สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย รายงานว่า จังหวัดเชียงราย เกิดฝนตกหนักสะสมต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. 67 เป็นต้นมา เกิดอุทกภัยและดินถล่ม ส่งผลกระทบ 10 อำเภอ 29 ตำบล 192 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 7,591 ครัวเรือน พื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบ 12,828 ไร่ บ่อปลา/บ่อกุ้ง 68 บ่อ ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งได้เตรียมการมาเป็นอย่างดีทั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกล ยุทโธปกรณ์ พร้อมกำลังพลในการเข้าไปช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วน แต่เนื่องจากเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง หลายวัน ทำให้วันนี้ (21 สิงหาคม 2567) ได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่อำเภอเวียงแก่น อำเภอเทิง และอำเภอขุนตาล เกิดน้ำท่วมหนักในรอบหลายปี
อย่างไรก็ตาม นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจ และเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน หากประชาชนต้องการขอความช่วยเหลือ หรือแจ้งเหตุ แจ้งได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่สายด่วน 1784
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย รายงานสถานที่เกิดเหตุ/ความเสียหาย/การให้ความช่วยเหลือ (เหตุต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. 67 และสถานการณ์ในวันนี้ ( 21 ส.ค.67)
อ.เวียงชัย ต.เมืองชุม ม.2,3,9,10 น้ำท่วมขังทางเข้าออกบ้านเรือนราษฎรบางส่วน ส่วนใหญ่ท่วมขังพื้นที่ทางการเกษตร (นาข้าว 1,230 ไร่ พืชไร่ 10 ไร่) เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำจากหนองหลวงจึงมีมวลน้ำไหลมาท่วมต่อเนื่อง ต.ผางาม ม.9 น้ำท่วมบ้านขังบ้านเรือนราษฏร 10 ครัวเรือน 38 คน ต.เวียงชัย ม.1,6,10,16,19 น้ำท่วมบริเวณบ้านเรือนราษฏร 32 ครัวเรือน 123 คน
อ.เชียงแสน ต.ป่าสัก ม.3,4,5,6,7,8,9,10,12,13 น้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฏร ได้รับผลกระทบ 406 ครัวเรือน 1,154 คน ยังมีท่วมขัง ระดับน้ำลดลงเล็กน้อย/ทรงตัว ต.ศรีดอนมูล ม.1,2,4,5,6,7,8,11,12 น้ำท่วมขังบ้านเรือนราษฏร ได้รับผลกระทบ 80 คน 44 ครัวเรือน และพื้นที่เกษตรบางส่วน ระดับน้ำลดลง/ คลี่คลาย เฝ้าระวังน้ำจากพื้นที่ต้นน้ำลงมาเติม ต.โยนก ม.3,4,6,9 น้ำท่วมบ้านเรือนราษฏร และพื้นที่ทางการเกษตร ยังมีท่วมขัง น้ำระบายได้ช้า ระดับน้ำทรงตัว
อ.ป่าแดด น้ำแม่พุงเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรับน้ำจากอ.พาน ประกอบกับน้ำอิงหนุนสูงและน้ำหลากจากภูเขา ทำให้น้ำล้นตลิ่งท่วมพื้นที่เกษตร และบ้านเรือนบางส่วนที่อยู่ติดริมน้ำ/ ปัจจุบันระดับน้ำแม่พงลดลงเล็กน้อย ยังคงมีมวลน้ำขังอยู่ พื้นที่ได้รับผลกระทบดังนี้ ต.ป่าแงะ ม.6, 9 ต.สันมะค่า ม.1,3,8 ต.ศรีโพธิ์เงิน ม.8 ต.ป่าแดด ม.2,3,7,9,10,11 ต.โรงช้าง ม.2,3,7,9,10,11
อ.แม่สาย ต.ศรีเมืองชุม ม.5,6,7 น้ำท่วมทางเข้าออกและบริเวณบ้าน ราษฏรได้รับผลกระทบ 25 ครัวเรือน 71 คน/ ระดับน้ำลดลง แต่ยังมีมวลน้ำขังอยู่
อ.แม่จัน ต.แม่คำ ม.4,9 น้ำท่วมทางเข้าออกและตัวบ้าน(พื้นที่ลุ่มต่ำท้ายหมู่บ้าน) ได้รับผลกระทบ 28 ครัวเรือน 91 คน ระดับน้ำลดลง แต่ยังมีมวลน้ำขังอยู่
อ.เทิง น้ำป่าไหลหลาก ต.เวียง (12 หมู่บ้าน)/ต.ปล้อง 5 หมู่บ้าน/ ต.สันทรายงาม 7 หมู่บ้าน/ ต.ตับเต่า 11 หมู่บ้าน/ ต.หงาว 20 หมู่บ้าน /ต.หนองแรด 7 หมู่บ้าน
อ.เวียงแก่น น้ำป่าไหลหลาก 4 ตำบล 31 หมู่บ้าน
อ.ขุนตาล น้ำป่าไหลหลาก 3 ตำบล 34 หมู่บ้าน
อ.เชียงของ น้ำป่าไหลหลาก 1 ตำบล 11 หมู่บ้าน
อ.พญาเม็งราย น้ำป่าไหลหลาก 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน
แนวโน้มสถานการณ์ อยู่ในระดับเฝ้าระวังต่อเนื่องทุกพื้นที่
เฝ้าระวัง - น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 24 - 30 ส.ค. นี้
จังหวัดเชียงราย ได้แก่ อำเกอเมืองเชียงราย แม่สาย เชียงแสน เวียงแก่น ขุนตาล พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง และอำเภอแม่ลาว