ไม่พบผลการค้นหา
จบลงไปแล้วสำหรับการเปิดปราศรัย จ.เชียงใหม่ ของ 2 ค่ายปีกประชาธิปไตย โดย 'เพื่อไทย' ยึดไทม์ไลน์ปลาย ก.พ.ปราศรัยใหญ่ กลาง อ.เมืองของจังหวัด ส่วน 'ก้าวไกล' นำโดย 'พิธา' นำคณะทัพใหญ่เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่่ 11 เขตกลางประตูท่าแพ เมื่อต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ฐานที่มั่นของปีกประชาธิปไตยที่ 'เพื่อไทย' ยังมีแต้มต่อด้วยเจ้าของพื้นที่และมีดีเอ็นเอของ 'ทักษิณ ชินวัตร' เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งมาตั้งแต่ 'ไทยรักไทย'

ปลุกปราศรัยใหญ่ 'เชียงใหม่ คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยเท่านั้น' ไปเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2566 เป็นการนำทัพใหญ่โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แพทองธาร ชินวัตร ประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรมพรรคเพื่อไทย ในฐานะหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย

ทัพใหญ่ 'เพื่อไทย' หมายมั่นปั้นมือว่า 'จ.เชียงใหม่' คือ เมืองหลวงของ 'เพื่อไทย' เพราะเป็นจังหวัดบ้านเกิดของ 2 นายกรัฐมนตรี คือ 'ดร.ทักษิณ ชินวัตร' และ 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' รวมทั้งยังมีเขยของตระกูลชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ก่อนด้วยคือ 'สมชาย วงศ์สวัสดิ์' 

การยกทัพใหญ่ปราศรัยไปที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ครั้งนี้ 'แพทองธาร' (อิ๊งค์) ถือเป็นทายาทสายตรง ดีเอ็นเอ 'ดร.ทักษิณ' ขนานแท้

“ทุกวันนี้ยังพาลูกออกมาเล่นข้างนอกบ้านไม่ได้ เพราะฝุ่นเยอะทำให้เป็นปอดอักเสบได้ง่ายมาก ดังนั้นคุณภาพชีวิตต้องมาจากชาวเชียงใหม่และต้องมีชีวิตที่ดีขึ้นเลือกพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล การแก้ปัญหาระยะสั้นจะต้องมีการเตือนประชาชนในเรื่องของฝุ่น หากเตือนได้ในโรงเรียนและสั่งหยุดเรียนพร้อมแจกหน้ากากอนามัยให้ผู้ที่เปราะบาง รวมทั้งเปิดเครื่องฟอกอากาศขนาดใหญ่ไปทั่วจังหวัดเชียงใหม่ โดยระยะกลางต้องดูแลประชาชนโดยเฉพาะไซต์ก่อสร้างที่เกิดทำที่เกิดฝุ่นมากมาย” แพทองธาร ปราศรัยตอนหนึ่งต่อหน้าคนเชียงใหม่ เมื่อ 26 ก.พ. 2566

แพทองธาร เชียงใหม่ เพื่อไทย 0F88CA9C5A1F.jpeg

แพทองธาร ยังย้ำต่อหน้า คน จ.เชียงใหม่ ทั้งจังหวัดว่า ขอให้เลือกพรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยพร้อมทำให้ปากท้องพี่น้องอิ่มเพื่อเกรียติศักดิ์ศรี ขอให้เลือกพรรคเพื่อไทยทั้งคนทั้งพรรค

ย้อนไปในศึกการเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 ครั้งนั้นกติกาตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้เป็นการใช้บัตรเลือกตั้งแบบใบเดียว 1 ใบเลือกทั้งคนและพรรคการเมือง หรือสูตรจัดสรรปันส่วนผสม จนทำให้เกิด ส.ส.ปัดเศษเข้าสภามากมายไปรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลกว่า 20 พรรคการเมือง

จ.เชียงใหม่ ปี 2562 มีทั้งหมด 9 เขตเลือกตั้ง มี 3 พรรคการเมืองใหญ่ที่กวาดคะแนนเสียง ใน 3 อันดับ ทั้งจังหวัด

อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย 381,642 คะแนน

อันดับ 2 พรรคอนาคตใหม่ 254,338 คะแนน

อันดับ 3 พรรคพลังประชารัฐ 204,374 คะแนน

การเลือกตั้งครั้งนั้น พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.ยกจังหวัด 9 เขตเลือกตั้ง ดังนี้

  • เขตเลือกตั้งที่ 1 อำเภอเมืองเชียงใหม่

อันดับ 1 ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ พรรคเพื่อไทย ชนะเลือกตั้ง 46,034 คะแนน

อันดับ 2 ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ พรรคอนาคตใหม่ 45,341 คะแนน

อันดับ 3 พจนารถ ศรียารัณย พรรคพลังประชารัฐ 21,249 คะแนน

  • เขตเลือกตั้งที่ 2 อำเภอหางดง และอำเภอสารภี

อันดับ 1 นพคุณ รัฐผไท พรรคเพื่อไทย 50,127 คะแนน

อันดับ 2 ณัชชา โปธายี่ พรรคอนาคตใหม่ 32,617 คะแนน

อันดับ 3 ศรีพรรณ เขียวทอง พรรคพลังประชารัฐ 17,022 คะแนน

  • เขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ออน และอำเภอดอยสะเก็ด

อันดับ 1 จักรพล ตั้งสุทธิธรรม พรรคเพื่อไทย 64,040 คะแนน

อันดับ 2 พ.อ.ศรัณย์ แสนพรหม พรรคอนาคตใหม่ 28,624 คะแนน

อันดับ 3 พรชัย อรรถปรียางกูร พรรคพลังประชารัฐ 12,769 คะแนน

  • เขตเลือกตั้งที่ 4 อำเภอสันทราย อำเภอพร้าว และอำเภอแม่แตง (เฉพาะตำบลแม่หอพระ)

อันดับ 1 วิทยา ทรงคำ พรรคเพื่อไทย 37,454 คะแนน

อันดับ 2 ชลิต ชนนินทร์อารักษ์ พรรคอนาคตใหม่ 35,576 คะแนน

อันดับ 3 กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ พรรคพลังประชารัฐ 30,520 คะแนน

  • เขตเลือกตั้งที่ 5 อำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอสะเมิง อำเภอแม่ริม และอำเภอแม่แตง (ยกเว้นตำบลแม่หอพระ)

อันดับ 1 สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย 41,169 คะแนน

อันดับ 2 เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่ พรรคพลังประชารัฐ 29,170 คะแนน

อันดับ 3 ร.ต.ท.วิทยา สิงห์มณี พรรคอนาคตใหม่ 27,940 คะแนน

แพทองธาร เชียงใหม่ พานทองแท้ เพื่อไทย 8672FEF.jpeg
  • เขตเลือกตั้งที่ 6 อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง และอำเภอไชยปราการ

อันดับ 1 จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ พรรคเพื่อไทย 23,576 คะแนน

อันดับ 2 ธีรพันธ์ สุริวรรณ พรรคอนาคตใหม่ 17,377 คะแนน

อันดับ 3 สันติ ตันสุหัช พรรคพลังประชารัฐ 12,944 คะแนน

  • เขตเลือกตั้งที่ 7 อำเภอฝาง และอำเภอแม่อาย

อันดับ 1 ประสิทธิ์ วุฒินันชัย พรรคเพื่อไทย 27,477 คะแนน

อันดับ 2 นราสิญจ์ ปัญญาศิลปวิทยา พรรคอนาคตใหม่ 19,729 คะแนน

อันดับ 3 ไกร ดาบธรรม พรรคภูมิใจไทย 18,925 คะแนน

อันดับ 4 บดินทร์ กินาวงศ์ พรรคพลังประชารัฐ 8,719 คะแนน

  • เขตเลือกตั้งที่ 8 อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่วาง อำเภอดอยหล่อ และอำเภอจอมทอง

อันดับ 1 สุรพล เกียรติไชยากร พรรคเพื่อไทย 52,165 คะแนน

อันดับ 2 นเรศ ธำรงค์ทิพยคุคณ พรรคพลังประชารัฐ 39,221 คะแนน

อันดับ 3 ศรีนวล บุญลือ พรรคอนาคตใหม่ 29,556 คะแนน

  • เขตเลือกตั้งที่ 9 อำเภอแม่แจ่ม อำเภอฮอด อำเภอดอยเต่า และอำเภออมก๋อย

อันดับ 1 ศรีเรศ โกฎคำลือ พรรคเพื่อไทย 39,600 คะแนน

อันดับ 2 นรพล ตันติมนตรี พรรคพลังประชารัฐ 32,760 คะแนน

อันดับ 3 สุนทร มาลีการุณกิจ พรรคอนาคตใหม่ 17,628 คะแนน

สุรพล เกียรติไชยากร .jpg

หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562 เขตเลือกตั้งที่ 8 จ.เชียงใหม่ ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติสั่งเพิกถอนสิทธิสมัครของ สุรพล เกียรติไชยากร ว่าที่ ส.ส.เชียงใหม่ เขต 8 พรรคเพื่อไทยไว้เป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี (การแจกใบส้ม) และมติดังกล่าวมีผลให้ กกต. ต้องสั่งเลือกตั้งใหม่ในเขตเลือกตั้งที่ 8 จ.เชียงใหม่ โดยกำหนดวันเลือกตั้งใหม่คือวันที่ 26 พ.ค. 2562

ซึ่งในกรณีที่ถูกใบส้มและต้องเลือกตั้งใหม่ ผู้สมัครเดิมในเขตจากทุกพรรคจะเข้าสู่การเลือกตั้งใหม่อีกครั้งยกเว้น สุรพล เกียรติไชยากร และพรรคเพื่อไทยไม่สามารถส่งผู้สมัครคนใหม่ลงแทนได้ ทำให้คะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทย ต้องเทให้กับ พรรคอนาคตใหม่ จนหนุนส่งให้ ศรีนวล บุญลือ ที่ขณะนั้นยังสังกัดพรรคอนาคตใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.เชียงใหม่

ก่อนที่ ศรีนวล บุญลือ ถูกขับออกจากพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2562 ได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคภูมิใจไทยในเวลาต่อมา

ต่อมาศาลฎีกาได้ยกคำร้อง กกต.ที่มีมติแจกใบส้มแก่สุรพล และเวาต่อมาศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ได้พิพากษาให้ กกต.ชดใช้เงินแก่ สุรพล จำนวน 56 ล้านบาท กรณีที่ศาลฎีกาได้มีมติยกคำร้องแจกใบส้ม จนทำให้ สุรพล พลาดโอกาสในการเป็น ส.ส.

ศรีนวล ภูมิใจไทย B-B5A6-7ACBC31FC578.jpegสุรพล เพื่อไทย เชียงใหม่ LINE_ALBUM_220909_28.jpgเพื่อไทย แพทองธาร เชียงใหม่ -56A4-4E94-A04F-D16AD3A6EC6F.jpeg

ล่าสุด ก่อนที่สัญญาณการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2566 หลังการยุบสภาฯ ปฏิทินหย่อนบัตรเลือกตั้งคาดการณ์ว่า จะเกิดขึ้นในช่วงเดือน พ.ค. 2566

พรรคเพื่อไทย ชูแคมเปญใหญ่ 'คิดใหญ่ ทำเป็น เพื่อไทยทุกคน' ด้วยการวางตัวผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ ครบ 11 เขต เป็นทั้ง ส.ส.เจ้าของเก้าอี้เดิม และคนรุ่นใหม่ประกอบด้วย

เขต 1 จักรพล ตั้งสุทธิธรรม เขต 2 ณัฏฐ์พัฒน์ รัฐผไท เขต 3 ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ เขต 4 วิทยา ทรงคำ เขต 5 จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์

เขต 6 บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เขต 7 นิธิกร วุฒินันชัย เขต 8 สุรพล เกียรติไชยากร เขต 9 ศรีโสภา โกฎคำลือ เขต 10 โกวิทย์ พิริยะอนันต์ เขต 11 นพ.ไกร ดาบธรรม

ก้าวไกล พิธา พลอย เชียงใหม่ -7D68-457F-ACCC-C6E278E3263F.jpegก้าวไกล เชียงใหม่ -EE5C-469E-85A1-11851DB8C686.jpegก้าวไกล เชียงใหม่ ณัฐพล พลอย -F756-4F01-96D3-3BB786B67147.jpeg

ขณะที่ พรรคก้าวไกล ชูแคมเปญเบื้องต้นก่อนมีการยุบสภาฯว่า 'แก้ตี้เก๊า ก๋าก้าวไกล เจียงใหม่ บะเหมือนเดิม' เปิดว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกล จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย

เขต 1 เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู เจ้าของธุรกิจ และอดีตผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่

เขต 2 ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ วิศวกรและเจ้าของธุรกิจ อดีตผู้สมัคร สท.นครเชียงใหม่ ในนามคณะก้าวหน้า

เขต 3 ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล เจ้าของธุรกิจเกสต์เฮาส์ และบุตรชายของ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และอดีต รมว.ต่างประเทศ

เขต 4 พุธิตา ชัยอนันต์ อดีตนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

เขต 5 สมชิด กันธะยา อดีตนายก อบต.โป่งแยง

เขต 6 อรพรรณ จันตาเรือง อดีตรองนายก อบต.เชียงดาว

เขต 7 สมดุลย์ อุตเจริญ เกษตรกรเจ้าของสวนส้ม

เขต 8 การณิก จันทดา อดีตพนักงานต้อนรับสายการบิน และเภสัชกร

เขต 9 สมเกียรติ มีธรรม คนทำงาน NGOs ด้านทรัพยากรน้ำ ที่ดิน และสิทธิชุมชน  

เขต 10 ณรงค์ชัย เตโม ชาวชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และคนทำงาน NGOs ด้านชาติพันธุ์

เขต 11 ปิยะพงษ์ ปัญญาดา คนทำงาน NGOs ด้านเยาวชน ชาติพันธุ์ และผู้สูงอายุ 

ก้าวไกล เชียงใหม่ พลอย เพขรรัตน์ E-D5B60099F67E.jpegพลอย เพชรรัตน์ ก้าวไกล เชียงใหม่ -05CF-4037-BD84-D41A24D95765.jpeg

ขณะที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เปิดปราศรัย ที่ประตูท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2566 ตอนหนึ่งว่า “พรรคก้าวไกลคือความเปลี่ยนแปลงที่ไว้ใจได้ เราไม่เคยกั๊ก ไม่เคยกึ่งๆ ต่อหน้าพูดอย่างไรข้างหลังก็เป็นเช่นนั้น ไม่มีเงื่อนไขซ่อนอยู่ในกระเป๋า ว่าอาจจะร่วมกับใครได้ถ้าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราพูดมาเสมอ ชัดเจนมาตลอด ว่าจะไม่มีทางจับมือกับพรรคทหารจำแลงไม่ว่าจะเป็นพลังประชารัฐหรือรวมไทยสร้างชาติ ไม่มีวงเล็บ คำตอบเดียวของพรรคก้าวไกล คือพรรคร่วมฝ่ายค้านในตอนนี้คือคำตอบที่ดีที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน” 

พื้นที่ส.ส.เชียงใหม่ ครั้งนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะมีการชิงชัย 10-11 เขต เพราะต้องผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่จะชี้ขาด ในวันที่ 3 มี.ค.นี้ ถึงปมนับรวมราษฎรไม่มีสัญชาติไทย จะนำมาคำนวณส.ส.-แบ่งเขตเลือกตั้งหรือไม่ เพราะหากไม่นับต้องแบ่งเขตใหม่ 8 จังหวัด

โดยหากมีการแบ่งเขตใหม่ โดยไม่นับรวมราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทยจะทำให้ 8 จังหวัดมีความเปลี่ยนแปลง คือ 4 จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส.ลดลง ประกอบไปด้วย 1. ตาก,2. เชียงราย ,3. เชียงใหม่ และ 4. สมุทรสาคร 

ส่วนจังหวัดที่จำนวน ส.ส. เพิ่ม คือ 1. อุดรธานี ,2. ลพบุรี ,3. นครศรีธรรมราช และ 4. ปัตตานี

ทั้งนี้ การคำนวณโดยนำเฉพาะจำนวนราษฎรสัญชาติไทยทั้งชายและหญิงทั่วประเทศ 65,106,481 หากด้วย 400 เขต จะมีค่าเฉลี่ยประชากรต่อ 1 เขต 162,766 ซึ่งเดิมค่าเฉลี่ยที่นับรวมราษฎรที่นับบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วยคือ 165,226 คนต่อเขต

ถ้าไม่นับรวมราษฎรที่ไม่มีสัญชาติ จะทำให้ พื้นที่ จ.เชียงใหม่ มี ส.ส.ลดลงเหลือเพียง 10 เขต

แน่นอนว่า 10 เขต ย่อมเป็นที่ที่การต่อสู้กับของสองพรรค ปีกประชาธิปไตยด้วยกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของพื้นที่ ยกจังหวัดมาโดยตลอด อย่าง 'เพื่อไทย' เพราะถ้าหายไปเพียง 1 เขต ก็เหมือนถูกลูบคมถึงประตูหน้าบ้าน

ส่วนอีกพรรคหนึ่งปีกประชาธิปไตยด้วยกัน คือ 'ก้าวไกล' ประกาศจะแย่งแต้มตัดแต้มเอา ส.ส.มาให้ได้อีกครั้งในการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะหากได้แม้แต่ 1 ที่นั่งขึ้นไปก็ถือว่าเป็นมิติใหม่ของ 'ก้าวไกล' ที่ต้องการปักธงทางความคิดให้กับประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง