กลุ่ม CARE คิด เคลื่อน ไทย เสนอโมเดลบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 หลังการกลับมาระบาดอีกระลอก โดยเฉพาะเชื้อสายอังกฤษกลายพันธุ์ (B117) ซึ่งรุนแรงกระจายเร็ว สวนทางกับการปูพรมฉีดวัคซีนของรัฐบาล ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก จากข้อมูลสถิติผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา Our World in Data ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ได้รับวัคซีนครบทุกโดสจำนวน 81,429 คน หรือ 0.1% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และมีผู้ที่ได้รับ1 โดส มีจำนวนเพียง 523,830 คน คิดเป็น 0.8% ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนน้อยมากในบรรดาประเทศอาเซียนมากกว่าเพียง 2 ประเทศคือ เวียดนาม และ บรูไน
กอรปกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับความเดือดร้อนของประชาชน โดยกลุ่มแคร์ได้ยกผลสำรวจสภาพัฒน์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งระบุว่าวิกฤตโควิดส่งผลต่อเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 33% และมีรายได้ลดลงกว่า 54% ของจำนวนประชากรพบว่ามีรายได้ลดลงเกือบทั้งหมด สุ่มเสี่ยงทำให้ประชาชนยากจนเพิ่ม 10 ล้านคน อย่างไรก็ตาม กลุ่มแคร์ ได้ตั้งสังเกตว่า เหตุใดงบประมาณประจำปีของกระทรวงกลาโหมไม่ได้ลดลงจากวิกฤตเศรษฐกิจ
โดยกลุ่มแคร์ ได้ฉายภาพตัวเลขงบฝ่ายความมั่นคง ตั้งแต่การระบาดระลอกแรก เมื่อปี 2563 พบว่า
ดังนั้นกลุ่มแคร์จึงเสนอให้ทดลองตัดงบกลาโหม 10 % เป็นระยะเวลา 2 ปี รวมเป็นเงิน 45,520,890,500 บาท เพื่อนำมาจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 หากคำนวณจากราคาประมาณสูงสุดของวัคซีนแต่ละยี่ห้อพบว่า
อีกช่องทางหนึ่งที่กลุ่มแคร์เสนอคือการยกเลิกเกณฑ์ทหาร 1 ปี สามารถนำงบประมาณที่ สส.ฝ่ายค้าน เคยตั้งข้อสังเกตนั้นมีมากถึง 14,990 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสามารถซื้อวัคซีน Sinovac ได้ประมาณ 29,232,688.22 โดส หรือฉีดให้คนไทยได้มากกว่า 14,616,344.11 คน