ในการเรียกประชุมสมัยพิเศษของรัฐสภานิวซีแลนด์ เพื่อให้พรรคการเมืองต่างๆ กล่าวถึงการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 นั้น มีการถวายความอาลัยแด่การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์อังกฤษ ในขณะที่ ส.ส.หลายคนได้ขึ้นพูดถึงประวัติศาสตร์ที่มีข้อผิดพลาดและความซับซ้อนของราชวงศ์อังกฤษที่มีต่อนิวซีแลนด์
“ในขณะที่ผมยืนอยู่ในรัฐสภาแห่งนี้ ในฐานะตัวแทนของ เท อิวี เมารี เราต้องพูดความจริงที่ถ่องแท้ของเราเสมอ” ราวิรี ไวตีตี หัวหน้าพรรคร่วมเมารีกล่าว “จักรวรรดิอังกฤษและอำนาจของกษัตริย์ถูกสร้างขึ้นจากเวนูอา (ผืนดิน) ที่ถูกขโมย ทรัพยากรที่ถูกขโมย และ ตาอองกา (สมบัติ) ที่ถูกขโมย”
ไวตีตีระบุว่า พรรคเมารีได้มีพิธีการ (ตีคานกา) ที่ชัดเจนว่า ผู้ล่วงลับสมควรได้รับการไว้ทุกข์ และพระราชวงศ์ควรมีเวลาโศกเศร้าไปกับการสูญเสียของพวกพระองค์ แต่ไวตีตีชี้ว่า สมเด็จพระราชินีนาถในฐานะบุคคล ไม่สามารถแยกออกจากสถาบันที่พระองค์ทรงเป็นตัวแทนได้ “ผมเห็นหลายข้อความที่ถูกเขียนบนโซเชียลมีเดีย ความโกรธอันชอบธรรมของชนพื้นเมืองทั่วโลก ผมนำเรื่องราวเหล่านั้นมาเป็นเรื่องราวที่ผมพกติดตัวและเป็นตีคานกาของผม”
นักการเมืองจากพรรคเมารีหลายคนได้ขึ้นพูด เพื่อสะท้อนภาพอารมณ์ที่ผสมปนเปกันไปของระบอบกษัตริย์ต่อนิวซีแลนด์ ในขณะที่พวกเขาถวายความอาลัยแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพระบรมวงศานุวงศ์ แต่ก็มีการทบทวนบทเรียนทางประวัติศาสตร์ที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น
มารามา เดวิดสัน ผู้นำร่วมพรรคกรีนขึ้นกล่าวว่า สมเด็จพระราชินีนาถผู้ล่วงลับ “ทรงฉลาดและตระหนักรู้” ก่อนกล่าวต่อไปว่า “พระองค์จะไม่ทรงแปลกพระทัยเลยแม้แต่น้อย เกี่ยวกับชนชาติใด ๆ ที่ยกบทบาทของระบอบกษัตริย์จากการกดขี่ทางอำนาจต่อผู้อื่น รวมถึงที่นี่และหลายประเทศรอบๆ โลก… พระองค์ทรงรู้ว่าพระองค์ทรงเป็นส่วนหนึ่งของอะไร”
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เองก็ทรงยอมรับความผิดเหล่านี้เช่นกัน โดยในปี 2506 พระองค์ตรัสถึงสนธิสัญญาไวตางี ซึ่งรับรองสิทธิและอำนาจอธิปไตยของเมารีว่า “ยกร่างไว้อย่างไม่สมบูรณ์แบบ” และในปี 2538 พระองค์ได้ลงนามในคำขอโทษเป็นการส่วนพระองค์ต่อชาวไวกาโต
“ผู้นำชาวเมารีหลายคน… ในขณะที่ถือครองแผ่นดินที่ชอบธรรมแห่งอาโรฮา (ความรัก) ก็ได้ชี้ชัดเจนเช่นกันว่า เราไม่สามารถเพิกเฉยต่อการกดขี่ต่อชาวเมารีในฐานะผู้ถือสิทธิที่จริงและต่อเนื่อง” เดวิดสันกล่าว “เราเคยชินกับความสำคัญ ในการแบกรับความสมบูรณ์แบบของชีวิตในตัวบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาเสียชีวิตลง”
นานาเอีย มาฮูตา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนิวซีแลนด์ระบุว่า สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงเคยตรัสในที่ประชุมเครือจักรภพครังล่าสุดในรวันดา เกี่ยวกับการยอมรับความผิดพลาดในอดีต “พระองค์ทรงตั้งพระราชวินิจฉัยว่า เพื่อปลดล็อกพลังแห่งอนาคตร่วมกัน เราต้องยอมรับความผิดที่หล่อหลอมอดีตของเราด้วย พระองค์ตรัสถึงเรื่องการล่าอาณานิคม ตรัสถึงการเป็นทาส และพระองค์เข้าพระทับความท้าทายที่อยู่ตรงหน้าพระองค์” มาฮูตากล่าว “อาโอเทียอาโรอารู้ดีถึงความเสียหายอันเจ็บปวด ที่ความผิดพลาดในอดีตอาจเกิดขึ้นได้ มันเป็นวิธีที่เราเอาชนะพวกเขาที่กำหนดตัวตนของพวกเรา”
นักการเมืองนิวซีแลนด์หลายคน ยังได้ระลึกถึงการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 อย่างตรงไปตรงมา โดย จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ซึ่งจะเดินทางไปยังสหราชอาณาจักรในวันนี้ (14 ก.ย.) เพื่อเข้าร่วมงานพระบรมศพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 กล่าวถึงการอุทิศพระองค์ต่อนิวซีแลนด์ของสมเด็จพระราชินีนาถ พร้อมกล่าวถึง “ความโสกเศร้าอย่างใหญ่หลวง” ของนิวซีแลนด์ พร้อมยกย่องว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 “ทรงเป็นแบบอย่างของความสม่ำเสมอและการบริการสาธารณะอย่างทันทีทันใด ภักดี ถ่อมตน อุทิศตน”
คริสโตเฟอร์ ลุกสัน หัวหน้าฝ่ายค้านนิวซีแลนด์กล่าวว่า การสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถทำให้เกิด “ความซาบซึ้งครั้งใหม่ และความกตัญญูกตเวทีต่อมรดกที่พระองค์ได้รับจากการบริการสาธารณะอย่างเสียสละอันไม่เคยปรากฏมาก่อน” ลุกสันชี้ว่า “พระชนม์ชีพของสมเด็จราชินีนาถเป็นแบบอย่างสำหรับพวกเราทุกคน พระองค์ทรงแสดงให้เห็นว่าในชีวิตสาธารณะ การดำเนินชีวิตตามค่านิยมของคุณทุกวัน และการก้าวเดินต่อไปนั้นสำคัญ ชีวิตของพระองค์ย้ำเตือนเราว่า การรับใช้นั้นสูงส่ง ทรงพลัง และมีอิทธิพล”
ที่มา: