ไม่พบผลการค้นหา
รัฐบาลเตรียมส่งรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยต่อ UNHRC ภายในวันที่ 9 ส.ค.ก่อนแถลงช่วงเดือน พ.ย. ที่สมาพันธรัฐสวิส ยกเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบความยั่งยืนด้านสิทธิมนุษยชนไทย

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 3 ส.ค. 2564 มีมติรับทราบความคืบหน้ากระบวนการจัดทำและนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (Universal Periodic Review: URP)  ตามที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: UNHRC)  ได้กำหนดให้ประเทศไทยจัดส่งรายงาน URP รอบที่ 3 ภายในวันที่ 9 ส.ค. 2564 และเข้าร่วมการนำเสนอรายงานในช่วงการประชุมคณะทำงาน URP สมัยที่ 39 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 – 12 พ.ย. 2564 ณ สมาพันธรัฐสวิส

นายกฯ ซิโนฟาร์ม

สำหรับสาระสำคัญของรายงานในแต่ละหัวข้อ มีดังนี้

ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ ได้แก่ ความสำเร็จและความท้าทายบนเส้นทางของการเสริมพลังและการพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยระบุว่าความยั่งยืนคือหัวใจของทุกสิ่งที่ประเทศไทยพยายามทำ โดยเชื่อมโยงกับประชาธิปไตย สันติภาพ และสิทธิมนุษยชน เพื่อสื่อถึงมุมมองในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมทุกด้าน บทบาทของภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน อาสาสมัคร ผู้หญิงและเด็ก และภาคส่วนอื่น ๆ ซึ่งความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อ เมื่อทุกคนได้รับการส่งเริมและมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในสังคมและการปกครอง

นอกจากนี้ จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ตระหนักว่า ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการฟื้นตัวของสังคมและเศรษฐกิจสะท้อนอยู่ในทุกมิติ รวมทั้งสิทธิมนุษยชนด้วย

รายงานยังระบุว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานของแนวทางการดำเนินการของประเทศไทย โดยเน้นการเสริมสร้างความยืดหยุ่นและการส่งเสริมความยั่งยืนในการตอบสนองต่อวิกฤติในระดับบุคคล ชุมชน และประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้แบ่งปันประสบการณ์ในการปรับใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับประเทศอื่นด้วย

ดอน.jpg

ในหัวข้อ : กลไกด้านสิทธิมนุษยชน รายงานได้ยกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ขึ้นมานำเสนอ ดังนี้

กสม.เป็นองค์กรอิสระที่ดำเนินงานตาม รธน. และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 รวมทั้งสอดคล้องกับหลักการปารีส ซึ่ง กสม. มีอำนาจหน้าที่ เช่น ตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกกรณี จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ แก้ไขและปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของสิทธิมนุษยชนให้แก่ทุกภาคส่วนของสังคม เป็นต้น

นอกจากนี้ กสม. ได้เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานภูมิภาคแห่งแรกในจังหวัดสงขลา ซึ่งมีภารกิจครอบคลุม 14 จังหวัด รวมทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งความคิดริเริ่มนี้สอดคล้องกับหลักการปารีสที่กำหนดให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพิ่มการเข้าถึงสำหรับสาธารณะ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล

ตำรวจ กระสุนยาง ม็อบ คาร์ม็อบ 1 สิงหาคม 64 -6DCB-463A-B1FD-646282F396C8.jpeg

ส่วนการดำเนินการและทิศทางในอนาคต รายงานระบุว่า รัฐบาลได้สนับสนุนแพลตฟอร์มการสื่อสารที่เปิดกว้างและเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนและยังคงรักษาสิทธิของประชาชนในเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งส่งผลให้การส่งเสริมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการสร้างความไว้วางใจระหว่างรัฐบาลกับสาธารณชนมีความสำคัญยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลยังพยายามปรับปรุงกฎหมายและแนวปฏิบัติเพื่อให้แรงงานโยกย้ายถิ่นฐานมีสิทธิเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานเทียบเท่ากับคนไทย รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานภาครัฐและประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของสังคม

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนผ่านกลไกระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนและกรอบอื่นๆ ในอาเซียน รวมทั้งเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์และกลุ่มเพื่อนต่อความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งกลไกเหล่านี้รวมถึงกลไกที่จะสร้างขึ้นใหม่จะมีความสำคัญในการรักษาผลสำเร็จที่ได้มาแล้วและในการแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพในขณะเดียวกันก็จะส่งเสริมความร่วมมือและเสริมสร้างศักยภาพเพื่อพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศ ภูมิภาค และทั่วโลก