ไม่พบผลการค้นหา
'เพื่อไทย' โวยประธานรัฐสภาไม่บรรจุร่างแก้ รธน.เปิดทางตั้ง ส.ส.ร.ขอให้ทบทวนบรรจุเข้าสู่การประชุม ด้าน 'ชวน' แจงคำวินิจฉัยศาล รธน.ต้องทำประชามติก่อนจัดทำ รธน.ใหม่ ด้าน 'ไพบูลย์' ปัดขวางแก้ รธน. ด้าน 'ปชป.' หนุนโหวตรับ 13 ฉบับ

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 มิ.ย. 2564 ที่รัฐสภา ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาเรื่องด่วน ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา จำนวน 13 ฉบับ ที่เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาลและฝ่ายค้าน โดยทันทีที่เปิดประชุม นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน เพื่อไทย หารือต่อที่ประชุม ว่า ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยที่ประธานรัฐสภาไม่บรรจุญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ให้มี ส.ส.ร. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เข้าสู่การพิจารณา โดยอ้างว่าไม่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลไม่ได้ห้ามทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพียงแต่ต้องถามความเห็นของประชาชน ทั้งก่อนและหลังทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว ดังนั้นฝ่ายค้านเห็นว่าการยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ชอบด้วยกฎหมาย สามารถดำเนินการได้ และถือเป็นการเริ่มต้นจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากประชาชนโดยแท้ 

จากความเห็นฝ่ายกฎหมายของรัฐสภา ว่า มาตรา 256 หมวด 15/1 เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการพิจารณาเกิดกว่า ที่ศาลวินิฉัยปิดกั้นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา จึงขอให้ประธานรัฐสภา ทบทวน บรรจุวาระดังกล่าวให้สมาชิกพิจารณา แต่เชื่อว่า จะไม่มีการลงมติ เพื่อนำไปทำประชามตามกระบวนการก่อน

ขณะที่ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ย้ำว่า ตนเองเคารพความเห็นของทุกฝ่าย แต่ขอให้ทุกคนเคารพกติกา ระเบียบ แต่การบรรจุระเบียบวาระต้องผ่านการพิจารณาจากฝ่ายกฎหมายของรัฐสภา เพื่อจัดลำดับความสำคัญ และข้อกฎหมาย โดยเฉพาะการแก้ไข หมวด 15/1 ใน มาตรา 256 นั้น เป็นการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประกอบกับคำวินิจฉัยชองศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ชัดเจนว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้ทำประชามติถามความเห็นของประชาชนก่อน 

ชลน่าน รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ EE4FA25B-9E38-4C45-836F-9982A838B603.jpeg

ประธานรัฐสภา ยืนยันว่าตลอด 2 ปี ของการทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ไม่เคยมีใครบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้แต่นายกรัฐมนตรีก็ตาม ตนเองทำหน้าที่ด้วยความสุจริต เป็นธรรมตามกฎหมาย และไม่อยากถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่

ชวน รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 3D910E7-1026-4271-AAD3-E4954DA7C3D0.jpegสมคิด สมพงษ์ ประชุมรัฐสภา สภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ-58C6-4955-B432-36F7707F705F.jpeg

จากนั้น ที่ประชุมได้เริ่มให้ผู้ยื่นญัตติแต่ละฉบับได้นำเสนอหลักการและเหตุผลของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ

ไพบูลย์ รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2335FC7B-CC76-4BBC-AB23-2029AA89AF34.jpeg

ไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เสนอว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรค พปชร.เสนอนั้น เพื่อแสดงความจริงใจและจริงจังของพรรค พปชร.ในการแสวงหาจุดร่วมสงวนจุดต่าง ไม่ได้ขัดขวางอย่างที่ถูกกล่าวหา พรรค พปชร.ตั้งใจจะแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ให้สำเร็จ เพื่อให้เห็นว่า พรรค พปชร. และ ส.ว.ที่มักถูกกล่าวหาว่าขัดขวางหรือล้มการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ไม่จริง พรรค พปชร.หวังเป็นผู้นำในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ หากประเด็นแก้ไขเป็นประโยชน์กับประชาชน ไม่สร้างความขัดแย้ง ไม่เสียงบประมาณแผ่นดินจำนวนมาก เชื่อว่า ส.ว.จะช่วยกันสนับสนุนให้การแก้ไขสำเร็จลุล่วงได้ โดยเราต้องการแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติได้เดินหน้าต่อไป

ไพบูลย์ กล่าวว่า พรรค พปชร.เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 ประเด็น 13 มาตรา เช่น แก้ไขสิทธิด้านการประกันตัว ชุมชนมีสิทธิฟ้องหน่วยงานของรัฐ สิทธิเสรีภาพของประชาชน แก้ไขระบบการเลือกตั้ง ส.ส.ให้เป็น 2 ใบ

ส่วนการแก้ไขมาตรา 144 ว่าด้วยการให้สิทธิ ส.ส. ส.ว. และกรรรมาธิการ แปรญัตติงบประมาณ และมาตรา 185 ว่าด้วยให้สิทธิ ส.ส. แทรกแซงข้าราชการนั้น โดยภายหลัง ส.ว.ได้ทักท้วง ว่าการแก้ไขดังกล่าว จะทำให้หลักการตรวจสอบงบประมาณเสียหายในสาระสำคัญ ซึ่งส่วนตัวเห็นด้วยกับ ส.ว.หลายคน และได้พูดคุยทำความเข้าใจกับ ส.ส.แล้ว

ไพบูลย์ รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2335FC7B-CC76-4BBC-AB23-2029AA89AF34.jpeg

โดยหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาในวาระแรกแล้ว พรรค พปชร.จะเสนอให้กลับไปคงหลักการเข้มข้นเช่นเดิม โดยให้กลับไปใช้ตามมาตรา 144 และ 185 เช่นเดิม เพราะเข้าใจความห่วงใย ส.ว.เป็นอย่างดี ยืนยันว่า จะผลักกันให้กลับไปใช้หลักการเดิมในมาตรา 144 และ 185 ในชั้นกรรมาธิการ ขอให้สบายใจได้

ไพบูลย์ กล่าวว่า เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นได้จริง ลดความขัดแย้ง ไม่ต้องเสียงบประมาณกว่าพันล้านในการจัดทำประชามติ พรรค พปชร.หวังให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ผ่อนคลายความขัดแย้งเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อ ส.ส. ส.ว.จะให้ร่วมกันดูแลทุกข์สุขของประชาชน แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ ส.ส. ส.ว.

สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย เสนอว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ 1) หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิด้านกระบวนการยุติธรรม การให้อำนาจกรรมาธิการเรียกบุคคลให้มาชี้แจง สำหรับมาตราที่มีความสำคัญและจำเป็น เช่น กำหนดห้ามการทำรัฐประหาร ห้ามนิรโทษกรรมการรัฐประหารไว้ในรัฐธรรมนูญ ห้ามศาลยอมรับการรัฐประหาร โทษการทำรัฐประหารไม่มีอายุความ และกำหนดสิทธิการต่อต้านรัฐประหาร พร้อมปฏิเสธอำนาจที่ได้มาจากการรัฐประหารเป็นประเพณีการปกครองของไทย ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขความเคยชินของผู้นำเหล่าทัพไทย ในการทำรัฐประหาร

2) พรรคร่วมฝ่ายค้านยังเสนอแก้ไขระบบการเลือกตั้ง ให้ใช้ระบบเลือกตั้ง 2 ใบ เพราะระบบการเลือกตั้งในปัจจุบันนั้น มีปัญหาอย่างมาก โดยระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จะสะท้อนความต้องการของประชาชนได้ดีกว่า ไม่มีความยุ่งยาก 3)พรรคร่วมฝ่ายค้าน ยังเสนอแก้ไขที่มาของนายกรัฐมนตรี โดยไม่จำกัดเฉพาะผู้ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง แต่ให้เลือกจากที่เป็น ส.ส.ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังให้ยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะ ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ควรมีส่วนร่วมในการเลือกนายกฯ และ 4) ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ ยกเลิกอำนาจ ส.ว.บางเรื่อง ยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช.

สมพงษ์ รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 666F429E-429A-4010-92F7-50261D7C10A7.jpeg

ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย เสนอว่า พรรคภูมิใจไทย เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาล 8 ฉบับ อย่างไรก็ตาม ตนจะทำหน้าที่เสนอต่อรัฐสภาวันนี้ 3 ฉบับ 1) การแก้หมวด 5 หน้าที่แห่งรัฐ เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับกินได้ ดังนั้น จึงเสนอให้รัฐจะต้องจัดให้ประชาชนได้รับรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง 2) พรรคภูมิใจไทย เสนอให้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขยุทธศาสตร์ชาติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพราะเห็นว่าการมียุทธศาสตร์ 20 ปี ไม่เหมาะสม 3) ยกเลิกมาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว.เลือกนายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่า ส.ว.ไม่มีความเชื่อมโยงกับปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง

ศุภชัย แก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชุมรัฐสภา-3C24-4ED8-8E11-9D5411F963A9.jpegจุรินทร์ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ประชุมรัฐสภา 0DE468C8-B40D-477F-8E3F-AA388DDCF23E.jpeg

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2560 ยังไม่เป็นประชาธิปไตย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเงื่อนไขสำคัญในการเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า ส.ว.ยังมีความจำเป็น แต่ ส.ว.ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงควรมีอำนาจเฉพาะการกลั่นกรองกฎหมาย ไม่ควรมีอำนาจเลือกนายกรัฐมนตรีได้ การกำจัดอำนาจ ส.ว.นั้น ไม่ได้เป็นการกีดกันบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่จะเป็นนายกฯในอนาคต หากบุคคลนั้นสามารถรวมเสียง ส.ส.ข้างมากได้ ก็สามารถที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทั้งนี้ ถือเป็นการปลดล็อคข้อจำกัด ความขัแย้งทางการเมืองได้ด้วย

ชวน รัฐสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ 3D910E7-1026-4271-AAD3-E4954DA7C3D0.jpeg

จุรินทร์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ มีมติรับหลักการร่าง 6 ร่างที่เสนอโดยพรรคประชาธิปัตย์ 2 ร่างที่เสนอโดยพรรคภูมิใจไทย 1 ร่างของพรรคพลังประชารัฐ และ 4 ร่างของพรรคเพื่อไทย

ดังนั้น ประชาธิปัตย์จะเห็นชอบใน 13 ร่าง เพราะเห็นว่าทั้ง 13 ร่างมีหลักการใกล้เคียงกับพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อแสวงความร่วมมือ ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จ ไม่กลายเป็นวิกฤตทางการเมือง ทำให้ประเทศไทยเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยที่ดียิ่งขึ้น

สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอร่วมกับพรรคภูมิใจไทยและชาติไทยพัฒนานั้น ประกอบด้วย 1. แก้ไขรัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชน สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค สิทธิการถือครองที่ดินดีกว่าเดิม 2. การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 3. ให้การป้องกันการทุจริต สามารถทำได้จริง โดยเฉพาะการทุจริตขององค์กรอิสระอย่าง ปปช. ซึ่งรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้อาจมีการสมยอมกันได้ 4. ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ง่ายกว่าที่เป็นอยู่ ถ้ายังใช้หลักเกณฑ์ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แทบจะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้เลย 5. สร้างกลไกที่ทำให้การเลือกนายกฯ ยึดโยงกับประชาชนมากยิ่งขึ้น 6. แก้ไขระบบเลือกตั้งให้ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิแสดงเจตนารมณ์ของการเลือกตั้งอย่างแท้จริง