ไม่พบผลการค้นหา
ทีมนักดาราศาสตร์จากอังกฤษเปิดเผยว่า พบดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบของน้ำดวงใหม่ คาดอาจเหมาะสมกับการอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 2 เท่า

ทีมนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลอนดอน (University College London) เปิดเผยข้อมูลในวารสาร Nature Astronomy ระบุว่า ดาวเคราะห์ชื่อว่า K2-18b ที่อยู่นอกระบบสุริยะมีน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในชั้นบรรยากาศ 0.01 - 50 เปอร์เซ็นต์ และยังโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะที่ใกล้เคียงกับโลก ซึ่งเป็นระยะที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต

ศาตราจารย์ จิโอวานา ทีเนตติล่าวว่า 'นี้เป็นครั้งแรกที่พวกเราสามารถตรวจจับการมีอยู่ของน้ำในชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่อยู่ในโซนที่เหมาะแก่การอยู่อาศัย ดาวเคราะห์ดวงดังกล่าวมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตในการอยู่อาศัย'

ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบเมื่อปี 2558 โดยกล้องโทรทัศน์อวกาศเคปเลอร์ของนาซ่า โดยมีอุณหภูมิที่เหมาะกับการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตโดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 0 - 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณภูมิที่ไม่ร้อนและเย็นจนเกินไป ขณะที่ขนาดของดาวดวงนี้นั้นมีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 2 เท่า

ทั้งนี้ ดาวเคราะห์ K2-18b มีระยะห่างจากโลก 111 ปีแสง หรือ 650 ล้านล้าน ไมล์ ซึ่งมีระยะทางไกลเกินกว่าที่จะมีการส่งยานไปสำรวจในตอนนี้ ซึ่ง ณ ตอนนี้มีเพียวิธีเดียวที่จะสำรวจดาวดวงนี้ คือ เทคโนโลยีกล้องโทรทัศน์ที่จะออกมาในปี 2564 ซึ่งจะมีความละเอียดมากเพียงพอที่จะสำรวจดาวดวงดังกล่าว 

อย่างไรก็ตามน้ำที่ค้นพบบนดาวเคราะห์ดวงนี้ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบของพื้นผิวหรือไม่ แต่ทั้งนี้การค้นพบดังกล่าวทำให้นักดาราศาสตร์เข้าใกล้กับความเป็นจริงถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นในอวกาศนอกจากโลก

ที่มา The guardian / BBC