ไม่พบผลการค้นหา
ระเบิดศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจปีที่ 4 มีคิวที่ ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน แถมจะได้พรรคเศรษฐกิจไทย ของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า มาร่วมผสมโรงชำแหละ 1 นายกรัฐมนตรี และ 10 รัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติขึ้นบัญชีไม่ไว้วางใจ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 19-22 ก.ค. 2565 โดยนัดลงมติในวันที่ 23 ก.ค.นี้

ญัตติซักฟอกครั้งนี้เป็นภาคสุดท้ายของสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 และปีสุดท้ายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ภายใต้แคมเปญที่พรรคฝ่ายค้านนำโดย 'พรรคเพื่อไทย' ปลุกกระแสก่อนเปิดประชุมสภาฯ ในชื่อ 'ยุทธการเด็ดหัว สอยนั่งร้าน'

การอภิปรายของฝ่ายค้านจะเน้นพุ่งเป้าภายใต้กรอบข้อกล่าวหาหลัก 6 ข้อ 

1) ความผิดพลาดบกพร่องล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน

2) จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และกระทำผิดต่อกฎหมาย ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรม

3) ทุจริต ส่อทุจริต เอื้อประโยชน์

4) ไม่ปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา 

5) ละเมิดสิทธิมนุษยชน

และ 6) ทำลายระบอบประชาธิปไตย และระบบรัฐสภา

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการคว่ำรัฐมนตรีให้พ้นจากตำแหน่งด้วยญัตติซักฟอก อาจเป็นไปได้ยาก

เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจตลอด 3 ครั้งที่ผ่านมา 'ฝ่ายค้าน' เสียงไม่เพียงพอในการคว่ำรัฐมนตรีที่ถูกยื่นบัญชีไว้ อีกทั้งยังเจอเสียงของงูเห่าในพรรคฝ่ายค้านเองที่คอยอุ้มชูให้รัฐมนตรีรอดพ้นข้อกล่าวหาไปในทุกครั้ง

'วอยซ์' ขอย้อนไปเมื่อศึกอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล ตลอด 3 ครั้งที่ผ่านมา โดยครั้งแรก ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 24-26 ก.พ. 63 และลงมติในวันที่ 27 ก.พ. 2563  

  • ซักฟอกภาคแรก 'ธรรมนัส' ถูกไม่ไว้วางใจมากสุด

การลงมติไม่ไว้วางใจครั้งนั้น พรรคร่วมฝ่ายค้านยกเว้น ส.ส.อดีตพรรคอนาคตใหม่ ประกาศไม่ร่วมลงมติ โดยพรรคฝ่ายค้านมองว่าถูกตัดสิทธิการอภิปรายในช่วงท้าย ทำให้วอล์กเอาต์และไม่ใช้สิทธิลงมติ ทำให้มี ส.ส.จากอดีตพรรคอนาคตใหม่เท่านั้นอยู่ร่วมแสดงตนเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจในครั้งนั้น

ผลการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล จำนวน 6 ราย รอดพ้นจากการถูกลงมติให้พ้นตำแหน่ง ประกอบด้วย  

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่ไว้วางใจ 49 ไว้วางใจ 272 งดออกเสียง 2

2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ไม่ไว้วางใจ 50 ไว้วางใจ 277 งดออกเสียง 2

3.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไม่ไว้วางใจ 54 ไว้วางใจ 272 งดออกเสียง 2

4.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไม่ไว้วางใจ 54 ไว้วางใจ 272 งดออกเสียง 2

5.ดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ไม่ไว้วางใจ 55 ไว้วางใจ 272 งดออกเสียง 2

6.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ไม่ไว้วางใจ 55 ไว้วางใจ 269 งดออกเสียง 7

ศึกครั้งนั้น ร.อ.ธรรมนัส ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจน้อยที่สุด และได้รับเสียงไม่ไว้วางใจมากที่สุด เท่ากับ ดอน ปรมัตถ์วินัย จำนวน 55 เสียง

ธรรมนัส สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ ลงมติ928-BEBC-3F20F269B9C1.jpeg
  • ซักฟอกภาค 2 ยื่นถล่ม 10 รมต. 'อนุทิน' ได้คะแนนไว้วางใจเหนือ 'ประยุทธ์'

ถัดจากนั้นมา 1 ปีศึกซักฟอกภาคที่ 2 ในพรรคร่วมรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ฝ่ายค้านเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล เมื่อวันที่ 16-19 ก.พ. 2564 และลงมติเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2564 โดยมีรัฐมนตรีที่ถูกซักฟอกมากถึง 10 คน ผลการลงมติ มีดังนี้ 

1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม มีคะแนนไว้วางใจ 272 ต่อ 206 งดออกเสียง 3

2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มีคะแนนไว้วางใจ 274 ต่อ 204 งดออกเสียง 4

3.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีคะแนนไว้วางใจ 275 ต่อ 201 งดออกเสียง 6

4.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีคะแนนไว้วางใจ 268 ต่อ 207 งดออกเสียง 7

5.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคะแนนไว้วางใจ 272 ต่อ 205 งดออกเสียง 3

6.ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีคะแนนไว้วางใจ 258 ต่อ 215 งดออกเสียง 8

7.สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีคะแนนไว้วางใจ 263 ต่อ 212 งดออกเสียง 5 ไม่ลงคะแนน 1

8.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีคะแนนไว้วางใจ 268 ต่อ 201 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 1

9.นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย มีคะแนนไว้วางใจ 272 ต่อ 206 งดออกเสียง 4

10.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีคะแนนไว้วางใจ 274 ต่อ 199 งดออกเสียง 5 ไม่ลงคะแนน 1

ศึกซักฟอกครั้งที่ 2 อนุทิน ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจมากที่สุด 275 เสียง ขณะที่ ณัฏฐพุล ทีปสุวรรณ ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจน้อยที่สุด 258 เสียง

ประยุทธ์ อนุทิน สภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ 851FE2727.jpeg
  • ซักฟอกภาค 3 ฝ่ายค้านเปิดแผลทำ 'ประยุทธ์'ถูกไม่ไว้วางใจมากสุุด

ศึกซักฟอกภาคที่ 3 เมื่อวันที่ 31 ส.ค.- 3 ก.ย. 2564 และลงมติในวันที่ 4 ก.ย. 2564 ครั้งนั้นฝ่ายค้านพุ่งเป้าถล่มนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวม 6 คน 

ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนั้น ฝ่ายค้านยกข้อกล่าวหาไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ อย่างรุนแรงว่า "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพวกพ้อง ไม่ยึดประโยชน์ของประเทศและประชาชนโดยส่วนรวมเป็นที่ตั้ง “ใจดำ” ทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน ไม่เห็นใจในความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน 

"จากความโอหังและการเสพติดในอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จนทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ในสภาพของคน เป็นโรค “โอหังคลั่งอำนาจ” (Hubris Syndrome) ไม่อยู่ในภาวะที่จะเป็นผู้นำประเทศได้อีกต่อไป"

ปิดฉากซักฟอกภาคที่ 3 ในขณะนั้นมี ส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ 482 คน มติไม่ไว้วางใจจะต้องมีมากกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส.ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่คือ 242 เสียง ผลการลงมติไม่มีรัฐมนตรีคนใดพ้นจากตำแหน่ง 

1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไว้วางใจ 264 เสียง ไม่ไว้วางใจ 208 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง ผู้ลงมติ 475 คน

2.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ไว้วางใจ 269 เสียง ไม่ไว้วางใจ 196 เสียง งดออกเสียง 11 เสียง ผู้ลงมติ 476 คน

3.สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ไว้วางใจ 263 เสียง ไม่ไว้วางใจ 201 เสียง งดออกเสียง10 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ผู้ลงมติ 475 คน

4.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไว้วางใจ 269 เสียง ไม่ไว้วางใจ 195 เสียง งดออกเสียง 10 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ผู้ลงมติ 475 คน

5.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไว้วางใจ 270 เสียง ไม่ไว้วางใจ 199 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ผู้ลงมติ 478 คน

6.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไว้วางใจ 267 เสียง ไม่ไว้วางใจ 202 เสียง งดออกเสียง 9 เสียง ผู้ลงมติ 478 คน คน

ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งที่ 3 เกิดขึ้นท่ามกลางความรอยร้าวยังหนักในพรรคพลังประชารัฐ เพราะเกิดกระแสข่าวอย่างหนักตลอดการอภิปรายว่า กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐในขณะนั้น จะโหวตคว่ำไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์

แต่ที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ ก็รอดพ้นเสียงคว่ำไปได้ เพราะได้คะแนนเสียงไม่ไว้วางใจมากที่สุด 208 เสียง แต่คะแนนไม่ไว้วางใจไม่ถึงกึ่หนึ่ง ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่พ้นจากตำแหน่ง และ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้เสียงไว้วางใจน้อยที่สุดเป็นลำดับที่ 2 คือ 264 เสียง 

พรรคก้าวไกล ขณะนั้นมี ส.ส. 53 คน มีส.ส.กลุ่มงูเห่า คือ คารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ลงมติไว้วางใจนายกฯ ขณะที่ ขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี พีรเดช คำสมุทร เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย ไม่ลงมติ พรรคประชาชาติ มี อนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี ลงมติไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์

ส่วน สุชาติ ได้เสียงไว้วางใจน้อยที่สุด จำนวน 263 เสียง ด้าน เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรีที่ได้คะแนนเสียงไว้วางใจมากที่สุด 270 เสียง 

ชลน่าน สุทิน ประเสริฐ  ชัยธวัช นิคม ก้าวไกล เพื่อไทย ฝ่ายค้าน ซักฟอก อภิปรายไม่ไว้วางใจ -A5DB-0D99BD5A8089.jpegชลน่าน ฝ่ายค้าน ประเสริฐ อภิปรายไม่ไว้วางใจ BF-7286584F8DA2.jpeg
  • ภาค 4 ฝ่ายค้านปลุก 'เด็ดหัว สอยนั่งร้าน' อัด 'ประยุทธ์' ผู้นำพิการทางสมอง

ศึกซักฟอกภาคที่ 4 มีคิวในวันที่ 19-22 ก.ค. 2565 ลงมติไม่ไว้วางใจ 23 ก.ค.นี้ โดยมีรัฐมนตรีที่ถูกยื่นบัญชีไว้มากกว่าทุกครั้งถึง 11 คน พร้อมข้อกล่าวหาที่ดุเดือด

1) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ไร้ภูมิปัญญา ไร้องค์ความรู้ ไร้ความสามารถ ไร้ประสิทธิภาพ ไร้จิตสำนึกรับผิดชอบ มีลักษณะความเป็นผู้นำที่มีความพิการทางสมอง

2) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ไม่ซื่อสัตย์สุจริต เอื้อพวกพ้อง ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตเกิดขึ้น

3) อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข บริหารราชการแผ่นดินล้มเหลวผิดพลาดบกพร่อง สนับสนุนให้มีการทำร้ายระบอบประชาธิปไตยและระบบรัฐสภา 

4) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จงใจไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย มีความไม่ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ สนับสนุนให้มีการแสวงหาผลประโยชน์

5) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดซึ่งธรรมาภิบาล บริหารราชการแผ่นดินผิดพลาดบกพร่องล้มเหลว

6) ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ใช้ตำแหน่งหน้าที่เอื้อผลประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้อง

7) ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บริหารราชการแผ่นดินผิดพลาดบกพร่องล้มเหลวอย่างร้ายแรง ทำให้เกิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงขัดต่อมาตรฐานจริยธรรม มีความเสื่อมเสียทางศีลธรรมอันดี

8) จุติ ไกรฤกษ์ รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขาดความรู้ความสามารถล้มเหลวในการดูแลและพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ ปล่อยให้ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย และเสียโอกาสในการดำรงชีพอย่างมีความสุข 

9) สันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง มีพฤติกรรมทุจริตต่อหน้าที่ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต และแสวงหาประโยชน์ในหน่วยงานที่ตนเองดูแล

10) นิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ไร้ความรู้ความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน มีการทุจริตต่อหน้าที่ ใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รู้เห็นเป็นใจให้มีการทุจริต

11) สุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน แสวงหาผลประโยชน์ในหน้าที่ โดยเฉพาะด้านแรงงาน

คณะรัฐมนตรี ประยุทธ์ ประวิตร วิษณุ อนุทิน -446C-9569-385AD32AC7C3.jpeg
  • เสียงรัฐบาลยังเหนียวแน่น 'เศรษฐกิจไทย' ถอนตัวไม่กระทบซักฟอก

วิเคราะห์เสียง ส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาล หลังพรรคเศรษฐกิจไทย นำโดย ร.อ.ธรรมนัส ประกาศถอนตัวจากพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้พรรคร่วมรัฐบาล มีเสียง ส.ส.เหลือเพียง 253 คน จากทั้งหมด 17 พรรคการเมือง ดังนี้

พรรคร่วมรัฐบาล 253 คน

1.พลังประชารัฐ 97 คน

2.ภูมิใจไทย 62 คน 

3.ประชาธิปัตย์ 52 คน

4.ชาติไทยพัฒนา 12 คน

5.เศรษฐกิจใหม่ 6 คน

6.รวมพลังประชาชาติไทย 5 คน

7.พลังท้องถิ่นไท 5 คน

8.ชาติพัฒนา 4 คน

9.รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 คน

10.พรรคพลังชาติไทย 1 คน

11.พรรคประชาภิวัฒน์ 1 คน

12.พรรคเพื่อชาติไทย 1 คน

13.ครูไทยเพื่อประชาชน 1 คน

14.พลเมืองไทย 1 คน

15.ประชาธิปไตยใหม่ 1 คน

16.พลังธรรมใหม่ 1 คน

17.ไทรักธรรม 1 คน

สำหรับพรรคเศรษฐกิจใหม่ 1คน นิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ มีท่าทีที่โหวตตามมติฝ่ายค้านในช่วงหลัง คาดว่าจะโหวตในทิศทางเดียวกับพรรคร่วมฝ่ายค้านในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบนี้

พรรคร่วมฝ่ายค้าน 208 คน หักเสียงงูเห่า จำนวน 13 คน เหลือ ส.ส. 195 คน

1.พรรคเพื่อไทย 132 คน (งูเห่าจักรพรรดิ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย ธีระ ไตรสรณกุล ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย นิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก พรรคเพื่อไทย ผ่องศรี แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย วุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก พรรคเพื่อไทย และสุชาติ ภิญโญ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย)

2.พรรคก้าวไกล 51 คน (เกษมสันต์ มีทิพย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี  คารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พีรเดช คำสมุทร ส.ส.เชียงราย เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย)

3.พรรคเสรีรวมไทย 10 คน

4.พรรคประชาชาติ 7 คน (งูเห่า อนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี)

5.พรรคเพื่อชาติ 6 คนุ

6.พรรคพังปวงชนไทย 1 คน

7.พรรคไทยศรีวิไลย์ 1 คน

พรรคเศรษฐกิจไทย 16 คน (ฝ่ายค้านอิสระ)

  • ยุทธการ 'เด็ดหัว' ส่อสอยนั่งร้านไม่พัง แต่เปิดแผลก่อนเลือกตั้งใหญ่

ล่าสุุด ยอดที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ มี ส.ส.ปฏิบัติหน้าที่ได้จำนวน 477 คน ดังนั้น มติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีจะต้องมีมากกว่า 239 เสียง จึงจะทำให้นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีที่ถูกยื่นพ้นจากตำแหน่งได้

เมื่อดูเสียง ส.ส.ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน 195 เสียง (หักเสียง ส.ส.งูเห่า) และได้เสียงของ 16 ส.ส.พรรคเศรษฐกิจไทยร่วมด้วยจะทำให้มีเสียงของพรรคฝ่ายค้านเพิ่มขึ้น รวมจำนวน 211 คน ซึ่งเสียงที่จะทำให้ 11 รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ต้องมีเสียงถึง 240 เสียง 

ในขณะที่กลุ่ม 16 พรรคเล็ก ที่มี ส.ส.ในกลุ่มอยู่ประมาณ 17 เสียง ดังนี้

พรรคเล็ก 5 เสียง พรรคละ 1 เสียง ประกอบด้วย คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติไทย พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทรักธรรม ปรีดา บุญเพลิง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน สุรทิน พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปไตยใหม่ และบุญญาพร นาตะธนภัทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชาติไทย

พรรคพลังประชารัฐ 1 เสียง พิเชษฐ สถิรชวาล

พรรคชาติพัฒนา 2 เสียงคือ สมัคร ป้องวงษ์ ส.ส.สมุทรสาคร ดล เหตระกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

พรรคพลังท้องถิ่นไท 3 เสียง คือ จารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี พรรคพลังท้องถิ่นไท นพดล แก้วสุพัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง คือ ดำรงค์ พิเดช ส.ส.บัญชีรายชื่ ยรรยงก์ ถนอมพิชัยธำรง ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 เสียง คือ ภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ สุภดิช อากาศฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ มารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และจิราพร นาคดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ

  • ได้เวลา 'ภูมิใจไทย' โชว์พลังเบอร์ 2 ของพรรคร่วมรัฐบาล

ในจำนวนกลุ่ม 16 นี้ ที่มี ส.ส. 17 เสียง ก็ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะโหวตไว้วางใจให้กับ 11 รัฐมนตรีทั้งหมดหรือไม่

เพราะหาก ส.ส.กลุ่มนี้โหวตไม่ไว้วางใจไปในทิศทางเดียวกับฝ่ายค้านก็จะทำให้ ฝ่ายค้านมีเสียงรวมจำนวน 229 เสียง ซึ่งยังไม่เพียงพอในการ 'เด็ดหัว สอยนั่งร้าน'

ยังไม่นับรวม เสียง ส.ส.งูเห่าที่พรรคภูมิใจไทย ฝากไว้กับพรรคฝ่ายค้านอีกไม่ต่ำกว่า 10 เสียง เรียกว่า ซักฟอกปีที่ 4 ยังทำให้ 'อนุทิน ชาญวีรกูล' แสดงพลัง 'พรรคภูมิใจไทย' โชว์เสียงงูเห่าที่ดูดเข้าพรรคได้มากที่สุดในสภาฯ แถมยังสร้างอำนาจต่อรองกับ 'พล.อ.ประยุทธ์’ ได้มากก่อนจะนับถอยหลังเลือกตั้งใหญ่ในปี 2566

อีกทั้งแม้ 'พล.อ.ประยุทธ์' จะไม่ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มก๊วน ร.อ.ธรรมนัส แต่เชื่อได้ว่าจะได้รับความไว้วางใจจากพรรคภูมิใจไทยที่มี ส.ส.ในมือและผสมด้วยเสียงงูเห่ากว่า 60 เสียง

ขณะเดียวกันปฏิบัติการเดินเกมต่อรองในหมู่พรรคเล็กจะต้องเกิดขึ้นก่อนลงมติไม่ไว้วางใจ เพราะคงไม่มีรัฐมนตรีคนใดที่ถูกขึ้นบัญชีซักฟอก อยากมีแผลได้คะแนนบ๊วยในศึกซักฟอกภาคสุดท้ายก่อนจะนับถอยหลังเลือกตั้งใหญ่

อนุทิน -FB7B-49AC-8125-3EC9CCE5D9A1.jpeg

หมายเหตุ - ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน 477 คน มติไม่ไว้วางใจที่จะทำให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งจะต้องมากกว่า 239 เสียง 

งูเห่าฝ่ายค้าน 13 เสียง ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย 7 คน

จักรพรรดิ ไชยสาส์น ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย

จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย

ธีระ ไตรสรณกุล ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย

นิยม ช่างพินิจ ส.ส.พิษณุโลก พรรคเพื่อไทย

ผ่องศรี แซ่จึง ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคเพื่อไทย

วุฒิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก พรรคเพื่อไทย

สุชาติ ภิญโญ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย

พรรคก้าวไกล งูเห่า 5 คน

เกษมสันต์ มีทิพย์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

ขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี 

คารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

พีรเดช คำสมุทร ส.ส.เชียงราย 

เอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย

พรรคประชาชาติ 1 คน

อนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี

ธรรมนัส เศรษฐกิจไทย -41CF-8B89-20844BBFE64B.jpegธรรมนัส เศรษฐกิจไทย บุญสิงห์ D3B-4CDDF2EDE175.jpeg
  • ส.ส.พรรคเศรษฐกิจไทย 16 เสียง หยุดปฏิบัติหน้าที่ 1 เสียง

1. ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา 2.ไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชร 3.เกษม ศุภรานนท์ ส.ส.นครราชสีมา 4.สะถิระ เผือกประพันธุ์ ส.ส.ชลบุรี 5.บุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ

6.จีรเดช ศรีวิราช ส.ส.พะเยา 7.พรชัย อินทร์สุข ส.ส.พิจิตร 8.ปัญญา จีนาคำ ส.ส.แม่ฮ่องสอน 9.ธนะสิทธิ์ โควสุรัตน์ ส.ส.อุบลราชธานี 10.พล.ต.อ.ยงยุทธ เทพจำนงค์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

11.จอมขวัญ กลับบ้านเกาะ ส.ส.สมุทรสาคร 12.ธนัสถ์ ทวีเกื้อกูลกิจ ส.ส.ตาก 13.ภาคภูมิ บูลย์ประมุข ส.ส.ตาก 14.ยุทธนา โพธสุธน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 15.สมศักดิ์ คุณเงิน ส.ส.ขอนแก่น 16.ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์ ส.ส.สุรินทร์

17.ทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเศรษฐกิจไทย (หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.) ขณะที่ วัฒนา สิทธิวัง สอบตกเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4  

ส.ส.พรรคพลังประชารัฐที่ถูกขับพ้นพรรค อีก 3 คนไม่ไปพรรคเศรษฐกิจไทย แต่ไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย คือ เอกราช ช่างเหล่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ วัฒนา ช่างเหลา ส.ส.ขอนแก่น และ สมศักดิ์ พันธ์เกษม ส.ส.นครราชสีมา 

ธรรมนัส สุรทิน พรรคเล็ก งู กล้วย -AAE5-4B95-88D8-73400B6F2074.jpegพีระวิทย์ พิเชษฐ พรรคเล็ก -328F-43F7-8B0B-9A82F48556F1.jpegพิเชษฐ พีระวิทย์ พรรคเล็ก -BE24-487D-9ECC-C9473FEDB404.jpeg
  • เปิดอำนาจต่อรองพรรคเล็ก กลุ่ม 16 มี 18 ส.ส.

พรรค 1 เสียง รวม 5 เสียง ประกอบด้วย คฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติไทย พีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทรักธรรม ปรีดา บุญเพลิง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน สุรทิน พิจารณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปไตยใหม่ และ บุญญาพร นาตะธนภัทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชาติไทย 

พลังประชารัฐ 1 เสียง พิเชษฐ สถิรชวาล ส.ส.บัญชีรายชื่อ

รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 เสียง ดำรงค์ พิเดช ส.ส.บัญชีรายชื่อ   และยรรยงก์ ถนอมพิชัยธำรง ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

ชาติพัฒนา 3 เสียง

วัชรพล โตมรศักดิ์ ส.ส.นครราชสีมา 

สมัคร ป้องวงษ์ ส.ส.สมุทรสาคร 

ดล เหตระกูล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

พลังท้องถิ่นไท 3 เสียง

จารึก ศรีอ่อน ส.ส.จันทบุรี

กวินนาถ ตาคีย์ ส.ส.ชลบุรี 

นพดล แก้วสุพัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 

เศรษฐกิจใหม่ 4 เสียง

ภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ 

สุภดิช อากาศฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่

มารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่ 

จิราพร นาคดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเศรษฐกิจใหม่

อนุทิน รัฐสภา B131340D-0CA1-4C05-BAB2-DF4DFBD94B5D.jpegอนุทิน ภูมิใจไทย เอกราช ช่างเหลา -EFF7-4F15-BF5B-7CB191307D8B.jpegสมศักดิ์ พันธ์เกษม อนุทิน.jpgสมศักดิ์ พันธ์เกษม อนุทิน.jpg
  • 'ภูมิใจไทย' อุดมด้วยพลังดูด ส.ส.งูเห่ามากที่สุด

พรรคภูมิใจไทย กลายเป็นพรรคที่มีอำนาจต่อรองในพรรคร่วมรัฐบาลมากที่สุด เพราะขึ้นมาเป็นพรรคลำดับที่ 2 ในพรรคร่วมรัฐบาล โดยมี ส.ส.ทั้งหมด 64 คน ปฏิบัติหน้าที่ได้ 62 คน หลังการเลือกตั้งปี 2562 ได้ ส.ส.เข้าสภาฯ จำนวน 51 คน หลังการยุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคภูมิใจไทยกลายเป็นพรรคการเมืองที่ดูด ส.ส.เข้าพรรคได้มากที่สุดในสภาฯ 

ประเดิมดูด ส.ส. 1 คนหลังพรรคอนาคตใหม่ขับพ้นพรรค คือ ศรีนวล บุญลือ ส.ส.เชียงใหม่

ดูด ส.ส.จากพรรคอนาคตใหม่ 11 คนหลังยุบพรรคอนาคตใหม่ ปัจจุบันเหลือ 10 คน ประกอบด้วย 

1.วิรัช พันธุมะผล ส.ส.บัญชีรายชื่อ 2.สำลี รักสุทธี ส.ส. บัญชีรายชื่อ (ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยพ้นสมาชิกภาพ )3.ฐิตินันท์ แสงนาค ส.ส. ขอนแก่น 4.เอกการ ซื่อทรงธรรม ส.ส. แพร่ 5.กฤติเดช สันติวชิระกุล ส.ส.แพร่

6.กิตติชัย เรืองสวัสดิ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา 7.มณฑล โพธิ์คาย ส.ส. กทม. 8.โชติพิพัฒน์ เตชะโสภณมณี ส.ส..กทม. และ 9.อนาวิล รัตนสถาพร ส.ส. ปทุมธานี 

ดูด ส.ส.พรรคเพื่อไทย 1 คน คือ พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี

ดูด ส.ส.จากพรรคพลังประชารัฐ 3 คนที่ถูกพรรคพลังประชารัฐขับพ้นพรรค ประกอบด้วย สัมศักดิ์ พันธ์เกษม ส.ส.นครราชสีมา เอกราช ช่างเหลา ส.ส.บัญชีรายชื่อ วัฒนา ช่างเหลา ส.ส.ขอนแก่น

ยังไม่นับ ส.ส.2 คนที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ คือ ฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย และภูมิศิษฏ์ คงมี ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย

เพื่อไทย ประชุมรัฐสภา -EEE9-4077-8989-844E91B47CF2.jpegชลน่าน ประชุมสภา งบประมาณ -2337-42D0-9B95-CB966A620FBD.jpeg

จำนวน ส.ส.ในสภาฯ 485คน ปฏิบัติหน้าที่ได้ 477 คน

ส.ส.ที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ 7 คน

1.อนุรักษ์ ตั้งปณิธานนท์ ส.ส.มุกดาหาร พรรคเพื่อไทย

2.วิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ

3.ทัศนียา รัตนเศรษฐ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชารัฐ

4.ทัศนาพร เกษเมธีการุณ ส.ส.นครราชสีมา พรรคเศรษฐกิจไทย

5.ฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย

6.ภูมิศิษฏ์ คงมี ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย

7.ธณิกานต์ พรพงษาโรจน์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ

รอประกาศผลเลือกตั้งซ่อม ส.ส.ลำปาง เขต 4 จำนวน 1 คน

  • ส.ส.บัญชีรายชื่อที่พ้นสมาชิกภาพ ไม่สามารถเลื่อนลำดับ ส.ส.ได้

ธัญธ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (พ้นสมาชิกภาพ)

สำลี รักสุทธี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (พ้นสมาชิกภาพ)

ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ พ้นสมาชิกภาพ 11 คน

วินท์ สุธีรชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ลาออก)

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ลาออก)

  • ส.ส.ในสภาฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้ 477 คน

พรรคร่วมรัฐบาล 253 คน

1.พลังประชารัฐ 97 คน

2.ภูมิใจไทย 62 คน 

3.ประชาธิปัตย์ 52 คน

4.ชาติไทยพัฒนา 12 คน

5.เศรษฐกิจใหม่ 6 คน

6.รวมพลังประชาชาติไทย 5 คน

7.พลังท้องถิ่นไท 5 คน

8.ชาติพัฒนา 4 คน

9.รักษ์ผืนป่าประเทศไทย 2 คน

10.พรรคพลังชาติไทย 1 คน

11.พรรคประชาภิวัฒน์ 1 คน

12.พรรคเพื่อชาติไทย 1 คน

13.ครูไทยเพื่อประชาชน 1 คน

14.พลเมืองไทย 1 คน

15.ประชาธิปไตยใหม่ 1 คน

16.พลังธรรมใหม่ 1 คน

17.ไทรักธรรม 1 คน

พรรคร่วมฝ่ายค้าน 208 คน  

1.พรรคเพื่อไทย 132 คน

2.พรรคก้าวไกล 51 คน 

3.พรรคเสรีรวมไทย 10 คน

4.พรรคประชาชาติ 7 คน 

5.พรรคเพื่อชาติ 6 คนุ

6.พรรคพลังปวงชนไทย 1 คน

7.พรรคไทยศรีวิไลย์ 1 คน

ฝ่ายค้านอิสระ

พรรคเศรษฐกิจไทย 16 คน

อภิปรายไม่ไว้วางใจ งูเห่า สภา 978_8644493198777615800_n.jpg


ข่าวที่เกี่ยวข้อง