ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - 'อาหารไร้กลูเตน' เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - อีสปอร์ตมาแรงในไทย-เตรียมจัดแข่ง ‘Garena World’ - Short Clip
World Trend - คนอ้วนวัย 20-39 ปีเสี่ยงอายุสั้นลง 10 ปี - Short Clip
World Trend - ผู้หญิงยิ่งทำงานน้อย ยิ่งลดความเสี่ยงเป็นเบาหวาน - Short Clip
World Trend - ประชากรโลกกว่า 95% เผชิญอากาศเสีย - Short Clip
World Trend - กินผักผลไม้ 5.5 ส่วนต่อวัน ลดความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ ผลิตขยะมากที่สุดในโลก - Short Clip
World Trend - พบ 1 ใน 10 เด็กเล็กในเกาหลีใช้สมาร์ตโฟน - Short Clip
World Trend - 'อาหารห่อกลับ' ปัจจัยเร่งโรคอ้วนในเด็กอังกฤษ - Short Clip
World Trend - กูเกิลติดอินเทอร์เน็ตให้กับรถโรงเรียน - Short Clip
World Trend - 'อูเบอร์' เปิดบริการเรือในมุมไบ - Short Clip
World Trend - ‘กาแฟ’ เครื่องดื่มฮิตที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ - Short Clip
World Trend - วิจัยชี้ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกไม่ต้องทำคีโม - Short Clip
World Trend - Infento ชุดประกอบรถเด็กเล่นที่สนุกได้หลายต่อ - Short Clip
World Trend - 'เทนเซ็นต์' ตรวจสอบเข้มผู้เล่นเกมออนไลน์ - Short Clip
World Trend - วิจัยเผย มีกอริลลาบนโลกมากกว่าที่เคยคาดการณ์ - Short Clip
World Trend - EU หนุนรถบรรทุกให้ลด CO2 ลง 35% ในปี 2030 - Short Clip
World Trend - มลพิษอาจทำให้ทารกในครรภ์เป็นโรคไทรอยด์ - Short Clip
World Trend - 'สมอลเลตต์' ถูกตำรวจตั้งข้อหา 16 กระทง - Short Clip
World Trend - เทรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 39- Short Clip
World Trend - เด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์เกินค่าเฉลี่ยโลก - Short Clip
Mar 26, 2018 08:35

The 2018DQ Impact Study จากประเทศสิงคโปร์ เผยผลวิจัยว่า เยาวชนทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภัยบนโลกออนไลน์เฉลี่ย 56 เปอร์เซ็นต์ โดยเยาวชนไทยมีความเสี่ยงสูงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ และยังใช้เวลาบนหน้าจอเกินค่าเฉลี่ยโลกเช่นกัน

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และ DQ institute ประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยการศึกษา The 2018DQ Impact Study ที่จัดทำระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม ปี 2560 โดยสำรวจกลุ่มตัวอย่างเยาวชนทั่วโลกที่มีอายุระหว่าง 8 ถึง 12 ปี รวม 37,967 คน ซึ่งเป็นเด็กไทยจำนวน 1,300 คน ผ่านแบบสำรวจออนไลน์ผลปรากฏว่า เด็กไทยมีโอกาสเสี่ยงภัยจากโลกออนไลน์ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 56 เปอร์เซ็นต์ โดยประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือโอมานที่วัดได้ 78 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประเทศที่มีโอกาสเสี่ยงน้อยที่สุดคือญี่ปุ่นซึ่งวัดได้ 16 เปอร์เซ็นต์

สำหรับภัยออนไลน์ที่เกิดจากการใช้สื่อดิจิทัลของเด็กไทยที่พบมากที่สุด 4 ประเภทคือ 1. การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หรือ Cyber bullying 2. การเข้าถึงสื่อลามกและคุยกับคนแปลกหน้าเรื่องเพศ 3. การติดเกม 4. การถูกล่อลวงให้ไปพบคนแปลกหน้า

นอกจากนั้น เด็กไทยยังใช้เวลากับหน้าจอท่องอินเทอร์เน็ต 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชั่วโมง โดยมีการเข้าอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ตโฟนสูงสุดถึง 73 เปอร์เซ็นต์ สำหรับกิจกรรมยอดนิยม 5 อันดับแรกคือ การชมวิดีโอออนไลน์ การค้นหาข้อมูล การฟังเพลง การเล่นเกม และการอีเมลหรือแชตผ่านแอปพลิเคชั่น โดยเด็กไทยยังใช้โซเชียลมีเดียสูงถึง 98 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 12 เปอร์เซ็นต์



Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog