ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินในสังคมไทย ถือเป็นปัญหาใหญ่และเรื้อรังที่สุดปัญหาหนึ่ง เกษตรกรจำนวนมากประสบกับปัญหาไร้ที่ดินทำกิน ขณะที่มีประชากรผู้ร้ำรวยจำนวนหยิบมือร่ำรวยและครอบครองที่ดินมากขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลปี 2561 ระบุว่า ประชากรผู้ร่ำรวยร้อยละ 10 ของประเทศ ถือครองที่ดิน 94.86 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.5 ขณะที่ประชากรยากจนที่สุดร้อยละ 10 ของประเทศ ถือครองที่ดินรวมกันเพียง 68,330 ไร่ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.1
นี่คือความเหลื่อมล้ำ ที่มีความต่างกันถึง 853.6 เท่า
ที่ผ่านมา รัฐบาลมีความพยายามที่จะประกาศใช้นโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านที่ดินในรูปแบบต่างๆ แต่กลับพบว่าระบบกฎหมายที่รัฐดำเนินการไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังนำมาซึ่งปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะในช่วงหลังการรัฐประหารปี 2557 มีประชาชนถูกดำเนินคดีมากถึง 46,000 คดี
Voice กางนโยบาย 3 พรรคการเมือง ว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาทสิทธิที่ดินทำกิน ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและครอบครองที่ดิน ตลอดจนสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิด พวกเขามีแนวคิดและวิธีการในการจัดการปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
‘ที่ดิน’ คือหนึ่งในต้นตอปัญหาความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย เหตุเพราะที่ดินจำนวนกว่า 320 ล้านไร่ของประเทศ ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของรัฐกว่า 200 ล้านไรในมือของหน่วยงานรัฐถึง 8 กระทรวง ภายใต้กฎหมาย 16 ฉบับ นำมาสู่ปัญหา เมื่อหน่วยงานรัฐทำการขีดเส้นแบ่งบนแผนที่ ในยุคที่เทคโนโลยีการทำแผนที่ยังไม่ทันสมัย โดยที่แต่ละหน่วยงานต่างคนต่างก็วัดกันเอง จึงไม่แปลกที่จะเกิดการทับซ้อนกันทั้งระหว่างหน่วยงานกันเอง และการอ้างกรรมสิทธิ์ทับที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของประชาชน
ก้าวไกลจำแนกปัญหาที่ดิน ดังนี้
พรรคก้าวไกลจะทำการปฏิรูปที่ดิน โดยจะดำเนินการทั้งหมด 5 ข้อ อันประกอบด้วย
เจตนารมณ์ของพรรคเพื่อไทยคือ ประชาชนทุกคนต้องมีที่ดินเป็นของตนเองเกษตรกรทุกครัวเรือนจะมี ที่ดินทำกินอย่างพอเพียง โดยดำเนินการให้มีการออกโฉนด ให้กับประชาชน 50 ล้านไร่ โดยแปลงที่ดินที่มีความขัดแย้งไปเป็นพื้นที่ วนเกษตร ต้นไม้ทุกต้นมีราคา เป้าหมายอีก 1 เป้าหมายคือ ที่ดินที่เป็นโฉนดจะถูกใช้เป็นพื้นที่สีเขียว เพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน นำสู่สภาวะเป็นกลางทางคาร์บอน และสร้างรายได้จากคาร์บอนเครดิต ยุติความขัดแย้ง กับราษฎรรายเล็กรายน้อย ที่ถูกกล่าวหาเรื่องที่ดินที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกิน เพื่อนำมาซึ่งความร่วมมือของราษฎร กับภาครัฐ
รวมไปถึงเร่งรัดการพิสูจน์สิทธิ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งโฉนด อย่างถูกต้องและเป็นธรรม ด้วยการใช้หลักฐานภาพถ่ายจากดาวเทียม หรือหลักฐานอื่นซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง นำที่ดินที่รัฐไม่ได้ใช้ประโยชน์เพิ่มผลประโยชน์ให้พี่น้องประชาชนด้วยการจัดที่ดินทำกินอันจะก่อประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจ และความสมดุลของระบบนิเวศเพิ่มปริมาณและคุณภาพของพื้นที่สีเขียวให้มีความอุดมสมบูรณ์และเพียงพอต่อความปลอดภัยทางด้านภูมิอากาศและความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน
วิธีการ
สำหรับที่ดินประเภทเช่า ผู้เช่าที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม จะต้องปลูกไม้ยืนต้น ไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของพื้นที่และจะได้รับโฉนด ส่วนกรณีบุคคลอื่น มาถึงคิวที่ได้ที่ดินจากผู้เช่าหรือทายาทโดยธรรมจะได้รับอนุญาตให้เช่าต่อไปโดยจะต้องปลูกไม้ยืนต้นไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของพื้นที่และจะได้ไม่เกิน 20 ไร่
สำหรับที่ดินที่มาจากป่าเสื่อมโทรมจำนวน 33 ล้านไร่ ผู้ถือครองที่ดิน ส.ป.ก.4-01 หรือทายาทโดยธรรมที่ใช้ประโยชน์มาอย่างต่อเนื่อง จะได้รับโฉนด โดยจะต้องปลูกไม้ยืนต้นไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของพื้นที่
ส่วนกรณีบุคคลอื่นที่ได้ที่ดินมาจากผู้ที่ได้รับที่ดิน ส.ป.ก.4-01 จะได้รับเอกสารสิทธิ์ โดยต้องทำการปลูกไม้ยืนต้นไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งโดยจะได้ที่ดินไม่เกิน 20 ไร่ สำหรับโฉนดจากนโยบายนี้ยังถูกคุ้มครองให้เป็นพื้นที่ประกอบการเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสิ่งแวดล้อม
ประชาชนที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ประมาณ 7 ล้านไร่ จะได้รับโฉนดในเวลาที่กำหนด โดยจะต้องปลูกไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของพื้นที่
ในส่วนประชาชนที่อยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ราบเชิงเขาประมาณ 10 ล้านไร่ จะได้รับเอกสิทธิ์ภายในกำหนดเวลา โดยจะต้องปลูกไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของพื้นที่ ชุมชนพื้นบ้านประมาณ 20,000 หมู่บ้าน ที่อยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่อง จะได้รับเอกสารในรูปแบบสหกรณ์ป่าไม้ชุมชน
หลักคิด
แก้กฎหมายที่ดินทำกินและป่าไม้ เพื่อให้ชาติพันธุ์สามารถเลือกตั้งและเป็นผู้แทนได้ ให้ชนเผ่าและเกษตรกรได้กำหนดอนาคตตนเอง ดังนี้
เสนอนโยบายการแก้ปัญหาที่ดินทำกินทันที โดยผู้ใดครอบครองที่ดิน สปก. เกิน 10 ปี ให้รีบไปแจ้งขอแก้เป็นโฉนดได้ แต่ต้องรอให้เกิน 5 ปี จึงจะทำการซื้อขายได้ ให้เป็นโฉนดสีแดงก่อน เพื่อตอบโจทย์พี่น้องประชาชนในการนำที่ดินไปพัฒนาต่อยอดในการทำธุรกิจ หรือ นำไปแบ่งโอนให้ลูกหลาน และไปต้องอยู่แบบหวาดระแวงที่จะถูกดำเนินคดีบุกรุก
‘มีเรา มีที่ทำกิน มีที่ดินไม่มีจน’ คือม็อตโต้ของพรรคในเรื่องนโยบายบริหารจัดการที่ดิน โดยพรรคมีแนวทางปฏิรูประบบที่ดิน คืนที่ทำกินให้ประชาชนโดย เร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินทุกประเภท เปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนด จัดที่ดินของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ให้คนไร้ที่ทำกินกว่า 2 ล้านราย ยกระดับธนาคารที่ดิน ตั้งศูนย์พิสูจน์และคุ้มครองสิทธิประชาชน ชะลอการดำเนินคดีและนิรโทษกรรมความผิดเกี่ยวกับที่ดิน และสังคายนากฎหมายที่ดินทั้งระบบ เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างคุ้มค่าสูงสุดรองรับการพัฒนาประเทศ และคืนความยุติธรรมให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียม
พันธวัช ภูผาพันธกานต์ ตัวแทนพรรคพลังประชารัฐ ได้กล่าวถึงมุมมองเรื่องปัญหาที่ดิน (10 เม.ย. 2566) ไว้ว่า ปัญหาเกิดมาจาก พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฉบับล่าสุด มีการจับกุม คุมขัง ดำเนินคดีมากมาย โดยทางพรรคจะแก้กฎหมาย แต่ก่อนถึงเรื่องนั้น ทางพรรคจะรับรองสิทธิของชุมชนให้ได้ก่อน และจะดำเนินการเร่งออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทุกประเภท ตลอด 8 ปีที่ผ่านมารัฐล้มเหลวในการจัดการทรัพยากร เพราะขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน พรรคพลังประชารัฐจึงต้องการเปิดพื้นที่ใหม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
พรรคมองว่า ประชาชนจำนวนมากประสบความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน สาเหตุจากความไม่ชัดเจนของกฎหมาย ความซ้ำซ้อนของกฎหมายหลายฉบับของแต่ละหน่วยงานที่ถือกฎหมายคนละฉบับ ทำให้ประชาชนถูกดำเนินคดี ด้วยเรื่องที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และไปอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติ หรือพื้นที่ป่าสงวนต่างๆ
โดยพรรคมีแนวทางทำงานดังนี้