ไม่พบผลการค้นหา
กระแสภาพยนตร์ CRAZY RICH ASIANS กำลังมาแรงไปทั่วโลก 'วอยซ์ออนไลน์' ชวนมาสำรวจครอบครัวมหาเศรษฐีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้ได้ถือครองธุรกิจต่างๆ ทั้งในและนอกภูมิภาคว่าครอบครัวใดเข้าข่ายครอบครัว CRAZY RICH ASIANS บ้าง

ภาพยนต์จากฮอลลีวูด CRAZY RICH ASIANS ที่กำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลกในขณะนี้สะท้อนให้เห็นถึงความร่ำรวยของมหาเศรษฐีเชื้อสายเอเชียที่ก้าวขึ้นมาเป็นนักลงทุนในธุรกิจต่างๆ ทั่วโลก

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวและเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากที่สุดภูมิภาคหนึ่งของโลก จำนวนมหาเศรษฐีในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา พร้อมๆ กับความเหลื่อมล้ำที่สูงขึ้นในภูมิภาค

รายงานขององค์กรสากลระบุว่า ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากรัสเซียและอินเดีย โดยเทียบจากสัดส่วนจำนวนประชากรระหว่างคนจนและคนรวย โดยทรัพย์สินกว่าร้อยละ 96 เป็นของประชากรจำนวนร้อยละ 1 เท่านั้น ขณะที่อินโดนีเซียนั้นมีอัตราความเหลื่อมล้ำสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก

'วอยซ์ ออนไลน์' ชวนมาสำรวจมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ติดอันดับโลกจากอาณาจักรธุรกิจต่างๆ ของตนเองจาก 5 อันดับที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคนี้

เฮนรี่ ไซ, ฟิลิปปินส์ 

เฮนรี่ ไซ ประธานกรรมการบริหารกิตติมศักดิ์ของ SM Investments ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ มีบริษัทในเครือหลายสาขาทั้งห้างสรรพสินค้า ธนาคาร โรงพยาบาลและการทำเหมืองแร่ และในปี 2016 ที่ผ่านมา เขามีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 6,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจของเขานั้นเริ่มต้นจากการทำธุรกิจเปิดร้านขายรองเท้าด้วยเงินที่เก็บสะสมมาจากการทำร้านค้าสะดวกซื้อกับพ่อของเขา และจากร้านขายรองเท้า ก็ขยายตัวและพัฒนาต่อยอดมาเป็นห้างสรรพสินค้า และขยายไปยังกลุ่มธุรกิจอื่นๆของ SM Investments

ทั้งนี้ฟอร์บส์ได้จัดอันดับให้ ไซ ผู้เกิดในเมืองเซี๊ยะเหมิน ประเทศจีน ก่อนจะอพยพตามครอบครัวไปยังฟิลิปินส์เมื่ออายุ 12 ปี เป็นบุคคลที่รวยที่สุดของฟิลิปินส์ถึง 10 ปี ติดต่อกัน และยังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย 


1.jpg


เจริญ สิริวัฒนภักดี, ไทย

เจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้สร้างและเป็นเจ้าของอาณาจักรเบียร์ช้างและอสังหาริมทรัพย์ชาวไทยเป็นหนึ่งครอบครัวของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพย้ายเข้ามาในประเทศไทย โดยครอบครัวของนายเจริญนั้นเดิมประกอบเอาชีพค้าขายอาหารข้างทาง  

ธุรกิจแรกของนายเจริญนั้น คือ ธุรกิจสุราและเครื่องดื่ม ก่อนจะขยายธุรกิจสู่ธุรกิจธนาคารและการเงินต่างๆ จนกระทั่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีก 

ทั้งนี้ อาณาจักรเบียร์ชาติมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในไทยและเวียดนามที่เบียร์ช้างเข้าซื้อกิจการจากบริษัทเซเบโก บริษัทเครื่อมดื่มที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

ปัจจุบันเจ้าสัวเจริญได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดในไทย ถือครองทรัพย์สินกว่า 13,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 


11.jpg


กวอก เล่ง ชาน, มาเลเซีย

ประธานกรรมการบริหารกลุ่มบริษัท Hong Leong Group ซึ่งดำเนินกิจการตั้งแต่ด้านการเงินไป การผลิตอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ จนไปถึงธุรกิจด้านอาหาร

ทั้งนี้หัวใจหลักของธุรกิจของตระกูลกวอกนั้น ดูเหมือนจะเป็นธุรกิจด้านการเงินและธนาคาร โดยเขาและบิดาได้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทธนาคารและการเงินขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษ 1920 

และในปี 2558 ตระกูลกวอกได้เข้าสู่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ช ตลาดค้าขายออนไลน์ในนนาม GemFive โดยขายสินค้าทุกประเภทตั้งแต่สินต้าอิเล็กทรอนิคไปจนถึงสินค้าแฟชั่น แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจดังกล่าวได้ปิดตัวลงในปี2560

อย่างไรก็ตามกวอก เล่ง ชาน ก็ได้รับการจัดอันดับจากฟอร์บส์ว่าเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในมาเลเซีย และรวยลำดับที่ 217 ของโลก ถือครองทรัพย์สินกว่า 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


111.jpg


 โรเบิร์ต บูดี ฮาร์โตโน, อินโดนีเซีย

โรเบิร์ต บูดี ฮาร์โตโนเป็นเจ้าของและผู้บริหารงาน Djarum ผู้ผลิตยาสูบที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของดลก เขามีกว่า 12,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แและเมื่อเร็วๆนี้เขาได้เข้าไปถือหุ้นของ Sampoerna ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสูบที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกด้วย

และในปี 2551 ฮาร์โตโนได้เข้าซื้อกิจการด้านการเงินการธนาคาร อย่าง Bank Central Asia ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย นอกจากนี้ตระกูลฮาร์โตโนยังทำธุรกิจด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ อสังหาริมทรัพย์ในจาร์กาตา รวมไปถึงยังเป็นผู้ลงทุนในธุรกิจวงการเกมในสิงคโปร์อย่างบริษัท Razer อีกด้วย


000_Hkg8712787.jpg

(บุหรี่Djarum หนึ่งในธุรกิจหลักที่ทำให้ตระกูลฮาร์โตโนเป็นตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดในอินโดนีเซีย)

โรเบิร์ตและฟิลิป เอ็ง, สิงคโปร์

สองพี่น้องจากตระกูลเอ็ง ผู้ถือครองที่ดินและผู้พัฒนาที่ดินที่ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์อย่างบริษัท Far East Organization มีทรัพย์สินรวมกันกว่า 11,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งคู่ถือครองทรัพย์สินต่อจากบิดาของเขา เอ็ง เต็ง ฟอง เจ้าของฉายา 'ราชาแห่งถนนออชาร์ด'

ปัจจุบันตระกูลเอ็งได้จัดตั้งบริษัท Sino group ดูแลการลงทุนในธุรกิจต่างๆทั้งในฮ่องกงและทั่วโลก โดยธุรกิจหลักของ Sino Group คือ กลุ่มธุรกิจโรงแรม ด้วยการบริหารของโรเบิร์ต เอ็ง ขณะที่ฟิลิป เอ็ง ดูแลการลงทุนธุรกิจต่างๆในสิงคโปร์


000_15O7BG.jpg

(ถนนออชาร์ด ถนนสายเศรษฐกิจที่สำคัญของอินโดนีเซียที่ถูกพัฒนาโดยตระกูลเอ็ง)

ที่มา/ภาพ SCMP / Forbe