ไม่พบผลการค้นหา
นอกจากหนี้การกู้ยืมแล้ว ตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในยุค ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือจำนวนครั้ง "สภาล่ม" โดยล่าสุดจนถึง วันที่ 29 พ.ย. 65 รัฐบาล พปชร. พรรคการเมืองอันดับ 2 ที่จัดตั้งรัฐบาลร่วมกับ ส.ว. ที่ ประยุทธ์ แต่งตั้งบริหารองค์ประชุมล้มเหลว 25 ครั้ง เป็นอย่างน้อย

ทีมข่าว 'วอยซ์' รวบรวมจากฐานข้อมูลการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการรายงานจากสื่อมมวลชน นับแต่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ได้เข้ามาทำหน้าที่โดยเริ่มจากการเปิดสมัยประชุมรัฐสภา ปีที่ 1 เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2562 และหลังมีรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา เมื่อ 24 พ.ค. 2562 จากนั้น สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2562 เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภาฯ

ตลอด 4 ปี สภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน ถูกบันทึกไว้จนถึงปัจจุบันมีองค์ประชุมที่ล่มซ้ำซากบ่อยครั้งถึง 25 รอบ

  • ปี 2562 ล่ม 3 ครั้ง 

หลัง 250 ส.ว. ลากตั้ง ขานชื่อเป็นเอกฉันท์ดัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี สมัยที่ 2 จากการรัฐประหารสืบทอดอำนาจสำเร็จ เพียง 2 เดือน ความเสื่อมถอยของอำนาจนิติบัญญัติเกิดขึ้นทันที 

24 ก.ค. 2562 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณารายงาน ป.ป.ส. โดยองค์ประชุมมีเพียง 92 คนจาก 500 คน หรือไม่ถึง 1 ใน 5 ในเดือนเดียวกันสภายังไม่อาจประชุมต่อเนื่องได้

องค์ประชุมล่ม 2 ครั้งรวด ยังเกิดขึ้นติดกันในวันที่ 27-28 พ.ย. 2562 ในการพิจารณาญัตติ "ล้างเช็ด" คำสั่งคสช. กฎอัยการศึก และมาตรา 44 ที่ ส.ส. รัฐบาลโหวตแพ้แต่ขอโหวตใหม่  

สภาล่ม สภา -7193-4B55-A563-111B19D0CFE4.jpegชวน ประชุมสภา สภาล่ม 4537-977C-B24341C5F2EC.jpeg
  • ปี 2563 ล่ม 1 ครั้ง 

ภายหลังทยอยเปิดตัว "งูเห่า" ส.ส.ฝ่ายค้านขายตัวให้กับพรรคร่วมรัฐบาล และอีแอบจำนวนหนึ่งย้ายขั้วร่วมกับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์โดยไม่เคารพเสียงประชาชน องค์ประชุมทำท่าจะกำกับดูแลได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ปีนั้น สภาฯ ล่มเพียงครั้งเดียว 

เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาวาระรับทราบรายงานความคืบหน้า การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ช่วงเดือนต.ค. -ธ.ค. ปี 2562 โดยนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 270 ที่กำหนดให้รายงานแผนการปฏิรูปประเทศทุก 3 เดือน แต่รัฐบาลกลับรายงานการปฏิรูปรอบ เดือน ต.ค.-ธ.ค.ปีที่แล้ว จึงควรถอนวาระออกไปก่อน

ขณะที่ ครูมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นกล่าวว่า หากตัวแทนฝ่ายรัฐบาลไม่ถอนร่างรายงาน ก็ขอให้สั่งนับองค์ประชุม โดยขณะนั้นสมาชิกฝ่ายรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุม ขณะที่ฝ่ายค้านก็วอล์กเอาต์ ไม่ร่วมเสียบบัตรนับองค์ประชุม โดยใช้เวลารอการแสดงตนเป็นองค์ประชุม ทำให้ ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งว่า มีผู้แสดงตนเป็นองค์ประชุมได้ 226 คน ไม่ครบองค์ประชุม จึงไม่สามารถประชุมต่อได้

  •  ปี 2564 ล่ม 9 ครั้ง  

คล้อยหลังไม่ถึงปี คำว่า "สภาอับปาง" ฉายาสื่อมวลชนประจำรัฐสภายกให้โดยจำกัดความเหตุการณ์ปีดังกล่าวได้อย่างชัดเจน ประธานสภาและรองประธานสภา ไม่อาจควบคุมองค์ประชุมได้จนเกิดเหตุสภาล่มตลอดปี เมื่อต่างฝ่ายต่างโทษกันไปมาทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านถึงเรื่องการควบคุมเสียงในสภาฯ

และที่น่าอดสูหนีไม่พ้นสภาล่มในการพิจารณารายงาน หรือร่างกฎหมาย ที่นำโดยพรรคการเมืองซีกรัฐบาลเอง ถึง 9 ครั้ง ได้แก่ 

4 ก.พ. 2564 ระหว่างพิจารณารายงานขุดคลองไทย

30 มิ.ย. 2564 พิจารณาร่าง พ.ร.บ.วัตถุอันตราย 

7 ก.ค. 2564 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาเรื่องด่วน ซึ่งเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.จำนวน 6 ฉบับ ในวาระแรก โดยสัญญาณสภาล่มเริ่มต้นขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการเรียกสมาชิกมาแสดงตนเพื่อลงมติในร่างกฎหมายฉบับต่างๆใช้เวลานานมากกว่า 5นาที และมีผู้แสดงตนเกินกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมมาเพียงไม่มาก 

เมื่อที่ประชุมเดินหน้าพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต ตามที่ ครม.เป็นผู้เสนอ โดยมี ส.ส.อยู่ในห้องประชุมบางตา เมื่อสมาชิกอภิปรายแสดงความเห็นครบถ้วนแล้ว สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม กดออดเรียกสมาชิกมาแสดงตนอยู่หลายครั้ง ที่สุด สุชาติ แจ้งต่อที่ประชุมว่าการลงมติร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไว้รอครั้งต่อไป พร้อมกับสั่งปิดประชุมทันทีเพราะเห็นสัญญาณไม่ดีว่าองค์จะล่ม

10 ก.ย. 2564 ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้งานวิจัยและนวัตกรรม 

3 พ.ย. 2564  และ17 พ.ย. 2564 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา 

15 ธ.ค. 2564 ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขคำสั่ง คสช.

17 ธ.ค. 2564  พิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบซึ่ง กมธ. วิสามัญ ที่มี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา พรรคพลังประชารัฐในขณะนั้น เป็นประธาน กมธ.ฯ พิจารณาแล้วเสร็จ 

โดย ศุภชัย โพธิสุ รองประธานสภาฯ คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานได้ประกาศผลการแสดงตนปรากฎว่ามี ผู้กดบัตรแสดงตน รวม230 คน และแสดงตนผ่านการขานชื่อ 5 คน รวมเป็นองค์ประชุม 235 คน ถือว่าไม่ครบองค์ประชุม จึงสั่งปิดการประชุม

ทั้งนี้ เหตุการณ์สภาล่มฯ ในปี 2564 ถูกทักท้วงจากฝ่ายค้านผ่านการขอนับองค์ประชุมเกิดขึ้นบ่อย จนหลายครั้งประธานในที่ประชุมก็ไม่อาจฝืนกระแสได้จนต้องชิงสั่งปิดการประชุมไม่ให้ภาพรวมของฝ่ายนิติบัญญัติเสียหายจากการไร้วินัยของส.ส. ซีกรัฐบาล ที่ต้องรับผิดชอบในฐานะผู้จัดตั้งรัฐบาล

หลายครั้งข้ออ้างประวิงเวลานับองค์ประชุมของวิปรัฐบาลยังเป็นที่ขบขัน เช่นการขอให้ประธานขยายเวลารอส.ส. แสดงตน เนื่องจากติดประชุมอนุกรรมาธิการงบประมาณ และลิฟท์ที่มีอยู่น้อย แต่ผู้คร่ำวอดแวดวงสภาย่อมรู้ดีลิฟท์เฉพาะฝั่ง ส.ส. มีไม่น้อยกว่า 20 ตัว 

ความขบขันของสภาฯ ชุดที่ 25 ที่ค้ำจุนนายกฯที่ไม่ได้ยึดโยงจากเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนยังมิอาจผลักดัน"กฎหมายปฏิรูป"  เงื่อนไขการรัฐประหารของตนเองได้ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มี 250 ส.ว.ลากตั้งร่วมประชุมด้วย ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษา เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 2564 

ชวน สุชาติ CEE049FF130.jpeg
  •  ปี 2565 ล่ม 12 ครั้ง 

สถิติที่สร้างความเสื่อมเสียให้ฝ่ายนิติบัญญัติจากปีกลายถูกทำลายลงทันทีด้วยความไร้สามัญสำนึกในบุญคุณประชาชนของ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล ไม่อาจประคององค์ประชุมจนล่มไปแล้ว 11 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นประเด็นพิจารณากฎหมาย ตลอดจนรายงานของกรรมาธิการของฝ่ายรัฐบาลเอง และบางส่วนเป็นร่งกฎหมายของพรรคร่วมฝ่ายค้านอย่างการปลดล็อกสุราท้องถิ่น ได้แก่ 

19 ม.ค. 2565 พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ก.ย.ศ.

21 ม.ค. 2565 พิจารณารายงานขุดคลองไทย 

2 ก.พ. 2565 พิจารณาร่าง พ.ร.บ. สรรพาสามิต

4 ก.พ. 2565 พิจารณารายงานการแก้ไขปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่ง 

10 ก.พ. 2565 หลังที่ประชุมสภาฯ รับทราบประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ 2565 เสร็จสิ้นแล้ว ฝ่ายค้านเสนอญัตติขอนับองค์ประชุม โดยผลองค์ประชุม ปรากฎมีเพียง 227 เสียง ซึ่งไม่ครบองค์ประชุม 237 เสียง

15 ก.ย. 2565 พิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจา เรื่องขอให้สภาฯพิจารณาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ตามที่สภาฯมีมติในการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ  ของพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย

ทั้งนี้ที่ประชุมลงมติเห็นชอบกับญัตติทั้ง2 ฉบับ แต่ที่ประชุมต้องรอสมาชิกเข้ามาลงคะแนนเป็นเวลานาน โดยน ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯคนที่ 2 ทำน้าที่เป็นประธานการประชุม แจ้งว่าขณะนี้รอสมาชิกมาเป็นเวลา 31 นาทีแล้ว ยังเหลือองค์ประชุมอีก 5 คน จึงรอจนเวลา 40 นาที องค์ประชุมจึงครบคือ 242 เสียง จากนั้นสมาชิกลงมติ โดยมีผู้ลงมติ 230 เสียง เห็นด้วย 215 ไม่เป็นด้วย 6 ไม่ลงคะแนน 6  

จากนั้น ที่ประชุมได้ถกเถียงในประเด็นที่ว่าญัตติผ่าน แต่องค์ประชุมไม่ครบ อาจทำให้ผู้ที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญหยิบยกมาโจมตีได้ อาจนำไปสู่การร้องศาลรัฐธรรมนูญ ที่สุดศุภชัย ชี้แจงว่าการลงมติดังกล่าวถือว่าเห็นด้วยกับการลงมติ ส่วนกรณีครบองค์ประชุมนั้น ถือว่าไม่ครบต้องเป็นเรื่องที่ว่ากันไปตามระบบ ข้อกฎหมายและข้อบังคับ และสั่งการประชุมทันที

จุลพันธ์ สุราก้าวหน้า ประชุมสภา 76E93041D.jpeg

อย่างไรก็ตาม หลังเปิดสมัยประชุมรัฐสภาล่าสุด เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2565 องค์ประชุมก็ล่มไม่เป็นท่าอีกครั้งซ้ำซาก

ประเดิมครัั้งแรก คือ 3 พ.ย. 2565 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 3 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ ระหว่างวาระรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ญัตติเพื่อพิจารณาศึกษาสอบหาข้อเท็จจริงกรณีการปิดอ่าวมาหยา จ.กระบี่ ที่กรรมาธิการฯ พิจารณาเสร็จแล้ว พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ได้ลุกขึ้นเสนอให้ที่ประชุมลงมติเพื่อตรวจสอบองค์ประชุม หลังเห็นว่าเวลานี้มีสมาชิกฯ อยู่ในห้องบางตา

สุชาติ ตันเจริญ รองประสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ประธานการประชุมจึงรีบตัดบทว่า “พอแล้วครับ เดี๋ยวตกเครื่องบินครับ รีบกลับ” ก่อนจะปิดการแสดงตน และแจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้มีองค์ประชุม 183 คน ยังห่างไกลจากองค์ประชุมที่เกินกึ่งหนึ่งคือ 238 คน จึงได้สั่งปิดประชุมทันทีทั้งที่เปิดประชุมสภาฯ ได้ไม่กี่ชั่วโมง

23 พ.ย. 2565 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 6 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ระหว่างวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ...ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ที่ประชุมส่วนมากเห็นด้วยกับมาตรา 8/1 ที่คณะกรรมาธิการเพิ่มขึ้นใหม่ 

จากนั้น ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้เรียกสมาชิกฯ เข้ามาเป็นองค์ประชุม หลังจากรอองค์ประชุมอยู่ 5 นาที แล้วเห็นว่าองค์ประชุมยังไม่ครบ ก็ได้ตัดสินใจปิดการประชุม พร้อมขอบคุณสมาชิกฯ ที่มาร่วมประชุม ส่วนสมาชิกฯ ที่ไม่มาประชุม จะเปิดเผยชื่อเพื่อให้ประชาชนได้สอบถามเอง

ล่าสุดองค์ล่มหมาดๆ 1 ธ.ค. 2565 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 9 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) โดยมี ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม ได้เข้าสู่วาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ... ในวาระที่สอง ที่ค้างการพิจารณาไว้ที่มาตรา 9/1 โดย ชวน ได้เรียกสมาชิกให้เข้าประชุมเพื่อเตรียมลงมติ เวลา 10.51 น. ก่อนจะยุติไม่ให้สมาชิกมีการอภิปรายต่อไปอีก โดยระบุว่า ไม่ต้องเถียงทะเลาะกันแล้ว เมื่อเวลาผ่านไปเกือบ 1 ชั่วโม ชวน ได้แจ้งว่า ตนได้ทราบจากผู้คุมเสียงฝ่ายรัฐบาลแล้ว ว่าต้องใช้เวลาอีกนานในการตามสมาชิกให้มาประชุม ขณะนี้องค์ประชุมมีจำนวน 221 คน ยังขาดอยู่อีก 10 กว่าคน เพื่อไม่ให้เสียเวลาจึงได้สั่งปิดประชุม ในเวลา 11.41 น.ทันที

  • ส.ส.-ส.ว. องค์รัฐสภาล่มในปี 2565 ถึง 3 ครั้ง

เช่นเดียวกับประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ล่มอีก 3 ครั้ง ทั้งที่เป็นร่างกฎหมายปฏิรูปของรัฐบาล 

3 ส.ค. 2565 ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาร่าง พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. …. การประชุมครั้งนั้น พิจารณาถึงมาตรา 8 ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานต้องรอสมาชิกรัฐสภามาลงมติเกิน 30 นาที เพราะเกรงว่าไม่อยากให้รัฐสภาเสื่อมเสีย แต่องค์ประชุมก็ยังไม่ครบ กระทั่ง ชวนต้องบอกว่าให้เวลาจนถึง 17.00 น. ถ้ายังไม่ครบจะมีการปิดประชุม

เมื่อองค์ประชุมแสดงตนได้เพียง 357 คน ขาดอยู่ 7 คนถึงจะครบองค์ประชุมที่จำนวน 364 คน ทำให้ ชวน แจ้งว่า ใช้เวลารอมาทั้งหมด 53 นาที ตนต้องขอขอบพระคุณสมาชิกทุกคนที่กรุณาให้เวลาอดทนรอคอยอย่างจริงใจ ในวันนี้เมื่อองค์ประชุมไม่ครบ ต้องขอจบการประชุมแต่เพียงเท่านี้และสั่งปิดประชุมทันที 

10 ส.ค. 2565 องค์รัฐสภาล่มอีกครั้งการพิจารณาในวาระที่ 2 ของร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฉบับแก้ไขเพ่ิมเติม สูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หลังการอภิปรายในมาตรา 24/1 มีการขอให้นับองค์ประชุมด้วยการขานชื่อก่อนการลงมติ ทำให้ พรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภาที่ทำหน้าที่แทนประธานสภา ต้องเปิดให้มีการขานชื่อเพื่อนับองค์ประชุม แต่ผลสุดท้าย พบว่า มีผู้มาแสดงตนเป็นองค์ประชุมจำนวน 403 คน ซึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด พรเพชร จึงได้ดำเนินการลงมติต่อ แต่ทว่า หลังเปิดให้มีการลงมติ กลับมีจำนวนสมาชิกมาลงมติน้อยกว่าองค์ประชุม ทำให้ พรเพชร สั่งปิดการประชุมสภา และเลื่อนการพิจารณา ร่าง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส.ออกไป

15 ส.ค. 65  ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง  ส.ส. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่ 2 เกี่ยวกับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ฉบับของ กมธ.วิสามัญใช้สูตรหารด้วย 500 และปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรา 23 ที่เกี่ยวกับสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ด้วยการหาร 500 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่จะครบกำหนดกรอบ 180 วัน หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จจะต้องกลับไปใช้ร่าง พ.ร.ป.ฉบับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ใช้สูตรคำนวณหาร 100

โดยก่อนจะเริ่มการพิจารณามาตรา 24/1 ที่ กมธ. เพิ่มขึ้นมาใหม่ เกี่ยวกับการคํานวณ ส.ส. และการประกาศผลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นมาตราที่ต้องหยุดการพิจารณาไปเพราะช่วงลงมติไม่ครบองค์ประชุม โดย ชวน ได้กดออดเพื่อเรียกสมาชิกเข้าห้องประชุม และแจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้มีสมาชิกมาลงชื่อเพียง 111 คน ถือยังไม่ครบองค์ประชุม 364 คน อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไป 35 นาทีแล้วองค์ประชุมขยับมาที่ 276 คน ประกอบด้วย ส.ส. 152 คน และส.ว. 124 คน

เมื่อองค์ประชุมก็ยังไม่ครบ ทำให้ พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ถามหาประธานรัฐสภา เรียกร้องให้ ชวน มาทำหน้าที่ เพราะผ่านมา 50 นาทีแล้ว ก็ยังไม่สามารถเปิดการประชุมได้เพราะองค์ประชุมไม่ครบ

จากนั้น ชวน ได้กดออดเรียกสมาชิกรัฐสภา มาแสดงตนเป็นองค์ประชุม ก่อนจะลงมติในมาตรา 24/1 โดยใช้เวลากดออดเรียกสมาชิกนานเกือบ 10 นาที แต่ยังไม่มีการประกาศผลการแสดงตน 

ทำให้ ชวน กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงการตรวจสอบองค์ประชุม หากไม่สามารถพิจารณาร่างกฎหมายได้ทัน 180 วัน ถือว่า ที่ประชุมให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.ป. ที่เสนอมาโดย ครม. ในวาระ 1 ตอนนี้มีผู้มาลงชื่อ 355 คน ไม่ครบองค์ประชุม และสั่งปิดประชุมทันที ทำให้ร่าง พ.ร.ป. พิจารณาไม่ทันตามกรอบเวลา 180 วัน ทำให้จะต้องกลับไปใช้ร่าง พ.ร.ป.ฯฉบับ ครม. ที่ใช้สูตรหาร 100

ผลกระทบของฝ่ายนิติบัญญัติไทยที่ไม่แสดงตนเป็นองค์ประชุมตลอด 4 ปี มีการทำองค์ล่มถึง 25 ครั้ง ถือเป็นความเสื่อมถอยของแวดวงนิติบัญญัติในประวัติศาสตร์ทำท่าจะสูงขึ้นอีกในช่วงปลายปี 2565 ถึงต้นปี 2566 เพราะปัญหามาจากกติกาของรัฐธรรมนูญ สูตรบัตรเขย่ง ที่ออกแบบให้เกิดรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำในสภาฯ มีรัฐบาลผสมกว่า 20 พรรค ท่ามกลางข้อหาครหาตลอด 4 ปีว่ามีการแจกกล้วยเครือใหญ่เพื่อซื้อตัว ส.ส.ให้เปลี่ยนขั้วมาอยู่กับฝั่งรัฐบาล

ฉะนั้น หาก นายกฯ 84,000 เซลล์สมอง ยังยื้อเก้าอี้ เสพติดอำนาจ ไม่ยอมยุบสภา ก็จะฝากความอัปยศไว้ให้การเมืองไทยและนิติบัญญัติไทยอีกไม่น้อย 

สภาล่ม สภา ประชุมสภา 5418_5504297710396015718_n.jpg



ข่าวที่เกี่ยวข้อง