ไม่พบผลการค้นหา
กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยการป้องกัน การบาดเจ็บ และการส่งเสริมความปลอดภัย ครั้งที่ 13

ศาสตราจารย์ คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานการแถลงข่าวการจัดประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ THE 13TH WORLD CONFERENCE ON INJURY PREVENTION AND SAFETY PROMOTION (Safety 2018) ซึ่งที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการ ประชุมระดับโลกว่าด้วยการป้องกัน การบาดเจ็บและการส่งเสริม ความปลอดภัย ครั้งที่ 13 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 5-7 พฤศจิกายน2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และเป็นประเทศ ที่สองของจากภูมิภาคเอเชีย ที่ได้รับเกียรติครั้งนี้

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการเตรียมงานมาเป็นระยะ นับตั้งแต่ทราบความเคลื่อนไหวของประชาคมด้านสาธารณสุขระดับโลกมา เพราะเราทราบดีว่า ทิศทางนโยบายระดับโลก มีเป้าหมายร่วมกันจนกำหนดเป็น เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals : SDGs ขององค์การอนามัยโลก คือ การทำให้ประชากรทุกประเทศอยู่อย่างมีความสุข มีความเข้มแข็ง มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตราย ทั้งในระดับปัจเจก ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ระดับสังคม ระดับประเทศ และระดับประชาคมโลก

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะกล่าวคือ เราได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดงานประชุมระดับโลกด้านการป้องกัน การบาดเจ็บ และการส่งเสริมความปลอดภัย ครั้งที่ 13 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา พร้อมเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดนิทรรศการ ผลการดำเนินงานของผู้เชี่ยวชาญที่มา จัดแสดงและเตรียมการบรรยายจากทั่วโลก มีจำนวน กว่า 800 เรื่อง

การประชุมครั้งนี้ เป็นโอกาสของคนไทย ที่จะเรียนรู้ การแก้ปัญหาด้านต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก หารือร่วมกันเพื่อหาทางรับมือและช่วยกันแก้ปัญหา ในประเด็นใหญ่ๆ 13 เรื่อง คือ

1) ความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ถนนที่เปราะบาง เช่น ผู้ขับขี่จักรยานยนต์ จักรยาน คนเดินเท้า เป็นต้น (Road safety focus on vulnerable road users)

2) ความรุนแรงในเด็กและสตรี (Violence)

3) การบาดเจ็บในเด็กและความปลอดภัยในชุมชน (Child safety and injury)

4) การป้องกันการจมน้ำ (Drowning)

5) การสนับสนุนเชิงนโยบาย (Evidence/Policy)

6) ชุมชนปลอดภัย (Community Safety)

7) ความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ (Occupational Safety)

8) การป้องกันการล้ม (Fall)

9) ความปลอดภัยจากการกีฬา (Sport Safety)

10) การบาดเจ็บจากการไหม้ (Burn)

11) การป้องกันอื่นๆ (Other Prevention)

12) การบริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Services : EMS)

13) การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขยังกล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยและโลก จะได้ใช้เวทีนี้เป็นการแลกเปลี่ยน ความรู้ในการแก้ปัญหา การทำงานเชิงป้องกันอันเป็นประโยชน์อย่างมหาศาล โดยกระทรวงสาธารณสุข สถาบัน การแพทย์ ฉุกเฉินแห่งชาติ(สพฉ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การอนามัยโลก จะนำผลจากการประชุมและจัดทำข้อเสนอต่อประชาคมโลก ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วยได้นำมากำหนด เป็นนโยบายบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อความผาสุขของคนไทย และตอบสนองตัวชี้วัดของการพัฒนา ที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs.)

การประชุมระดับโลกว่าด้วยการป้องกันการบาดเจ็บและการส่งเสริมความปลอดภัย ครั้งทีี่ 13 วันที่ 5-7 พฤศจิกายน 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ขอเชิญผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และติดตาม การประชุมระดับโลกว่าด้วยการป้องกันการบาดเจ็บและการส่งเสริมความปลอดภัย ครั้งทีี่ 13 ได้ที่ www.worldsafety2018.org

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog