นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า กิจกรรม Train the Coach เป็น 1 ใน 9 มาตรการของภาครัฐ ที่พัฒนาโค้ชเพื่อเข้าไปช่วยเอสเอ็มอีให้มีความพร้อม สามารถพัฒนาตนเอง จนมีการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ ให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในยุค 4.0 ด้วยแนวทางการปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่ด้วยเทคโนโลยี หรือ Digital Transformation เป็นกิจกรรมต่อเนื่อง 3 ปี ที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2563
ผอ.สสว. กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ทันกับยุค 4.0 นั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยโค้ช ให้คำแนะนำแก่เอสเอ็มอี สสว. ตั้งเป้าหมายในช่วง 3 ปีของการดำเนินงาน จะสรรหาโค้ชให้ได้มากกว่า 2,200 ราย และล่าสุด เมื่อการดำเนินงานในปีที่ 2 เสร็จสิ้น ปรากฏว่ามีโค้ชเข้ามาในระบบฐานข้อมูลโค้ชแล้ว 3,000 ราย ทั่วประเทศ
“การดำเนินงานปีที่ 2 สสว. เน้นให้โค้ชที่อยู่ในระบบฐานนข้อมูลโค้ช เป็นหนึ่งในกลไกหลัก และเป็นกลไกที่สำคัญ ที่จะเข้าไปช่วยขับเคลื่อนให้เอสเอ็มอี แก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่เน้นเฉพาะเรื่องมากขึ้น โดยมุ่งเน้นยุทธศาสตรการพัฒนาเชิงพื้นที่ (SME Area Based Initiatives by สสว.) ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเฉพาะทางของเอสเอ็มอี ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข่ามาประยุกต์ เพื่อให้ทันกับเศรษฐกิจยุคใหม่ ในพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย
1) กรุงเทพมหานคร ส่งเสริมเอสเอ็มอีกลุ่มเดิม ปรับโมเดลธุรกิจใหม่ด้วยเทคโนโลยี
2) ปัตตานี ส่งเสริมธุรกิจมุสลิม (ฮาลาล) เข้าถึงการใช้ดิจิทัลทำธุรกิจ
3) นครศรีธรรมราช เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจท่องเที่ยวและเกษตรแปรรูป
4) ชลบุรี สร้างผู้นำธุรกิจรุ่นใหม่ เป็นหัวขบวนกลุ่มห่วงโซ่อุปทาน
5) เชียงใหม่และลำพูน พัฒนาผู้ผลิต ผู้จำหน่ายลำไยสีทองและธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
6) อุบลราชธานี ส่งเสริมธุรกิจที่ใช้ต้นทุนวัฒนธรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจ
7) พิษณุโลก ส่งเสริมธุรกิจที่เชื่อมสู่ตลาด CLMV และ
8) นครราชสีมา ส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจดั้งเดิม เพื่อพลิกโฉมเข้ำสู่ธุรกิจสมัยใหม่ ให้เติบโตอย่ำงยั่งยืน” ผอ.สสว. ระบุ
นายสุวรรณชัย กล่าวว่า จากการดำเนินงานโดยให้โค้ชที่เป็นกลไกหลักดำเนินงานในปีที่ 2 นี้ สสว. ช่วยเอสเอ็มอีให้ใช้เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนา มีธุรกิจที่สอดคล้องกับ 8 พื้นที่ จำนวน 104 ราย และพื้นที่กลุ่มจังหวัดใกล้เคียง 8 พื้นที่อีก จำนวน 102 ราย ทำให้ช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่สอดคล้องกับพื้นที่ได้ถึง 206 ราย จาก 522 รายทั่วประเทศ มีโค้ชช่วยเหลือเอสเอ็มอีทั้งหมด 170 คน
แนวทางการพัฒนาเอสเอ็มอีในพื้นที่หลัก 8 พื้นที่ดังกล่าว จาก 5 ลำดับแรก พบว่า ร้อยละ 31 ด้านการตลาด พัฒนาโดยใช้ดิจิทัลออนไลน์เพิ่มช่องทางขาย เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ เว็บไซต์
รองลงมา ร้อยละ 9 ด้านการผลิต พัฒนำโดยใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การยืดอายุผลิตภัณฑ์ การลดต้นทุนการผลิต ระบบการเก็บข้อมูลการผลิต
รองลงมา ร้อยละ 8 ด้านการเงิน พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยวิเคราะห์ข้อมูลกำรเงิน ช่วยระบบการจ่ายเงิน เพื่อช่วยเรื่องความสะดวกให้กับลูกค้า
รองลงมาร้อยละ 7 ด้านบริหหารจัดการ พัฒนาโดยการใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ใช้ระบบดิจิทัลพัฒนาบุคลากร
รองลงมา ร้อยละ 6 ด้านระบบมาตรฐาน พัฒนาโดยให้ความรู้ในการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น อย. มอก.
และอื่นๆ ร้อยละ 39 อาทิ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ทะเบียนการค้า เป็นต้น
ผอ.สสว. เผยอีกว่า การดำเนินงานดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์และความรู้ของโค้ชที่เข้าไปช่วยเหลือเอสเอ็มอี และเพิ่มเติมโค้ชเฉพาะทางเพิ่มมากขึ้น ด้วยปัญหาของเอสเอ็มอีที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นปัญหาทั่วไปเหมือนสมัยก่อน แต่เป็นปัญหาเฉพาะทางมากขึ้น และที่สำคัญคือ สสว.จะมีข้อมูลปัญหาของเอสเอ็มอีมากขึ้นในเชิงพื้นที่ จากการที่โค้ชลงพื้นที่ประเมินศักยภาพ วิเคราะห์ปัญหา และนำข้อมูลมาประมวลผล เพื่อการขยายผลช่วยเหลือในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ในปีต่อไป
นอกจากนี้ ในปีที่ 2 สสว. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางของโค้ช เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้คำปรึกษาแนะนำ จับคู่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีแต่ละพื้นที่ได้โดยตรง มีการประเมินผลโค้ชจำกเอสเอ็มอี ที่ได้รับบริการ การพัฒนาองค์ความรู้ให้กับโค้ชเพิ่มมากขึ้น
“นี่คือเรื่องที่ สสว. จะดำเนินงานกิจกรรม SME Coach และขยายผลในปีที่ 3 ภายใต้โครงการ Train the Coach เพื่อเอสเอ็มอีจะได้รับกำรช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น ทั้งการพัฒนาทักษะ สมรรถนะ องค์ความรู้ใหม่ๆ เป็นเครื่องมือทำงธุรกิจที่จำเป็น เป็นตัวขับเคลื่อนให้เอสเอ็มอีดดำเนินธุรกิจและอยู่รอดได้ ถือเป็น Key Success สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ตามแนวนโยบำยของรัฐบาล ที่ สสว. มุ่งหวังจะให้เกิดกับเอสเอ็มอีมากที่สุด ในกำรดำเนินกิจกรรม SME Coach ภายใต้โครงการ Train the Coach ในช่วงระยะเวลำ 3 ปี” นายสุวรรณชัยกล่าวทิ้งท้าย