ไม่พบผลการค้นหา
7 จังหวัดภาคใต้ ยังประสบอุทกภัยอย่างหนัก ประชาชนเดือดร้อนกว่า 2 แสนครัวเรือน โฆษกรัฐบาล ระบุ นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีกำหนดลงใต้ สั่งเจ้าหน้าที่ระดมพล-เครื่องมือเร่งช่วยเหลือประชาชน ด้าน รมว.ยุติธรรม สั่งเรือนจำนครศรีฯ เฝ้าระวังน้ำท่วม แต่ไม่น่าห่วงเพราะอยู่ที่สูง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัย ในพื้นที่ภาคใต้ 9 จังหวัด 70 อำเภอ 358 ตำบล 2,318 หมู่บ้าน มีประชาชนได้รับผลกระทบ 261,253 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 3 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังใน 7 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส 

ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยทหาร จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย และคลี่คลายสถานการณ์ โดยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมและสำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง

org_341f8ad1d4a9d245_1606905004000.jpg

พัทลุงมวลน้ำป่าหลากท่วมอีกรอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดพัทลุง หลังจากมีฝนตกหนักตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา มวลน้ำป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัดพัทลุง ได้ไหลหลากลงมาตามน้ำตกต่างๆ อีกรอบ โดยเฉพาะที่น้ำตกไพรวัลย์ น้ำตกมโนราห์ อำเภอกงหรา น้ำตกโตนแพรทอง อำเภอศรีนครินทร์ โดยมวลน้ำก้อนใหญ่กำลังหลากลงมาท่วมยังพื้นที่ด้านล่าง ของ ตำบลชะรัด ตำบลคลองทรายขาว ตำบลคลองเฉลิม  อำเภอกงหรา

ขณะที่พื้นที่ดังกล่าวระดับน้ำเพิ่งลดลงไปได้กว่า 20 ชั่วโมงที่ผ่านมา น้ำกลับมาท่วมอีกครั้งรอบนี้เป็นรอบที่ 3 น้ำได้เพิ่มระดับอย่างต่อเนื่องและมีสีแดงขุ่น เจ้าหน้าที่เขตรักษาธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดพัทลุงเร่งเฝ้าสังเกตการณ์ก่อนแจ้งยังพื้นที่รับน้ำเตรียมรับมือกับมวลน้ำก่อนใหญ่อีกระลอก คาดอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าน้ำไหลหลากลงถึงพื้นที่ลุ่มของ อำเภอกงหรา อำเภอเขาชัยสน อำเภอเมือง และอำเภอบางแก้ว 

DSC_3373.jpg

ขณะที่มวลน้ำป่าบวกน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำหลากท่วมในพื้นที่ ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง ฟาร์มหมูของชาวบ้านถูกกระแสน้ำพัด หมูต้องลอยไปกับน้ำ เจ้าของทำได้เพียงยืนมองไม่สามารถลงไปช่วยได้เนื่องจากกระแสน้ำไหลเชียว 

ส่วนพื้นที่ริมทะเลสาบสงขลา ใน 5 อำเภอของจังหวัดพัทลุง ประกอบด้วย อ.ควนขนุน อ.เมือง อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว และ อ.ปากพะยูน ระดับน้ำยังเพิ่มต่อเนื่อง โดยเฉพาะ ต.ลำปำ บริเวณหน้าบริษัททีโอที น้ำหลากท่วมผิวทางจราจร ทางแขวงการทางต้องน้ำป้ายปิดเส้นทางเพื่อป้องกันรถผ่าน โดยมีน้ำท่วมสูง 50-60 ซม. ขณะเส้นทางทะเลน้อย บ้านลำปำ ตำบลพะนางตุง จนไปถึง ตำบลลำปำ บนผิดทางจราจรมีน้ำไหลผ่านและเพิ่มระดับขึ้น ชาวบ้านริมถนนต้องขนย้ายสิ่งของอพยพครอบครัวมากางเต็นท์นอนบนถนน พร้อมทั้งสัตว์เลี้ยง ขณะที่พื้นที่อำเภอเมือง เขตเทศบาลพัทลุงเจ้าหน้าที่ต้องเร่งสูบน้ำระบายออกอย่างเนื่องหวั่นท่วมพื้นที่เศรษฐกิจภายในเขตเทศบาลเมือง กับสภาพฝนที่ตกหนักในพื้นที่กับวกน้ำที่ไหลหลากลงมา

DSC_3351.jpg

นายกฯยังไม่มีกำหนดลงใต้ ห่วงปชช.น้ำท่วม

อนุชา บูรพชัยศรี เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ โดยนายกรัฐมนตรีได้รับรายงาน 7 จังหวัด 58 อำเภอ ที่ได้รับความเสียหาย 

ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนว่าจะมีฝนตกตกต่อเนื่องในช่วงนี้ โดยนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ระดมกำลังพล เครื่องมือ เครื่องจักร ทหาร ตำรวจ พลเรือน ประชาชนจอตอาสา เพื่อเข้าช่วยประชาชนที่ได้รับผลกระทบในขณะนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมเตรียมการฟื้นฟูหลังจากน้ำลด 

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ยังไม่มีกำหนดการลงพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่


'สมศักดิ์' สั่งเรือนจำนครศรีฯ เฝ้าระวังน้ำท่วม

สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีสถานการณ์น้ำท่วมที่ จ.นครศรีธรรมราช ว่า ได้สั่งการให้เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เฝ้าระวังติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ในเบื้องต้นจากข้อมูล เรือนจำมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สูงไม่เคยมีประวัติการมีน้ำท่วมขังภายในที่ส่งผลต่อมาตรการการควบคุม แต่อาจได้รับผลกระทบในเส้นทางเข้า-ออก การนำตัวผู้ต้องขังไปศาล โรงพยาบาล การขนส่งอาหารดิบ เครื่องอุปโภคบริโภค การสื่อสาร พลังงานกระแสไฟฟ้า ตลอดจนการให้บริการญาติและประชาชนที่เกี่ยวข้องได้ โดยสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบัน (2 ธ.ค. 2563) มีน้ำหลากและท่วมขังรอบแนวกำแพงภายนอกสูงประมาณ 20-30 ซม.และถนนเข้า-ออกเส้นทางหลักของเรือนจำประมาณครึ่งเมตร รถจักรยานยนต์และรถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ แต่ระดับน้ำยังทรงตัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หากไม่มีฝนตกหนักต่อเนื่องจะสามารถระบายและลดระดับอย่างรวดเร็ว

S__7815436.jpg

สมศักดิ์ กล่าวว่า เบื้องต้นเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ได้มีแผนเผชิญเหตุและมาตรการจัดเตรียมยานพาหนะรถยนต์บรรทุกสูง รถควบคุมผู้ต้องขัง รถหุ้มเกราะสูง พร้อมพนักงานขับรถสำรอง สำหรับใช้ในการโดยสารหรือขนส่งปกติและเมื่อมีการร้องขอ เตรียมประสานผู้ประมูลและผู้ประกอบการเพื่อสำรองอาหารดิบ เครื่องอุปโภคบริโภค ให้เพียงพอต่อความต้องการ และเตรียมแก้ไขปัญหากรณีมีข้อจำกัดในเส้นทางการขนส่ง ร่วมกับสำนักงานจังหวัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสารการปฏิบัติเมื่อมีปัญหาขัดข้อง เช่น กรณีต้องการกระแสไฟฟ้าสำรอง หากมีการตัดไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองของเรือนจำขัดข้องหรือไม่เพียงพอ รวมทั้งให้การช่วยเหลือประชาชนในชุมชนรอบบริเวณหรือใกล้เคียงเรือนจำที่ประสบภัย ตามที่ได้เคยปฏิบัติเมื่อครั้งพายุปลาบึก และเฝ้าติดตามประเมินสถานการณ์ กวดขันมาตรการด้านการควบคุมอย่างใกล้ชิด และรายงานผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง 


รฟท.ปรับเปลี่ยนเส้นทางล่องใต้ต่ออีก 1 วัน

การรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่าสถานการณ์ระดับน้ำในพื้นที่ยังไม่คลี่คลาย การรถไฟฯ จึงได้ประกาศปรับเปลี่ยนการเดินรถสถานีต้นทางปลายทาง และงดเดินขบวนรถบางขบวนในเส้นทางสายใต้ ในวันนี้ อีก 1 วัน เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสาร โดยให้ขบวนรถที่มีปลายทางสถานีตรัง กันตัง และนครศรีธรรมราช เดินรถถึงสถานีชุมทางทุ่งสง และสถานีคลองจันดี และทำการขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์ไปยังสถานีปลายทางต่อไป ดังนี้

ขบวนรถที่งดให้บริการ

  • ขบวนรถเร็วที่ 171/172 กรุงเทพ – สุไหงโกลก – กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 31/32 กรุงเทพ – ชุมทางหาดใหญ่ - กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 37/38 กรุงเทพ - สุไหงโกลก - กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนที่ 85 กรุงเทพ - นครศรีธรรมราช

ขบวนรถที่ปรับเปลี่ยนปลายทางที่สถานีชุมทางทุ่งสง และทำการขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์

  • ขบวนรถด่วนที่ 83 กรุงเทพ – ตรัง
  • ขบวนรถเร็วที่ 167 กรุงเทพ - กันตัง

ขบวนรถที่ปรับเปลี่ยนต้นทางในเที่ยวกลับ จากสถานีตรัง กันตัง นครศรีธรรมราช เป็นที่สถานีคลองจันดี และทำการขนถ่ายผู้โดยสารทางรถยนต์

  • ขบวนรถด่วนที่ 84 ตรัง – กรุงเทพ
  • ขบวนรถเร็วที่ 168 กันตัง – กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนที่ 86 นครศรีธรรมราช - กรุงเทพ
128652307_4107133249301515_2932163873703650680_n.jpg


กยท. พร้อมชดเชยชาวสวนยางรายละ 3 พันบาท

ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนัก และทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เช่น นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล และนราธิวาส ซึ่งมีพื้นที่ปลูกยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ทั้งหมดประมาณ 5,274,333 ไร่ เป็นเกษตรกรจำนวน 478,760 ราย โดยได้สั่งการให้ กยท.เขต และ กยท.จังหวัดในภาคใต้เร่งสำรวจสวนยางที่เกิดความเสียหายจากน้ำท่วม ซึ่ง กยท.มีมาตรการช่วยเหลือกรณีสวนยางประสบอุทกภัยผ่านกองทุนพัฒนายางพารา โดยมีหลักเกณฑ์ต้องเป็นสวนยางที่ถูกน้ำท่วมจนได้รับความเสียหายจนเสียสภาพสวน หรือได้รับความเสียหายในคราวเดียวกันไม่น้อยกว่า 20 ต้นต่อไร่ เกษตรกรจะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 3,000 บาท

128896104_3029083227350743_1327068634429821180_o.jpg

นอกจากนี้ กรณีสวนปลูกแทนที่ประสบอุทกภัยซึ่งหากพบว่าเสียสภาพสวนจะให้ระงับการปลูกแทน โดยไม่เรียกเงินคืนในส่วนที่เสียหาย จากนั้นจึงอนุมัติให้การปลูกแทนใหม่ แต่ต้องไม่เกินเนื้อที่ที่ระงับการปลูกแทน กรณีไม่เสียสภาพสวน ต้นยางหรือไม้ยืนต้นชนิดอื่น (พืชหลัก) อายุไม่เกิน 2 ปีครึ่ง ได้รับความเสียหายหนัก ไม่สามารถค้ำยันได้ ต้องปลูกซ่อมเท่านั้น กยท.จะช่วยเหลือเป็นเงินค่าปลูกซ่อมครั้งเดียว อัตราต้นละ 45 บาท ส่วนต้นยางหรือไม้ยืนต้นชนิดอื่น ที่เสียหายเอนล้ม แต่สามารถตัดแต่งและค้ำยันให้ตรงได้ กยท. จะช่วยเหลือค่าค้ำยันครั้งเดียว โดยต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 ปี อัตราต้นละ 35 บาท และต้นยางฯ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป อัตราต้นละ 110 บาท

128626972_3029083240684075_4421168913157241788_o.jpg


ข่าวที่เกี่ยวข้อง :