เมื่อวันที่ 8 ต.ค.2563 จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟซบุ๊กไลฟ์โดยกังวลว่า การชุมนุมในวันที่ 14 ต.ค.นี้จะมีบรรยากาศและเนื้อหาแบบ 6 ต.ค. 2519 ซึ่งนำความแตกต่างของสองเหตุการณ์ชุมนุมมาร่วมด้วยกัน แล้วจะจบลงท้ายด้วยความสูญเสีย จึงน่าห่วงใย ทั้งนี้ สถานการณ์ชุมนุมโดยพุ่งเป้าไปที่ 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปนั้น แปลความถึงไม่ได้ไล่รัฐบาล ไม่ต้องการรัฐธรรมนูญ จึงเท่ากับไปสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลได้อยู่ต่อไป ดังนั้นจึงถามเสมอว่า เพื่ออะไร เพราะประชาชนมาร่วมการต่อสู้ต้องรู้เป้าหมายการชุมนุม ถ้าจุดมุ่งหมายต้องการไล่รัฐบาล แต่เนื้อหาบนเวทีเป็นอีกเรื่องราวหนึ่งแล้ว จึงเป็นสิ่งที่น่าห่วงใย
"ผมไม่ได้เปลี่ยนไป แต่คนอื่นเปลี่ยน แล้วมาชี้หน้าผมว่าเปลี่ยนไป ทั้งที่ตลอดชีวิตก็เป็นแบบนี้ จุดยืนผมยังเหมือนเดิม เมื่อคนอื่นเปลี่ยนแล้ว ผมมีความจำเป็นอะไรต้องไปเห็นด้วยกับเขา เพราะมันเป็นเสรีภาพของผม และผมเชื่อของผมแบบนี้ จึงดำรงความเชื่อเช่นนี้"
จตุพร ย้ำว่า การออกมาสำแดงพลังของประชาชนนั้น ต้องมีเป้าหมาย และไม่ควรมีใครมาตายใน พ.ศ.นี้อีก เพราะไม่รู้ว่าขบวนการสร้างสถานการณ์จะมาสำแดงอะไรกับผู้ชุมนุม คงเป็นด้วยความเป็นห่วงเช่นนี้ คณะญาติวีรชน 2535 จึงยื่นเรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคภูมิใจไทยถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล เพื่อยุติปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติวิธี แล้วนักการเมืองจะมีความสำนึกหรือไม่เท่านั้น
"ถ้าสองพรรคถอย จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปโดยปริยายก็ไม่มีความสูญเสียขึ้น เมื่อญาติวีรชน 2535 หาช่องทางลงอย่างดีที่สุด เป็นช่องทางลงที่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อใดๆ ผมจึงเห็นว่าน่าเป็นช่องทางหนึ่ง เพียงแต่พรรคการเมืองจะมีความกล้าหรือไม่ เพราะอำนาจคือยาเสพติดร้ายแรง เมื่อเสพติดแล้วจึงเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งที่สัจธรรมไม่มีใครรักษาอำนาจไว้ได้แม้เพียงรายเดียว
ขณะเดียวกัน พรรคการเมืองควรร่วมกันเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญเพื่อถอดสลักรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นทางออกหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาชาติที่วิกฤต ดังนั้น การชุมนุม 14 ตุลานี้ ตนจึงไม่ต้องการให้เป็นหลักคิดแบบ 14 ตุลา แต่มีเรื่องราวเหมือน 6 ต.ค. 2519 ซึ่งเป็นความน่ากังวลมากที่สุด เพราะจะกลายเป็นหนังคนละม้วน จึงได้แต่หวังว่า จะลงท้ายด้วยสันติวิธี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง