ไม่พบผลการค้นหา
ครบรอบ 1 ปี การระบาดโรคโควิด-19 ระลอกแรก พร้อมกับการเผชิญการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย 'วอยซ์' รวบรวมข้อมูลเชิงสถิติที่น่าสนใจทั้งทางการสาธารณสุข และมาตรการเยียวยาตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาทของรัฐบาล

ประเทศไทยพบการติดเชื้อภายในประเทศครั้งแรก เมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2563 จากผู้ขับแท็กซี่ ที่ให้บริการชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่นที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย 

และเริ่มมีผู้ติดเชื้อในประเทศในช่วง เดือน ก.พ. 2563 พบชาวไทยเสียชีวิตรายแรก วัย 35 ปี เมื่อ 29 ก.พ. 2563

ต่อมาเกิดการแพร่ระบาดกลุ่มใหญ่ ราวกลางเดือน มี.ค. จากสนามมวย และพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลดำเนินนโยบายสั่งปิดสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก โดยนับเป็นการเริ่มปิดสถานศึกษา ผับ บาร์สถานบันเทิงทั้งหมดย่านกรุงเทพฯและปริมณฑล มีคำสั่งให้ส่วนราชการทำงานที่บ้าน (work from home) เมื่อ 17 มี.ค. 2563 โดยอาจกล่าวได้ว่า นับเป็นจุดเริ่มต้นที่คนไทยต้องเริ่มเข้าสู่วิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (new normal) จึงนำไปสู่การตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2563

กระทั่งถึงวันที่ 13 พ.ค. 2563 ที่ไม่พบการติดเชื้อเป็นครั้งแรกและนับเป็นวันที่ 17 ติดต่อกัน ที่ไม่พบมีผู้ติดเชื้อต่ำกว่าวันละ 10 คน ก่อนสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ การตรวจหาเชื้อพบน้อยลง และไม่พบผู้ติดเชื้อภายในประเทศเป็นระยะเวลาหนึ่ง  ก่อนจะพบผู้ติดเชื้อภายในประเทศอีกครั้ง ในรอบ 100 วัน 

ประยุทธ์ อนุทิน โคโรนา โควิด 0181313000000.jpg

ทว่าระหว่างนั้น มีการพบผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ จากการใช้อภิสิทธิ์ทางทหารและทางการทูต อาทิ กรณีของทหารอียิปต์ กรณีอุปทูตซูดาน เป็นต้น 

 การระบาดระลอกใหม่ก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 18 ธ.ค. 2563 เมื่อทราบผลตรวจแบบคนละครึ่ง ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร พบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหญ่ 516 คน จากการตรวจ 1,000 คน ก่อนการระบาดจะแพร่กระจายในวงกว้างหลายพื้นที่ โดยส่วนใหญ่พบว่า มาจากการบ่อนการพนัน และดารานักแสดงที่ฝ่าฝืนมาตรการการควบคุมโรค

ในภาพรวมการบริหาจัดการรัฐบาลระลอกแรก รัฐบาลต้องอาศัยอำนาจพิเศษด้วยการงัดใช้ยาแรงผ่าน พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดเริ่มใช้ครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2563 และมีการต่อระยะเวลาการบังคับใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันรวม 9 ครั้ง 

ในช่วงที่มีการระบาดครั้งแรกมีการใช้คำสั่งเคอร์ฟิวอย่างเข้มงวดกำหนดระยะเวลาการเข้าออกเคหสถาน ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2563 เริ่มผ่อนปรนระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2563 ผ่อนปรนระยะที่ 2 - 4  เมื่อ 17 พ.ค. 2563  1 มิ.ย. 2563 และ 15 มิ.ย. 2563 ตามลำดับพร้อมยกเลิกเคอร์ฟิว 

รวมรัฐบาลประยุทธ์ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปราบปรามเชื้อโควิด-19 แล้ว 10 เดือน ควบคู่กับการใช้คำสั่งเคอร์ฟิวเยี่ยงภาวะสงคราม โดยประมาณ 73 วัน 

ประยุทธ์ ชลบุรี โควิด 0171115000000.jpg

อนึ่ง ในการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเกิดจากสนามมวย บ่อน ปาร์ตี้อภิสิทธิ์ชน รัฐบาลประยุทธ์ยังไม่เคยนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีได้ แต่มีการยกฐานความคิดตามกฎหมายกดดันให้ประชาชนโหลดแอปพลิเคชัน หมอชนะ 

ขณะที่บทบาทของ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข เปี่ยมไปด้วยความมั่นใจ ประกาศทันทีเมื่อต้นปี 2563 ว่า โควิด-19 ก็แค่ไขหวัดธรรมดา เมื่อ 25 ม.ค. 2563ก่อนร่ำไห้สะอึกสะอื้น เมื่อครั้งระบาดรอบแรกเมื่อ 21 มี.ค. 2563 ก่อนมีท่าทีประกาศกร้าวอีกครั้ง ช่วงปลายปีก่อนการระบาดใหม่ว่า"โควิดกระจอก" เมื่อ 5 ธ.ค. 2563 ต่อด้วยกดดันผู้จัดงานคอนเสิร์ตให้ยกเลิกกิจกรรม

อนุทิน โอภาส อธิบดีกรมควบคุมโรค ตลาดกลางกุ้ง สมุทรสาคร โควิด แรงงาน  แพทย์ -44E0-B10B-8C6DCDDB14FC.jpeg

ด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยาทางเศรษฐกิจ วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ตามพ.ร.ก.กู้เงินฯ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ  

1. การให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล้องและชะลอการชำระหนี้ วงเงิน 5 แสนล้านบาท  

2. การแก้ปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม และยกระดับระบบสาธารณสุข วงเงิน 1 ล้านล้านบาท เว็บไซต์thaime.nesdc.go.th/ รายงานข้อมูลการใช้เบิกจ่าย โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 

1) แผนงานหรือโครงการทางการแพทย์และสาธารณสุขกรอบวงเงิน 45,000 ล้านบาท อนุมัติเงินแล้วทั้งสิ้น 19,698 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.77 แต่ผลการเบิกจ่ายอยู่ที่เพียง1,560 ล้านบาท รวมคงเหลือ 25,301 ล้านบาท 

2) แผนงานหรือโครงการด้านการช่วยเหลือ เยียวยาชดเชย ประชาชน เกษตรกร กรอบวงเงิน 565,000 ล้านบาทอนุมัติเงินแล้วทั้งสิ้น 558,753 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ98.89 สามารถเบิกจ่ายได้เกินครึ่ง หรือจำนวน 322,425 ล้านบาท รวมคงเหลือ 6,246 ล้านบาท 

3) แผนงานหรือโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมกรอบวงเงิน 390,000 ล้านบาท อนุมัติเงินแล้วทั้งสิ้น133,155 ล้านบาท โดยผลการเบิกจ่ายคิดเป็น 1 ใน 3 หรือ42,159 ล้นาบาท รวมคงเหลือ 256,844 ล้านบาท 

รวม 3 โครงการ อนุมัติเงินแล้วโดยประมาณ 710,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 71 ยังเหลือวงเงินอีกจำนวน 290,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29 แต่หากพิจารณาตามผลการเบิกจ่าย ซึ่งหมายถึงเงินถูกนำไปใช้เพื่อการสาธารณสุข การช่วยเหลือเยียว และฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวม 366,171 แสนล้านบาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 50 ของงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติเท่านั้น 

3. การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท รายงานแผนการฟื้นฟู้เศรษฐกิจและสังคม จากกระทบของโควิด 19 ฯ โดยคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (http://thaime.nesdc.go.th/) ภาคผนวก 2 ได้มีการวิเคราะห์กลั่นกรองโครงการรอบที่ 1 แล้ว คิดเป็นวงเงิน 92,400 ล้านบาท ผ่านการพิจารณากลั่นกรองแล้ว 37,920 ล้านบาท อยู่ระหว่างการกลั่นกรอง 54,479 ล้านบาท โดยจำแนกเป็น 3 แผนงาน คือ 

1) สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก วงเงิน 50,000 ล้านบาท 2) สร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนวงเงิน 20,000 ล้านบาท 3) กระตุ้นการบริโภคและการท่องเที่ยว วงเงิน 22,400 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับเดียวกันได้อ้างว่า มาตรการเยียวยาคลอบคลุมประชาชนทั้งสิ้น 43.9 ล้านคน แบ่งเป็น ผู้ประกอบการผ่านโครงการเราไม่ทิ้งกัน 16 ล้านคนเกษตรกร 10 ล้านคน กลุ่มเปราะบาง 6.9 ล้าน แรงงานงานจากระบบประกันสังคม 11 ล้านคน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง