 3,500 ล้านดอลลาร์ หรือ 111,000 ล้านบาท

ปัจจุบัน ทุนจีน ไม่เพียงแต่รายใหญ่อย่างอาลีบาบา แต่ผู้ประกอบการขนาดรองลงมาอย่าง ฮวนสี่ มีเดีย บริษัทผลิตและสตรีมภาพยนตร์ที่มีสำนักงานในฮ่องกง ก็เริ่มหันไปจับผลงานเป็นรายโปรเจกต์แล้วเช่นกัน โดย สตีเฟน เซี่ยง ซีอีโอของฮวนสี่ มีเดีย เปิดเผยว่าปีที่แล้ว บริษัทซื้อลิขสิทธิ์สตรีมภาพยนตร์ต่างประเทศ 40 เรื่อง และฉายทางแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นใหม่ ซึ่งตอนนี้มีผู้ใช้งานแบบจ่ายรายเดือนแล้ว 1.2 ล้านคน

เซี่ยง หวังว่าหลังจากนี้บริษัทจะได้ร่วมงานกับผู้ผลิตจากสหรัฐฯ และยุโรปมากขึ้น ขณะเดียวกัน แอปพลิเคชันก็จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งด้วยการอาศัยแรงสนับสนุนจากแอปพลิเคชันดังอย่าง เมาเหยี่ยน และ เหม่ยถวนเตี่ยนผิง ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว เมาเหยี่ยน แอปพลิเคชันขายตั๋วของ เทนเซ็นต์ เพิ่งใช้เงิน 390 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง หรือ 1,600 ล้านบาท ซื้อหุ้น 7.5 % ของฮวนสี่ไป แม้ผลกำไรของธุรกิจจะยังไม่ชัดเจน

เซี่ยง กล่าวว่าฮวนสี่กำลังเจรจาขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จีนให้บริการสตรีมในต่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง หลังจากช่วง 4 ปีที่ผ่านมา รายได้ของบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ยังไม่สามารถสร้างผลกำไรเป็นรูปธรรมได้ ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการเลือกจ่ายค่าจ้างให้ผู้กำกับชั้นครูอย่าง จางอี้โหมว โดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ทำให้บริษัทสูญเสียทุนส่วนนี้ไปเยอะ โดยหลังจากนี้ จะไม่ใช้มาตรการจ่ายเป็นหุ้นเช่นนี้กับใครอีกพักใหญ่ และตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้ได้เป็น 10 ถึง 20 ล้านคนในปีนี้ หลังมีประมาณการว่าผู้ใช้บริการวิดีโอสตรีมมิงในจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านคน จากเดิม 230 ล้านคน ในปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน แพลตฟอร์มสตรีมมิงที่ใหญ่ที่สุด 3 อันดับแรกในจีน คือ อ้ายฉีอี้ เทนเซ็นต์ และโยวคู่ ตามลำดับ


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog