ไม่พบผลการค้นหา
รัฐบาลรัสเซียและคิวเคยพยายามแบน Telegram มาก่อนหน้ารัฐบาลไทย แต่ไม่สำเร็จ ขณะที่รัฐบาลจีนก็พยายามป่วนการใช้งาน Telegram เมื่อเกิดม็อบฮ่องกง

การแบนแอปพลิเคชัน Telegram ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก โดยเมื่อ เม.ย.2561 ศาลรัสเซียมีคำสั่งปิดกั้นการใช้งานแอปพลิเคชันเทเลแกรม หลังจากทางเทเลแกมปฏิเสธที่จะส่งข้อมูลการเข้ารหัสของผู้ใช้แอปพลิเคชันนี้ให้รัฐบาลรัสเซีย โดยคำสั่งดังกล่าวเป็นผลจากการที่รัฐบาลรัสเซียร้องเรียนไม่ให้มีการใช้งานTelegram ในรัสเซีย จนกว่ารัฐบาลรัสเซียจะหาทางจัดการข้อมูลการเข้ารหัสของแอปพลิเคชันดังกล่าวได้ 

หลังจากคำสั่งศาล 'โรสคอมนาดซอร์' หน่วยงานเฝ้าระวังการสื่อสารของรัสเซียพยายามปิดกั้นการสื่อสารของ Telegram ภายในรัสเซียด้วยการปิดกั้นพื้นที่การใช้งานในแต่ละพื้นที่ของประเทศ นอกจากนี้ทางการรัสเซียยังมีคำสั่งให้ปิดกั้นการใช้งานจากหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (IP address) และมีคำสั่งให้ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจัดการปิดกั้นการเข้าถึงหรือการใช้งาน Telegram  

อย่างไรก็ตามหลังจากทางการรัสเซียพยายามปิดกั้นการใช้งานแอปพลิเคชัน Telegram มานานกว่า 2 ปี แต่ก็พบว่าไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก Telegram ได้ผูกการให้บริการกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่าง google และ Amazon ซึ่งหากจะปิดหรือปิดกั้นการใช้งาน Telegram จะต้องปิดแพลตฟอร์ม Google ด้วยเช่นกัน ซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงการปิดกั้นการใช้งานของประชาชน แม้ว่ารัสบาลรัสเซียจะพยายามปิดกั้นการใช้งานแอปฯ ดังกล่าว ประชาชนรัสเซียยังคงใช้งาน Telegram กันอย่างแพร่หลายรวมถึงบุคคลในรัฐบาลรัสเซียด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้เมื่อกลางปี 2563 โรสคอมนาดซอร์กล่าวว่า รัฐบาลรัสเซียอาจจะปลดแบน Telegram หลังจากที่รัฐบาลพยายามปิดกั้นการสื่อสารจากแอปพลิเคชันดังกล่าว

'คิวบา' รัฐบาลสั่งปลดแบน เพราะประชาชนประท้วง

ประชาชนในประเทศคิวบากลับมาใช้แอปพลิเคชัน Telegram ได้อีกครั้งหลังจากประชาชนในประเทศร้องเรียนพร้อมประณามการกระทำของรัฐบาลที่ปิดกั้นการใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าวเป็นจำนวนมากตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ที่ผ่านมารัฐบาลคิวบามีความพยายามปิดกั้นการใช้งาน Telegram ภายในประเทศตามนโยบายการเซ็นเซอร์การสื่อสารของรัฐ โดยทำให้ประชาชนเชื่อว่าการใช้งาน Telegram ไม่ได้นั้นเกิดจากปัญหาของการเชื่อต่อแอปพลิเคชันดังกล่าว 

อย่างไรก็ตาม ทาง Telegram ออกมากล่าวว่า ปัญหาการใช้งาน Telegram ในคิวบานั้นไม่ได้เกิดจากทางแอปพลิเคชัน

นอกจาก Telegram แล้ว รัฐบาลคิวบายังปิดกั้นการใช้งาน ระบบ VPN ภายในประเทศ เพื่อปิดกั้นไม่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างอิสระ

Telegram ปลอดภัยจริงหรือ

Telegram เป็นแอปพลิเคชันการสื่อสารที่ได้รับการรีวิวว่า เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันสื่อสารที่ปลอดภัยที่สุด เนื่องจากการสร้างบัญชีผู้ใช้งานสามารถไม่เปิดเผยข้อมูลต่างๆขณะใช้งานได้ และยังมีการตั้งค่าให้มีการเข้ารหัสการใช้งานซ้อนกันถึง 2 ครั้งเพื่อการยืนยันตัวตน

privacyinternational ได้แนะนำวิธีการตั้งค่าบัญชี Telegram เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าไม่ให้ผู้อื่นเห็นตัวตนได้ในการใช้งาน โดยเลือก 'Nobody' ทั้งการตั้งค่าให้เห็นบัญชีเบอร์โทรศัพท์ที่ลงชื่อใช้งาน รวมไปถึงการปิดกั้นไม่ให้ผู้อื่นเห็นการออนไลน์ของบัญชีผุ้ใช้งานได้เช่นกัน  

ที่มา alkhaleejtoday / wired / AP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง