ไม่พบผลการค้นหา
ป้ายผ้าโผล่กระทรวงสาธารณะสุข ข้อความ "คุมเชื้อให้ดีเหมือนคุมม็อบ-ปัญหาที่ใหญ่กว่าโควิดก็คือประยุทธ์" หลังสถานการณ์โควิด-19 กลับมาระบาดระลอก 2 ด้าน 'อนุทิน' ร่ายกวีอวยพรปีใหม่ให้กำลังใจหมอผ่านเฟซบุ๊ก

ภาพป้ายผ้าข้อความต่างๆ อาทิ "คุมเชื้อให้ดีเหมือนคุมม็อบ, ปัญหาที่ใหญ่กว่าโควิดก็คือประยุทธ์, หนูการ์ดตก, COVID มาอีกรอบแต่ประยุทธ์ยังอยู่?" ที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งนำไปแขวนบนป้ายสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ถูกเผยแพร่ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ เครือข่ายคนรุ่นใหม่นนทบุรี บรรยายว่า "ป้ายปริศนาโผล่ กระทรวงสาธารณสุข แอดเห็นเลยโพสต์ให้ดูนะครับเสี่ยยยยหนู" หลังสถานการณ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โรค "โควิด-19" กลับมาระบาดระลอก 2 ซึ่งก่อนหน้านี้ป้ายดังกล่าวเคยถูกนำไปแขวนไว้บนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา

133499432_225263262369930_1589419011491692439_n.jpg132631739_225262339036689_3938436032883951045_n.jpg

ขณะเดียวกันช่วงเช้าของวันนี้ (26 ธ.ค. 63) เฟซบุ๊กแฟนเพจ อนุทิน ชาญวีรกูล ซึ่งเป็นเพจของ 'อนุทิน' รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข โพสต์บทกวีให้กำลังใจและอวยพรปีใหม่ให้กับข้าราชการและหมอผู้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว

"โควิดร้ายก็ต้องพ่ายพลังหมอ สาสุขสู้ไม่ย่อท้อปราบโรคร้าย ใจแน่วแน่ทุ่มกระหน่ำทั้งร่างกาย เราทั้งหลายต้องประสบแต่โชคดี"

132931850_3989419717759546_7807620872675497862_o.jpg
  • บทกวีของของ 'อนุทิน' รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ที่ถูกเผยแพร่ในเฟซบุ๊กแฟนเพจ

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ข้อกำหนด 'พ.ร.ก.ฉุกเฉิน' ห้ามชุมนุม-เข้าพื้นที่เสี่ยง

วันนี้ (26 ธ.ค. 63) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

มีเนื้อหาว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 8 จนถึงวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 นั้น โดยที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันและระงับยับยั้งการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด -19) มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวได้ผลดีขึ้นเป็นลำดับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อปัจจุบันพบการระบาดของโรคระลอกใหม่ขึ้นในบางเขตพื้นที่ รัฐบาลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการกระชับและยกระดับบรรดามาตรการต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อเข้าแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันมิให้เกิดการระบาดลุกลามเป็นวงกว้างต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรี จึงออกข้อกำหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลาย ได้แก่

1. การห้ามใช้หรือเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค

2. การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค

3. การห้ามชุมนุม ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัดหรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย

4. มาตรการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ

5.การปฏิบัติและบังคับใช้มาตรการป้องกันโรค

และ 6. การประสานงาน ศปก.ศบค. ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้อำนวยการศูนย์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยการขับเคลื่อน เร่งรัด และติดตามการปฏิบัติงานของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :