ไม่พบผลการค้นหา
ผอ. ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ช่วยลูกเต่ามะเฟืองรังที่ 3 ที่เพิ่งฟักให้กลับลงสู่ทะเล เพื่อดำรงชีวิตตามธรรมชาติต่อไป

คืนที่ผ่านมา (2 มี.ค.) ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน (ภูเก็ต) พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยเอก พงศ์ศักดิ์ เวทยาวงศ์ นายอำเภอตะกั่วป่า นายประถม รัสมี ผอ.สบทช.8 และเจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 ได้ช่วยลูกเต่ามะเฟืองได้ขึ้นมาจากหลุม และได้ขุดช่วยเหลือ ปล่อยลงสู่ทะเลได้ทั้งหมดจำนวน 40 ตัว และรอการพักฟื้นจำนวน 4 ตัว จนแข็งแรงสามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติเมื่อเวลา 21.30 น.และมีลูกเต่าตายจำนวน 7 ตัว เป็นไข่ไม่สมบูรณ์ไม่ได้รับการผสม จำนวน 13 ฟอง ซึ่งหลุมฝักไข่เต่ามะเฟืองนี้เป็นหลุมที่ 3 และหลุมสุดท้ายของแม่เต่ามะเฟืองที่ขึ้นมาว่างไข่ในพื้นที่จังหวัดพังงา จำนวน 64 ฟอง

ดร.ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน(ภูเก็ต) กล่าวว่า สำหรับรางเต่ามะเฟืองรังที่ 3 ถือเป็นหลังสุดท้าย มีอัตราการรอดที่ประมาณ ร้อยละ 86 ที่ได้ลูกเต๋าจำนวน 40 ตัว และมีลูกเต่าที่รอการพักฟื้น ที่นำปล่อยลงสู่ทะเล ซึ่งรังเต่ามะเฟืองทั้งลังที่ขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาด คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จำนวน 2 รัง และชายหาดวัดท่าไทร อ.ท้ายเหมือง จำนวน 1 รัง ซึ่งมีเต่ามะเฟืองที่สามารถรอดลงสู่ทะเลได้ทั้งหมดจำนวน กว่า 100 ตัว ทั้ง 3 รัง เต่าตัวแม่ที่ขึ้นมาวางไข่จะกลับมาวางไข่อีกครั้งในช่วง 2-3 ปี ลูกเต่าที่ปล่อยลงสู่ทะเลจะไปโตในธรรมชาติและจะกลับมาโดยใช้เวลา 15 - 20 ปี 

เต่ามะเฟือง ถือว่าเป็นทูตทางธรรมชาติ ที่เข้ามาเยือน โดยทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นแหล่งวางไข่ของเต่ามะเฟืองและเต่าทะเลชนิดอื่นๆรวมถึงสัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งหากินตามธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตาม พบว่า พบอัตราการรอดในรังแรก ประมาณร้อยละ 72 และหลังที่ 2 อัตราการรอด 100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรังที่ 3 อัตราการรอด ร้อยละ 86 ซึ่งถือว่ามีอัตรา การรอดมากกว่าธรรมชาติ ที่ไม่ได้รับการดูแล

ด้านนายประถม รัศมี ผอ.สบทช.8 กล่าวว่า รู้สึกยินดีกับพี่น้องทั้งประเทศและพี่น้องจังหวัดพังงา ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล และชายฝั่งให้มีความอุดมสมบูรณ์ให้เป็นแหล่งหากิน อาศัยของสัตว์น้ำและสัตว์ทะเล จนทำให้เต่า ขึ้นมาวางไข่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีของประชาชนชาวจังหวัดพังงา ซึ่งเป็นตัวชี้วัด ว่าทรัพยากรทางทะเลของจังหวัดพังงา มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้เกิดจากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะภาคประชาชนภาคราชการ และเอกชน ได้ร่วมมือร่วมใจกันรักษาธรรมชาติ ตามนโยบายของกรม ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการดูแลชายหาด การเก็บขยะ และสิ่งที่ส่งผลกระทบกับทรัพยากรธรรมชาติ 

ซึ่งเมื่อทรัพยากรเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์ก็ ทำให้เต่าที่ค่อนข้างหายากขึ้นมาวางไข่ โดยขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นฉลามวาฬ โลมา พะยูน หรือปลาที่หายากได้กลับคืนมาสู่ธรรมชาติ ซึ่งขณะนี้ ทางเจ้าหน้าที่สำนักงานบริหารกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 จังหวัดพังงา ได้จัดกิจกรรมลดละเลิกขยะ และเรื่องน้ำเสียไม่ทิ้งลงสู่ทะเล พร้อมทั้งมีการฟื้นฟูปะการังเทียม ตามนโยบายของกรมฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นการเชื่อมโยงระบบนิเวศให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำกลับขึ้นมาวางไข่และเพาะพันธุ์ออกเป็นตัวอีกครั้ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง